เปิด ’54’ สาขา-คณะแพทย์ ‘กสพท’ ปี’63

คณะ/วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ที่เข้าร่วมคัดเลือกกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) มีจำนวน 54  สาขา 2,650 ที่นั่ง ดังนี้

คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) 20 ที่นั่ง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 176 ที่นั่ง, จุฬาฯ-กรมการแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ 30 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) 55 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) 65 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) 30 ที่นั่ง,  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) 129 ที่นั่ง, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มม.-วิทยาลัยมหิดล-วิทยาลัยการแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 29 ที่นั่ง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มม. 260 ที่นั่ง, วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต(โรงพยาบาลราชวิถี) 60 ที่นั่ง, วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (โรงพยาบาลเลิดสิน) 15 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) 165 ที่นั่ง, มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ 40 ที่นั่ง, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 70 ที่นั่ง, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช-โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์กรุงเทพ 20 ที่นั่ง , วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (เพศชาย) 57 ที่นั่ง, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (เพศหญิง) 38 ที่นั่ง, สำนักวิชาการแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) 12 ที่นั่ง , มหาวิทยาลัยบูรพา(มบ.) 30 ที่นั่ง, สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) 12 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยสยาม 10 ที่นั่ง

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 80 ที่นั่ง, มม. 83 ที่นั่ง, มช. 18 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) 20 ที่นั่ง, มศว 58 ที่นั่ง, มข. 15 ที่นั่ง, มธ. 30 ที่นั่ง, มน. 17 ที่นั่ง, สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มทส. 10 ที่นั่ง, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 150 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) 100 ที่นั่ง, มข. 30 ที่นั่ง, มช. 20 ที่นั่ง, มม. 40 ที่นั่ง, มม.-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 10 ที่นั่ง , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 10 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส) 10 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ตะวันออก 30 ที่นั่ง, มทร.ศรีวิชัย 10 ที่นั่งและม.อ.10 ที่นั่ง

 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ(สาขาวิชาการบริการทางเภสัชกรรม) 71 ที่นั่ง, จุฬาฯ(สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ) 80 ที่นั่ง, มม.120 ที่นั่ง, มช. 65 ที่นั่ง, มศว (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) 20 ที่นั่ง, มศว (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ) 20 ที่นั่ง, มธ. 30 ที่นั่ง, มมส 10 ที่นั่ง, มบ. 120 ที่นั่ง, มหาวิทยาลัยสยาม (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) 20 ที่นั่ง และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 20 ที่นั่ง มหาวิทยาลัยพายัพ 10 ที่นั่ง และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) 10 ที่นั่ง

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image