เวทีแข่งหุ่นยนต์ระดับโลก ความสำเร็จที่ต้องพยายาม

ผมชื่อ นายฐิติยศ ประกายธรรม ชื่อเล่น “มายด์” นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผมเป็น 1 ในสมาชิกทีมหุ่นยนต์กู้ภัยผู้มีความสามารถด้าน Mechanical เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์ การสร้าง และการซ่อมบำรุงจากทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Sechzig (ไอราฟ เซคซิก) ผลงานล่าสุดคว้ารองแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย จากการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก ประจำปี 2562

ผมจบมัธยมต้นจากโรงเรียนพิชญศึกษา ซึ่งเป็นโรงรียนแรกที่เริ่มทำหุ่นยนต์ ได้เรียนรู้พื้นฐานของหุ่นยนต์มาบ้าง และได้มาทำหุ่นยนต์เพื่อแข่งขันอย่างจริงจังตอนเข้าเรียน ปวช.ที่โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.ได้ความรู้จากวิชาต่างๆ มาเสริมความสามารถมากครับ

ผลงานการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ผ่านๆ มา ได้แก่ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ชิงแชมป์ประเทศไทย (TPA robot) 4 ครั้ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 การแข่งขันหุ่นยนต์ “World Robot Games Thailand Championship” (WRG) 2 ครั้ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1, 2 เข้าแข่งขันรายการ CRU 3 ครั้ง และการแข่งขันรายการ World Robocup Resuce 1 ครั้ง ได้รับรางวัล First place best in class mobility และ second place in rescue competition

จากเวทีหุ่นยนต์ที่ผมได้แข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ผมได้รู้ว่า การที่จะทำหุ่นยนต์ให้ประสบความสำเร็จสักเวทีหนึ่ง ต้องอาศัยความพยายาม ความตั้งใจ และใส่ใจแบบพิเศษอย่างมากๆ เพื่อทำให้หุ่นยนต์ออกมาดี” รวมถึง การทำงานเป็นทีม เพราะทีมงานดี มีความสามัคคี และตั้งใจทำ และเต็มที่กับมัน ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมออกมาดีแน่นอนครับ ประสบการณ์นอกห้องที่ได้จากการทำหุ่นยนต์ iRAP เรื่องแรก คือการแบ่งเวลาให้เป็น ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ครับ เพราะผมก็พลาดไปแล้วอย่างที่เคยบอกไว้ การจัดการเวลาที่ดี ทำให้เราสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ออกมาได้ลงตัว

Advertisement

เรื่องที่สอง คือความกดดัน เพราะการทำหุ่นยนต์ในแต่ละเวทีการแข่งขัน จะมีเวลาจำกัดมาก ย่อมเกิดความกดดัน ในสถานการณ์ที่ทุกคนต้องร่วมกันทำ ร่วมรับรู้ และต้องอยู่กับมันให้ได้ ความกดดันแบบนี้หาได้ยากในห้องเรียนครับ เรื่องที่สาม การประยุกต์ความรู้ จากห้องสู่การลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งมันคือของจริงๆ ที่จับต้องได้แน่นอน ผมว่าในแต่ครั้งที่ทำหุ่นยนต์ ได้ใช้ความรู้ในห้องเรียนเยอะมากๆ

เมื่อจบแล้ว อยากทำงานอยู่ 2 ด้าน ที่ทำให้ผมยังลังเลอยู่ ว่าอยากจะเป็นช่าง หรือวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือเรียนต่อเพื่อเป็นอาจารย์ จะได้ถ่ายถอดความรู้ทางด้านหุ่นยนต์ และอากาศยานสู่รุ่นน้อง แต่ใจจริงๆ ผมอยากมีบริษัทของตัวเอง ที่จะนำระบบหุ่นยนต์ไปส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอากาศยานให้มากขึ้น

Advertisement

จากการแข่งขันหุ่นยนต์นี้เอง ผมว่าเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาหลายๆ คน หันมาเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแข่งขัน

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
 

เพิ่มเพื่อน
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หันมาสนใจทางด้านหุ่นยนต์มากขึ้น เพราะในอนาคตหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนมนุษย์มากขึ้น ทำให้ผู้มีความรู้ทางด้านหุ่นยนต์จะได้เปรียบกว่า

มีพี่คนหนึ่งเคยพูดกับผมไว้ว่า “ถ้าคุณกลับบ้านไปเล่นเกมแล้วไม่อ่านหนังสือเอาเวลามาทำหุ่นดีกว่า”

ฉะนั้น ผมจึงไม่ได้มองว่านี่เป็นเพียงการแข่งขันเท่านั้น แต่เรามองเห็นถึงอนาคตที่เทคโนโลยีหุ่นยนต์เหล่านี้ จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการสร้างซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ในอุตสาหกรรม ที่จะช่วยสนับสนุน และสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย รวมทั้ง เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image