‘สุวิทย์’ ชงตั้ง ‘คกก.แห่งชาติว่าด้วยการผลิตและพัฒนาครู’ แก้ปัญหาผลิตขาด-เกิน

เมื่อวันที่19 พฤศจิกายนนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับนายณัฐพลทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เรื่องการพัฒนาครูในศตวรรษที่21 ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ได้มีการหารือปัญหาของครูในขณะนี้พบว่าครูขาดคุณภาพครูที่ผลิตไม่ตรงสาขาและครูมีจำนวนเกินตำแหน่งที่รองรับดังนั้นการแก้ปัญหาครูต้องแก้ทั้งตัวของครูและสภาพแวดล้อมและควรเตรียมพร้อมรับมือกับครูจบใหม่ในปี2565 ที่หลักสูตร4 ปีและ5 ปีจะจบออกมาพร้อมกันทั้งนี้ในส่วนของอว. ได้มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาโดยให้มีการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการผลิตและพัฒนาครู(National Joint Committee for Teacher Education and Development) โดยต้องมีคนจากทั้งฝั่งผลิตครูและฝั่งใช้ครูมาร่วมกันเพื่อดูแลเรื่องการทำนโยบายกำหนดทิศทางวางมาตรฐานครูซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลการวิจัยเชิงระบบและศูนย์กลางของความเป็นเลิศด้านการศึกษาพร้อมตั้งสถาบันวิจัยระบบครุศึกษาและการศึกษา(Teacher Education and Education System Research Institute) เพื่อทำการวิจัยเชิงระบบทั้งด้านการศึกษาและคุรุศาสตร์เพื่อทำหลักฐานองค์ความรู้เชิงประจักษ์ในการเตรียมกำลังคนและเนื้อหารายวิชาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับศตวรรษที่21 นอกจากนี้ให้มีการตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านครุศึกษา(Teacher Education Center of Excellence) เป็นการรวมกลุ่มของสถาบันผลิตครูหลักๆในรูปแบบสภาความร่วมมือเน้นการผลิตครูของครูปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกและอาจจะกระจายเป็นกลุ่มตามแต่พื้นที่

นายสุวิทย์กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาระยะสั้นให้ปลัดอว. และศธ. ตั้งทีมทำงานเพื่อระบุและแก้ไขปัญหาร่วมกันขณะเดียวกันที่ประชุมเห็นชอบกับการตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการผลิตและพัฒนาครูโดยให้ปลัดทั้งสองกระทรวงรับหน้าที่ดำเนินการโดยอาจให้มีนายษณุวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีหรือนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯเป็นประธานและมีรัฐมนตรีว่าการอว.และรัฐมนตรีว่าการศธ. ร่วมในคณะกรรมการเพื่อดูรายละเอียดการผลิตและพัฒนาครูเป็นเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งมีการทำการวิจัยเชิงระบบและพัฒนาครูของครู

ในส่วนของศธ.เห็นด้วยโดยเฉพาะทักษะและความสามารถที่ต้องมีของการผลิตครูร่วมกันและมองว่าการทำงานจะต้องมีพลวัตต้องมีการปรับทักษะครู(reskill) โดยเฉพาะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลและภาษาอังกฤษซึ่งในจุดนี้ศธ. ขอให้อว.ช่วยพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาครูเก่าร่วมด้วยอาจจะเป็นในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นและปรับหลักสูตรของศธ.ที่ใช้ในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับที่นักศึกษาครูเรียนในมหาวิทยาลัยนอกจากนั้นจะต้องมีการรวมครูอาชีวะเข้าไปเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาครูเนื่องจากมีครูสายนี้น้อยและเป็นสายที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมประเทศนายสุวิทย์กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image