ศบศ.เคาะมาตรการช่วยเอสเอ็มอี ให้เงินนายจ้าง 3,000 บ./คน/เดือน

ศบศ.เคาะมาตรการช่วยเอสเอ็มอี ให้เงินนายจ้าง 3,000 บ./คน/เดือน กำหนดแรงงานไม่เกิน 200 คน นาน 3 เดือนถึงสิ้นปีนี้

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยผลการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) จากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบ VDO Conference ว่า

ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาเห็นชอบวาระที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1.ที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1.1 สถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด เสนอโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าเครื่องชี้ด้าน การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีการลงทุน ภาคเอกชนและมูลค่าการส่งออกเริ่มชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวเนื่องจาก สถานการณ์การระบาดในบางประเทศที่รุนแรงมากขึ้น ขณะที่ด้านการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวใน อัตราที่เร่งขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง และเริ่มปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคม นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลง โดยเป็นผลจากอุปสงค์ ภายในประเทศที่อ่อนแอ รวมทั้งผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่โรงงานส่งผลให้ต้องหยุด การผลิตบางส่วน ประกอบกับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ เมื่อพิจารณาข้อมูลความถี่สูง (High-frequency data)

ล่าสุดในเดือนกันยายน 2564 พบว่าสถานการณ์การเดินทางภายในประเทศและการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมภายในประเทศ 1.2 ความคืบหน้ามาตรการด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วย

1.2.1 มาตรการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้โครงการเยียวยานายจ้างและ ผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 กันยายน 2564) ผลการจ่ายเงินเยียวยาที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว

Advertisement

ประกอบด้วย (1) การจ่ายเงินเยียวยา นายจ้างใน 9 ประเภทกิจการ และอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด จำนวน 150,472 แห่ง รวมเป็นเงิน 6,270,093,000 บาท (2) การจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ านวน 3,444,928 ราย รวมเป็นเงิน 16,150,557,500 บาท (3) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ านวน 1,342,306 ราย รวมเป็นเงิน 12,302,120,000 บาท และ (4) ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ านวน 6,974,857 ราย รวมเป็นเงิน 57,016,285,000 บาท รวมจ่ายเงินเยียวยานายจ้าง 150,472 แห่ง ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 จำนวน 11,762,091 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินรวมทั้งสิ้น 91,739,055,500 บาท และปัจจุบันอยู่ ระหว่างการดำเนินการเยียวยาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ที่ยังโอนไม่สำเร็จ

1.2.2 มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูภาคธุรกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กันยายน 2564) ประกอบด้วย (1) โครงการสินเชื่อฟื้นฟู มีสินเชื่อที่อนุมัติแล้วจ านวน 106,156 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 34,538 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติเฉลี่ยจำนวน 3.1 ล้านบาทต่อราย และ (2) โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) มีมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 15,167 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือแล้วทั้งสิ้น 106 ราย โดยผู้ประกอบการธุรกิจหลายแห่งให้ ความสนใจและอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้

1.2.3 มาตรการ Phuket Sandbox โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 27 กันยายน 2564 รวม 89 วัน มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสม 37,576 คน โดยในจำนวน ดังกล่าวพบผู้ติดเชื้อจากการคัดกรอง 113 คน คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ในขณะที่ จ านวนการจองที่พัก SHA+ Phuket Sandbox สำหรับการเข้าพักระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 695,418 คืนการเข้าพัก (Room Night) ส่วนโครงการสมุยพลัส (Samui Plus) และโครงการส่วนขยายของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 7+7 (Phuket Extension) มีนักท่องเที่ยวสะสมจนถึงวันที่ 27 กันยายน 2564 จำนวนทั้งสิ้น 878 คน และ 384 คน ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นสำหรับ โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์อยู่ที่ 2,254 ล้านบาท โครงการสมุยพลัสอยู่ที่ 66.58 ล้านบาท และโครงการส่วน ขยายของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์อยู่ที่ 12.16 ล้านบาท

Advertisement

2.ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องสำคัญ ดังต่อไปนี้ 2.1 เห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เสนอโดย กระทรวงแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน ตลอดจนสร้างความแข็งแรงให้แก่ธุรกิจ ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

(1) คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยไม่เกิน 200 คน โดยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนตุลาคม 2564 และรับเงินอุดหนุนในเดือนที่ 1 – 3 (ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 ถึงมกราคม 2565)

