การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’

ประเทศไทยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแนวทางนโยบายแห่งรัฐสอดคล้องกับการพัฒนาที่แท้จริง กล่าวคือ มุ่งพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยวางแผนพัฒนาศักยภาพของพลเมืองโดยแนว EO ED EA

EO = Education Online

ED = Education Distance Learning

EA = Education Advisor

Advertisement

มุ่งเน้นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เช่น แนวทางการดำเนินการ กอปศ. โดยการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา ร่าง พ.ร.บ.เด็กปฐมวัย ร่าง พ.ร.บ.โรงเรียนในกำกับของรัฐ ร่าง พ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นการแปลงร่างแม่โขงเอามาบรรจุขวดรีเจนซี่ (เหล้าเก่าในขวดใหม่)

ก็อาจจะกล่าวว่าการจัดการศึกษาที่ใช้ทิศทางทำอะไร ปฏิรูปอะไร ก็ไม่ถูกแนวทางปฏิรูป มีนักการศึกษาเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ใช้คนไม่ถูกกับงานปฏิรูป มีแต่คนมีชื่อเสียงจากครุศาสตร์กับศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบ้าง

นายกรัฐมนตรีก็คิดได้ไม่หมดกับแนวทางการจัดการศึกษา อาศัยการใช้กฎหมาย ม.44 มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการบริหารงานบุคลากร

การปฏิรูปหลงทาง เป็นต้นว่า นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การจัดการศึกษาในระบบขาดเอกภาพ การบริหารเหลื่อมล้ำ แนวทางการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาขาดเอกภาพ ต้องใช้ Multidimention Education in Reform of Thailand

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปที่ล้มเหลวอีกด้านก็สื่อด้านปฏิรูปอาชีวศึกษา ความล้มเหลวด้านกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาต่อยอดด้านวิชาชีพ การเรียนระบบอาชีวศึกษาเป็นนักศึกษาเกรด B มีของระบบวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การเรียนแล้วว่างงาน การเลือกเรียนอาชีวศึกษาเป็นการเรียนที่มาจากความต้องการความสนใจเรียนแบบขอไปที ซึ่งไปเรียนที่ไหนไม่ได้ สถาบันอาชีวศึกษาขาดสื่อการสอนที่ดี

ดังคำกล่าวของ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะกรรมการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ปัญหาอาชีวศึกษาด้านทักษะ ด้านจริยธรรม ตลอดจนความสามารถในการพัฒนาอาชีวศึกษาไปสู่นโยบายไทย Thailand 4.0 ดังนี้

1.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ยึดมั่นในค่านิยมหลัก คือ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ด้วยตนเองได้ มีใจรักและทุ่มเทในการสร้างผลงานที่ดีที่สุด มีการพัฒนาปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่อง

2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรมีกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าเรียนสาขาช่างอุตสาหกรรมของสถาบันอาชีวศึกษา โดยทดสอบพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และกำหนดให้มีการเรียนปรับพื้นฐานสำหรับผู้มีความรู้น้อยก่อนเปิดภาคการศึกษา

3.สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนทางด้านวิชาชีพและครูผู้สอนทางสายสามัญ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning และ Project-Based Learning โดยครูผู้สอนต้องมีความสามารถในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนร่วมกับการทำงานจริงได้

4.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรพัฒนาครูให้สามารถวัดและประเมินผลการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการประเมินสมรรถนะ มีรูปแบบการวัดและการประเมินผลที่มีความหลากหลาย ยืดหยุ่นตามลักษณะบริบทของงานที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสาขาอาชีพ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนการสอน โดยกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลงาน/ชิ้นงาน ที่มีมาตรฐาน และมีความชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลงานที่มีความหลากหลายได้อย่างยุติธรรม

5.ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสนใจที่จะเข้าเรียน ควรมีการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่เหมาะสมและพอเพียงกับการใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และสามารถนำไปประยุกต์กับการปฏิบัติงานจริงได้ และต้องให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน

6.ครูผู้สอนทางช่างอุตสาหกรรม ต้องตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับสถานประกอบการ จึงต้องใส่ใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้และศึกษาในสิ่งใหม่ๆ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์

การจัดการศึกษามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับใด แต่ละรูปแบบพัฒนาขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดไปจนถึงการเมืองของประเทศนั้นๆ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันแบ่งการศึกษาเป็นสายสามัญและสายวิชาชีพ ก็เช่นเดียวกับที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดมา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของโครงสร้างการบริหาร

ทำให้เกิดข้อข้องใจในคุณภาพการศึกษาของผู้ที่จบการศึกษาสาขาต่างๆ ตลอดมา รวมถึงขาดแคลนกำลังคนในบางสาขาวิชา เช่น อาชีวศึกษาทางด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ

จึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบอย่างรีบด่วน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศในโลกยุคดิจิทัลและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน

การปฏิรูปการศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีครั้งนี้ ล้มเหลวตั้งแต่การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแล้ว ละเลยผู้ที่ขาดโอกาสในวัยแรงงาน ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก การจัดการศึกษาขาดเอกภาพในการจัดอย่างครอบคลุม และมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสื่อ และกระบวนการเรียนรู้

ผู้เสนอบทความนี้ เห็นควรจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกมิติเป็นรูปแบบปฏิรูปในลักษณะ Multidimention Education in Reform for Thailand จะได้จัดการศึกษาอย่างทั่วไปตามความต้องการความสนใจอย่างเสมอภาค ควรจัดแบบ

EO = Education Online โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ให้เลือกหลักสูตรเลือกวิชาที่สนใจตรงกับความต้องการอาชีพอย่างเหมาะสม

ED = Education Distance Learning การศึกษาทางไกลผ่านสื่อดาวเทียม เรียนได้ทุกที่ทุกเวลาทุกโอกาสและบุคคล

EA = Education Advisor การเรียนรู้ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา คอยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้านหลักสูตร เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับเวลา เหมาะสมกับการทำงานและอาชีพ

อย่างไรก็ดี ในบทสรุปของการปฏิรูปการศึกษาควรตั้งและมีมโนธรรมสำหรับการบริหารระดับสูงที่จะเลือกกลุ่มวิชาการไปร่วมงาน ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างฉลาดเฉลียวกับงานปฏิรูป ควรเป็นระบบกิจกรรมการพัฒนาควรหลากหลาย ไม่เน้นเฉพาะเรื่องหลักสูตรครู นักเรียน สื่อ หรือวิธีสอนเท่านั้น ควรให้ครบทุกมิติครบทุกกิจกรรม

มีกระบวนการการปฏิบัติได้ ต้องเห็นผลมีสิทธิภาพ เกิดคุณภาพที่ประเมินได้ สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ นอกระบบอย่างทั่วถึงและเสมอภาค การพัฒนาประเทศจึงจะบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาประเทศไทย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image