กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯจับมือภาคีภาคใต้สร้างนิเวศสื่อที่ดี

ที่โรงแรมนิภาการ์เด้นอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จับมือกับภาคีเครือข่ายในภาคใต้จัดงานรวมพลังสื่อสร้างสรรค์สังคมไทยประจำปี2562 ภายใต้แนวคิดผนึกกำลังสื่อสร้างสรรค์สร้างนิเวศสื่อที่ดีพร้อมมอบรางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์“TMF AWARDS 2019” ให้กับผู้ผลิตสื่อดีเด่นจากภาคใต้โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก

นางวรินรำไพปุณย์ธนารีย์รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กล่าวว่าภารกิจของทุนคือการให้ทุนสนับสนุนในกิจกรรมผ่านโครงการเพื่อดึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันผลิตสร้างสรรค์สื่อที่ดีและปลอดภัยโดยผลงานที่สร้างสรรค์จะเป็นการเสริมสร้างแรงบันดาลใจสร้างแรงจูงใจในการผลิตและเข้าถึงสื่อปลอดภัยและร่วมกันสร้างสรรค์ภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนพลเมืองเกิดการเรียนรู้เท่าทันและปลอดภัยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในการสื่อสารในปัจจุบันซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละคนมีต้นทุนหรือศักยภาพหรือโอกาสไม่เท่ากันกองทุนฯจึงทำหน้าที่เพื่อเข้าไปสนับสนุน

​​“กองทุนฯมีการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในหลายระดับโดยทุกครั้งที่มีการจัดเวทีกิจกรรรมก็จะมีการเชิญภาคีเครือข่ายประชาชนทุกภาคส่วนในประเทศได้มามีส่วนร่วมพบเจอกันขณะเดียวกันได้มีการจัดเวทีกระจายไปในท้องถิ่นชุมชนโดยจัดแต่ละภาค4 ภาคเพื่อเชิญชุมชมเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีฝีมือความคิดสร้างสรรค์  เป็นการเปิดพื้นที่แสดงออกนำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อสร้างสื่อที่ดีเหมือนไปหาเพื่อนและเราอยากให้เพื่อนได้เจอเราด้วยเนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีเจ้าภาพในการเปิดพื้นที่ให้มารวมกันเพื่อที่จะบอกว่าพวกเขามีความรู้มีภูมิปัญญามีอะไรดีหรือเขาทำอะไรดีในด้านสื่อสร้างสรรค์ปลอดภัยซึ่งนี้จึงเป็นที่มาของรางวัลTMF AWARDS” นางวรินรำไพ  กล่าว

​​นายไมตรี  จงไกรจักรผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไทกล่าวว่าสื่อมีมิติที่หลากหลายในปัจจุบันแต่ภาคใต้ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญคือการสื่อสารผ่านวัฒนธรรมภูมิปัญญาการแสดงไม่ว่าจะเป็นหนังตะลุงมโนราห์ซึ่งเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเมืองศิลปวัฒนธรรมผ่านสื่อพื้นบ้านเหล่านั้นที่ตกทอดกันมาอย่างยาวนานยิ่งมีสถานการณ์บ้านเมืองการเมืองก็จะมีการสอดแทรกเล่าเรื่องราวจากสื่อการประกอบการแสดงที่สะท้อนสภาพสังคมออกมาด้วยที่ไม่ใช่แค่การปรากฎการณ์แต่สื่อวัฒนธรรมของภาคใต้ลึกซึมซับเข้าไปถึงจิตใจของผู้คน

Advertisement

อย่างไรก็ตามสื่อในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากคนไทยกว่า50ล้านคนมีเฟซบุ๊กมีการสื่อสารกันโลกออนไลน์รวมทั้งมีเฟคนิวส์ตามมาด้วยนี้คืออันตรายซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะสื่อสารกันอย่างไรให้มีความสร้างสรรค์ผ่านโลกโซเชียลให้เกิดประโยชน์และทรงคุณค่าปลอดภัยในการเรียนรู้พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน

​​ด้านรศ.ดร.ณฐพงศ์  จิตรนิรัตน์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณกล่าวว่า  ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้อย่างง่ายดายคนสามารถผลิตสื่อสร้างสื่อได้ด้วยตนเองในด้านดีคือการเปิดกว้างแต่ขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งประเด็นต่างในสังคมเช่นเรื่องดราม่าเฮตสปีช  ซึ่งไม่ว่าสื่อจะเปลี่ยนไปแค่ไหนแต่สิ่งสำคัญที่สังคมต้องการมากที่สุดคือความจริงเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพอย่างไรก็ตามปัจจุบันคนที่เกี่ยวข้องกับสื่อผลิตสื่อให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มสื่อมากกว่าการสร้างเนื้อหาในเชิงคุณภาพซึ่งสังคมต้องการเนื้อหาคุณภาพความจริงซึ่งสื่อต้องสะท้อนตรงไปตรงมาไม่ใช่อ่อนไหวดราม่าตามยุคโซเชียลที่ตอบสนองอารมณ์ภาพรวมสังคมดราม่า

ขณะที่นายพงษ์พัฒน์ด่านอุดมผู้ชนะเลิศรางวัลผลิตสื่อประเภทเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์สื่อดีเด่นซึ่งได้ผลิตสื่อรณรงค์ผลิตสื่อข่าวและรายงานสถานการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตลอดนจนนำเสนอวิถีชีวิตของคนในชุมชนกล่าวว่าสนใจการทำสื่อตั้งแต่เรียนในระดับมัธยมศึกษาและเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยเริ่มต้นจากมือถือของตัวเองจนกระทั่งเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยก็ได้เข้าเรียนในคณะนิเทศศาสตร์และผลิตสื่อต่อยอดเป็นการผลิตข่าวโดยได้มีโอกาสไปสัมผัสเรียนรู้ในชุมชนมีเรื่องราวน่าสนใจพบว่าบางเรื่องสื่อหลักก็ไม่ให้ความสำคัญหรือเข้าไม่ถึงจึงเริ่มทำข่าวพลเมืองในช่องทีวีสาธารณะเพื่อสื่อสารส่งสารให้ชาวบ้านในพื้นที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านบอกเล่าเรื่องราวของเขา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image