มารู้จัก”สารอารักขาพืช” ทำไหมเกษตรกรญี่ปุ่นนิยมใช้ถึง99%

นายนาโอกิ โมโตะยามะ อดีตกรรมการ สมาพันธ์การขึ้นทะเบียนสารจำกัดศัตรูพืชประเทศญี่ปุ่น แถลงข่าวความท้าทายใหม่ของเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรียนรู้ เข้าใจต่อการใช้สารอารักขาพืชบนรอยต่อของยุคออแกนิค จัดโดยครอปไลฟ์เอเชีย ว่า จากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น การใช้สารอารักขาพืชและเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการเพาะปลูก สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้20-40% และยังช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลาการทำการเกษตรลงจาก 50 ชั่วโมง (ชม.) เหลือเพียง 1.7 ชม. ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นประเทศทำการเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ญี่ปุ่นทำเกษตรอินทรีย์เพียง 0.24% เท่านั้น ที่เหลือ99%ทำเกษตรแบบวิธีปกติ ที่ใช้สารอารักขาพืชเข้ามาช่วยในการเพาะปลูก ภายใต้หลักการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และการใช้สารอารักขาพืชของเกษตร ตามคำแนะนำของฉลาก ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารอารักขาพืชต่อทั้งตัวเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค

“ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าเห็ดชิทาเกะ จะมีสารตกค้างจากการใช้สารอารักขาพืชภายใต้การบริหารจัดการที่คุณภาพ เพียง 0.06 พีพีเอ็มเท่านั้น ซึ่งเป็นไม่ได้ส่งผลกระทบให้เกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพในตัวผู้บริโภค แม้จะบริโภคในปริมาณมาก หรือ ตลอดชั่วชีวิตของผู้บริโภค ก็ไม่ก่อให้เกิดผลเสีย ตรงกันข้ามหากผู้บริโภคสินค้าเกษตรที่ไม่ใช้สารอารักขาพืช อาจได้รับสารพิษที่เกิดจากผลผลิตเสื่อมคุณภาพ ผลผลิตที่เป็นโรค ถูกศัตรูพืชทำลาย มากกว่าผู้บริโภคสินค้าเกษตรที่ใช้สารอารักขาพืชด้วยซ้ำ ” นายนาโอกิ กล่าว

นายเดวิด ซารุค ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงนโยบายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สหภาพยุโรป กล่าวว่า แม้ว่าสินค้าเกษตรออแกนิค ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าปลอดจากสารเคมีและสารอารักขาพืช แต่เมื่อดูเชิงลึก พบว่า สินค้าออแกนิคไม่ได้ปลอดจากสารเคมี100%เต็ม เพราะยังอนุญาตให้ใช้สารเคมีในสินค้าออแกนิคถึง 3,000 รายการ ซึ่งการที่ประชาชนทั่วโลกส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าสินค้าออแกนิค ปราศจากสารเคมี จึงเป็นเรื่องโกหกในวงการอุตสาหกรรมทางการเกษตร นอกจากนี้การที่สินค้าออแกนิคใช้สารอารักขาพืชและสารเคมีได้บางชนิดเท่านั้น ทำให้ผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าการเพาะปลูกด้วยวิธีปกติถึง 40% จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้สินค้าออแกนิคมีราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป ดังนั้น มุ่งพัฒนาสินค้าเกษตรด้วยวิธีที่ออแกนิค จึงไม่สอดคล้องทิศทางของประชากรโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 8พันล้านคน ในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากผลผลิตที่ได้จะลดลง 40% และประชากรบางส่วนอาจไม่มีรายได้มากพอจะซื้อสินค้าเกษตรราคาสูงเกินไป

น.ส.สรา อาภรณ์ อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับปัญหาสุขภาพของตัวเกษตรกรที่เกิดจากสารพิษตกค้างจากการใช้สารอารักขาพืช นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เพราะปัญหาสุขภาพเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งการใช้และยกอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดพ้นสารอารักขาพืชที่ไม่ถูกท่า การไม่สวมเสื้อผ้าในขณะใช้สารอารักขาพืช ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ การไม่อ่านคู่มือในการใช้งานสารอารักขาที่ถูกต้อง ทำให้ใช้สารผิดวิธีหรือใช้ปริมาณมากเกินขนาด

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image