(2) เงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุน รัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อสงเสริมและ รักษาการจ้างงานให้แก่นายจ้างเพื่อรักษาการจ้างงานในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเงินอุดหนุนจะคำนวณตามยอดการจ้างงานจริงของทุกเดือน พิจารณาจากจำนวณลูกจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคมจากระบบประกันสังคม โดยจะจ่ายเงินอุดหนุนทุก วันทำการสุดท้ายของเดือน ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องรักษาระดับการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างเข้า ร่วมโครงการฯ และหากนายจ้างไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานให้ไม่ต่ำร้อยละ 95 ได้จะไม่ได้รับเงิน อุดหนุนในเดือนนั้น ขณะเดียวกัน กรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันเริ่มโครงการ จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริง โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ

และ (3) เป้าหมายโครงการเพื่อรักษาระดับ การจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยในธุรกิจ SMEs ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 ราย ที่มีสถานประกอบการจำนวน 480,122 แห่ง และจะสามารถรักษาการจ้างงานลูกจ้างได้จำนวน 5,040,176 คน

2.2 เห็นชอบหลักการแนวทางการขับเคลื่อนการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายของ รัฐบาล เสนอโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวไปสู่ การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดแผนการด าเนินการที่สำคัญดังนี้

2.2.1 การขยายผลและพลิกโฉมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ระดับโลก (World Class Destination) โดยตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในช่วง ไตรมาสที่สี่ของปี 2564 และไตรมาสแรกของปี 2565 จ านวน 1 ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละไม่น้อยกว่า 5,000 คน ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาท โดยมีแนวทาง

การดำเนินงานดังนี้ 2.2.1.1 การปลดล็อกอุปสรรคการท่องเที่ยวที่สำคัญ 8 ประการ (Ease of Traveling) ได้แก่ (1) การลดวันกักตัวเหลือ 7 วัน การตรวจ RT-PCR ก่อนมาและเมื่อถึงสนามบิน หลังจาก นั้นให้ตรวจแบบ ATK (2) หนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทยออนไลน์แบบหมู่คณะ (Group COE) (3) การอนุญาตเที่ยวบินพาณิชย์ของรัสเซียให้สามารถเดินทางเข้าสู่ภูเก็ต (4) การผ่อนคลายคู่มือมาตรฐานการ ปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) ของกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (High Risk Contact: HRC) สำหรับผู้โดยสารเครื่องบิน (5) การลดค่าใช้จ่ายในการตรวจ RT-PCR (6) การลดค่าเบี้ยประกันภัย รวมถึงการ On-Top ในรูปแบบ COVID Shield ให้ครอบคลุมเรื่องการสัมผัสเสี่ยงสูง (High Risk Contact: HRC) และ Hospitel รวมทั้งมีกองทุนสนับสนุนการชำระเงินล่วงหน้า (7) การออก Visa on Arrival (VOA) และหนังสือ รับรองการเดินทางเข้าประเทศไทยออนไลน์ หรือ COE Online และ (8) เอกสารรับรองการฉีดวัคซีน (Vaccine Passport)

2.2.1.2 การลงทุนพัฒนาเพื่อพลิกโฉมภูเก็ตสู่สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก (World Class Destination) ภายใต้แนวคิด SUPRA ประกอบด้วย (1) การเสริมสร้างความปลอดภัย (Safety) (2) การยกระดับ (Upgrading) โดยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญและการยกระดับระบบสาธารณสุข (3) การเยียวยาและดูแลประชาชนฐานราก (Pro-Poor) ได้แก่ การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน การ สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ หมุนเวียน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Bio-Circular-Green Tourism: BCG Tourism) การสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีชุมชน และ การส่งเสริมอาชีพและการกระจายรายได้ (4) การพัฒนา ปรับปรุงให้ดีขึ้น (Refine) ประกอบด้วย การเปลี่ยนทักษะ พัฒนาทักษะ และสร้างทักษะใหม่ ๆ ให้กับแรงงาน (Re/Up/New Skill: RUN Skill) ควบคู่ไปกับการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้า ท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์พัฒนา จังหวัดเพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ (GEMMSS) และ (5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและกิจกรรม ระดับโลก (Activities) ประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว กิจกรรม Thailand Festival Experiences และ กิจกรรมบันเทิงและการกีฬาระดับโลก

2.2.2 การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการพลิกโฉมการท่องเที่ยวไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้เกิดการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเพื่อการเติมโตที่มีความยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในรูปแบบการให้ การอุดหนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงโดยด าเนินการควบคู่ไปกับการปรับปรุงกฎระเบียบและ มาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

2.2.3 การประกาศส่งเสริมปีท่องเที่ยวไทย 2565 Amazing ยิ่งกว่าเดิม (Visit Thailand Year 2022 Now Even More Amazing) ภายใต้แนวคิดกิจกรรมและเอกลักษณ์ไทย 26 ประการ ภายใต้แนวคิด “From A to Z Amazing Thailand Has It All”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image