6 หน่วยงานร่วมแก้เหลื่อมล้ำช่วยร.ร.ห่างไกลขาดแคลนครู

เมื่อวันที่28 มิ.. ที่โรงแรมเซนจูรี่พาร์คเขตราชเทวีกรุงเทพมหานครกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นชี้แจงทำความเข้าใจการพัฒนาข้อเสนอโครงการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นหน่วยผลิตครูโดยมีผู้บริหารอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และคณะครุศาสตร์เข้าร่วมกว่า36 แห่งจากทั่วประเทศ

รศ.ดร.ดารณีอุทัยรัตนกิจกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กล่าวว่าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเป็นความร่วมมือระหว่างกสศ.และ5 หน่วยงานประกอบด้วยกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(...) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเพื่อสนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจนด้อยโอกาสจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ20 แรกของประเทศในพื้นที่ห่างไกลที่อยากเป็นครูได้เรียนครูจนจบปริญญาตรีและกลับมาเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่นของตนทั้งนี้เมื่อศึกษาจนจบตามหลักสูตรจะได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลได้ทั้งหมด

นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กสศ.ดำเนินการเรื่องนี้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบและมติครม.ที่เกี่ยวข้องซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะมีการลงนามMOU กับหน่วยงานร่วมสร้างโอกาสทั้ง6 หน่วยงานในวันพุธที่3 ..นี้ที่กระทรวงศึกษาธิการรศ.ดร.ดารณีกล่าว

นพ.สุภกรบัวสายผู้จัดการกสศ. กล่าวว่าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจะสนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษารุ่นละ300 ทุนทั้งหมด5 รุ่นรวม1,500 ทุนเฉลี่ยทุนละ160,000 บาท/ทุน/ปีประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการศึกษาค่าที่พักค่าครองชีพรายวันค่าตำราและอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นตั้งแต่ปีการศึกษา2563 เป็นต้นไปโดยโครงการนี้จะดำเนินงานผ่านสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีในสาขาปฐมวัยและประถมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งจะมีการคัดเลือกสถาบันเข้าร่วมโครงการราว10 สถาบันครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยสถาบันที่สนใจสามารถยื่นข้อเสนอโครงการตลอดเดือน..นี้หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์099-121-5665 ในวันและเวลาราชการ

Advertisement

นพ.สุภกรกล่าวต่อว่าจากการวิเคราะห์ของคณะวิจัยธนาคารโลกร่วมกับการสอบทานฐานข้อมูลสพฐ. พบว่าประเทศไทยมีโรงเรียนราว2,000 แห่งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่อาจจะควบรวมเช่นโรงเรียนบนพื้นที่สูงตามแนวชายขอบหรือตั้งอยู่บนเกาะแก่งซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลให้ดำรงอยู่ต่อไปได้(Protected School หรือStandalone) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในท้องถิ่นอย่างไรก็ตามพบว่าปัญหาของโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลคือครูขอย้ายบ่อยเพราะไม่ใช่คนท้องถิ่นและไม่มีครูมาทดแทนครูจึงไม่พอกับชั้นเรียนโดยเฉพาะครูที่สอนประถมศึกษาซึ่งโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นมีเป้าหมายใน4 เรื่องสำคัญคือ1. สนับสนุนนักเรียนในท้องถิ่นที่มีผลการเรียนดีและรักเป็นครูได้เรียนครูจนจบและกลับไปทำงานในท้องถิ่นบ้านเกิดของตนเองได้2. ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล  โดยมีการฝึกสอนร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนและชุมชนที่จะต้องไปทำงานจริงตั้งแต่เป็นนักศึกษา3. มีการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและสังคมแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน4. ดูแลชีวิตความเป็นอยู่มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะสำคัญเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนรักถิ่นฐานบ้านเกิดร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น

การเดินหน้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจะส่งผลให้ภายในระยะเวลา10 ปีจะมีครูเพียงพอต่อความต้องการได้  ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาแก้ปัญหาครูประจำการโยกย้ายบ่อยในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเพราะไม่ใช่คนท้องถิ่นตลอดจนเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วยนพ.สุภกรกล่าว

ด้านดร.ศุภโชคปิยะสันติ์ประธานชมรมคุรุทายาทแห่งประเทศอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นกล่าวว่าโครงการนี้ให้ความสำคัญกับคุณภาพการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาที่จะเป็นกลไกในการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพสถาบันสามารถนำเสนอโครงการตามประเด็นหลักที่กำหนดไว้7 ประเด็นดังนี้1. ความพร้อมและความน่าเชื่อถือของสถาบันด้านหลักสูตรความเชี่ยวชาญของบุคลากรผู้สอนที่ตรงตามสาขานักวิจัยแหล่งเรียนรู้สำหรับฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพการทำงานร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น2. การค้นหาและคัดเลือกนักเรียนผู้รับทุนต้องเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสมีศักยภาพในด้านผลการเรียนพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเดียวกัน3. การเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนก่อนเข้าศึกษาพิจารณาจากแผนกิจกรรมในช่วงแรกที่จะทำงาน4. หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนทั้งสมรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครูสมรรถนะทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และเจตคติและสมรรถนะเฉพาะ5. การจัดระบบดูแลนักศึกษาแนวทางการดูแลความเป็นอยู่สวัสดิภาพและสุขภาพแก่ผู้รับทุน6. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้(Enrichment program) แนวทางหรือวิธีการเพิ่มคุณภาพให้แก่ผู้รับทุนและ7. การจัดทำข้อมูลและการเข้าร่วมพัฒนาทางวิชาการโดยการคัดเลือกสถาบันจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและจะประกาศรายชื่อภายในเดือน.. 62

Advertisement

ครูรัก(ษ์)ถิ่นต่อยอดบทเรียนที่สำคัญของโครงการคุรุทายาทใน2 เรื่องสำคัญคือ1.รับประกันการมีงานทำเมื่อจบตามหลักสูตรแล้วได้บรรจุเป็นข้าราชการครูและ2.การที่สถาบันอุดมศึกษาจะมีกระบวนการบ่มเพาะความเป็นครูของชุมชนเข้าไปในหัวใจของนักศึกษาทุนตลอดเส้นทางการศึกษาการออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหรือEnrichment Program ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ผู้เรียนมีใจมีเป้าหมายพร้อมที่จะเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่นไม่ทิ้งชุมชนอย่างแน่นอนดร.ศุภโชคกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image