จาก ‘ห้องเรียน’ สู่ ‘ห้องออนไลน์’ เชื่อม ‘ครู-น.ร.-น.ศ.’ ด้วย ‘เฟซบุ๊ก’

จาก ‘ห้องเรียน’ สู่ ‘ห้องออนไลน์’ เชื่อม ‘ครู-น.ร.-น.ศ.’ ด้วย ‘เฟซบุ๊ก’

เฟซบุ๊ก – แต่ละวัน ผู้คนจำนวนหลายล้านคนเข้ามาใช้งาน “เฟซบุ๊ก (Facebook)” เพื่อเชื่อมต่อถึงกันอย่างมีความหมาย และมีการสื่อสารที่อยู่เหนือพรมแดน ภาษา และวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งยังช่วยให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ไม่ว่าที่ใด เวลาไหน ตามที่ต้องการ

ในการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 เราได้เห็นการปรับตัวของภาค “การศึกษาไทย” และเหล่าคณาอาจารย์ในไทย ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน จาก “ห้องเรียน” สู่ช่องทาง “ออนไลน์” ที่สามารถสอนจากที่ไหนก็ได้ สอดคล้องกับคำแนะนำของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และคำแนะนำทั่วไปในการรักษาระยะห่างในสังคม (Social distancing) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนดังกล่าว ในขณะที่ยังคงต้องดูแลเอาใจใส่นักเรียน และนักศึกษา อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับโรงเรียน และชุมชนหลายแห่งในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม โรงเรียน และมหาวิทยาลัยในไทย กำลังบุกเบิก และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงบนช่องทางออนไลน์ รวมถึง หลักสูตรการเรียนการสอนของ ผศ.ดร.วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.คุณยา วิมุกตานนท์ ประธานหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เริ่มต้นใช้งานเฟซบุ๊กสำหรับระบบการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อรักษาการเชื่อมต่อกับนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติ

ผศ.ดร.วรรณวิภาเชื่อว่าปัญหาหลักที่มหาวิทยาลัย และโรงเรียน กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือความต้องการที่จะเปลี่ยนไปสู่การเรียนการสอนออนไลน์อย่างสิ้นเชิง โดยที่ยังคงมีการแสดงความคิดเห็น และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างครบถ้วน เพื่อให้ทั้งอาจารย์ และนักเรียน ได้รู้ว่าสิ่งใดที่พวกเขาควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างชั้นเรียน

Advertisement

ผศ.ดร.วรรณวิภา กล่าวว่า นี่คือเหตุผลที่เลือกใช้งานเฟซบุ๊ก นักศึกษาชื่นชอบในกลไกที่พวกเขาแสดงความคิดเห็นได้ โดยนักเรียนจะกดส่งอีโมจิรูปหัวใจเวลาที่สนุกกับการเรียน และกดส่งอีโมจิหน้าโกรธมาให้ เมื่อรู้สึกว่าครูสอนเร็วเกินไป อาจารย์จึงเข้าใจความต้องการของพวกเขาได้ง่าย นอกจากนี้ บรรยากาศที่เป็นกันเอง ยังช่วยให้นักศึกษาผ่อนคลาย และมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ

ด้าน ดร.คุณยา กล่าวว่า การผสานการเรียนรู้เข้ากับโซเชียลมีเดียของนักศึกษา ช่วยให้พวกเขารู้สึกว่า นี่คือส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน มากกว่าที่จะมองว่าเป็นระบบการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่แยกออกมา จากการที่โซเชียลมีเดียเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของนักศึกษาอยู่แล้ว ช่วยให้พวกเขาปรับตัวสู่การเรียนรู้บนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น

“เฟซบุ๊กมีเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนมากมาย กลุ่มบนเฟซบุ๊กถือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยครูผู้สอนสามารถใช้ไลฟ์สตรีม และการอัพโหลดวิดีโอผ่านเฟซบุ๊กกรุ๊ป (Facebook Group) ของแต่ละห้องเรียนได้ อีกทั้ง ยังแชร์การประกาศ สไลด์การนำเสนอผลงาน คลิปวิดีโอ และบทความกับนักศึกษาได้ด้วย”

ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน องค์กร หรือชุมชน เครื่องมือ และแอพพ์ในเครือของเฟซบุ๊ก ช่วยให้เชื่อมต่อกับสิ่งที่มีความสำคัญกับคุณได้ โดยเฟซบุ๊กได้สร้างสรรค์ชุดทรัพยากรต่างๆ รวมถึง ศูนย์กลาง School’s Out เพื่อช่วยให้ชุมชนต่างๆ เชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวก ในเวลาที่พวกเขาไม่สามารถพบปะกันในโลกแห่งความเป็นจริงได้

นี่คือ “เคล็ดลับ” ที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อเชื่อมต่อกับนักเรียน และชุมชนของคุณได้

ใช้งานเพจเฟซบุ๊ก และบัญชีอินสตาแกรม (Instagram) ของโรงเรียน หรือหน่วยงาน เป็นที่กระจายข่าวสารค้นหา หรือสร้างเฟซบุ๊กกรุ๊ปเพื่อเชื่อมต่อ และทำงานร่วมกับชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ คอยแจ้งข่าวสารแก่ชุมชนของคุณผ่านการอัพเดทข้อมูลล่าสุดผ่านเพจเฟซบุ๊ก และบัญชีอินสตาแกรมของโรงเรียน รวมถึง การเปลี่ยนแปลงสถานะเกี่ยวกับเวลาดำเนินการของโรงเรียนด้วย

ใช้เฟซบุ๊กกรุ๊ปแชร์ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือในกลุ่มอาจารย์ หรือกลุ่มผู้ปกครอง อาจารย์ชาวไทยต่างกำลังค้นหา หรือเริ่มสร้างเฟซบุ๊ก เพื่อเชื่อมต่อ พูดคุย และแชร์วิธีการในการให้ความช่วยเหลืออาจารย์คนอื่นๆ และผู้ปกครอง ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมคือกลุ่ม Teaching during COVID-19 Facebook Group

โดยอาจารย์ทั่วประเทศไทยสร้างกลุ่มบนเฟซบุ๊กร่วมกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเข้าร่วม การสนับสนุน และความร่วมมือ โดยอาจารย์สามารถทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้เกิดประโยชน์สูงสุดได้จากการสร้างสรรค์ การจัดการ และการแชร์ประกาศ เอกสาร อีเวนต์ วิดีโอแบบไฟล์ โพลล์ หน่วยการเรียนรู้ และการสอบถามต่างๆ

ผศ.ดร.วรรณวิภายังเน้นให้เห็นถึงวิธีการที่ไม่เหมือนใครในการผสมผสานฟีเจอร์เหล่านี้ในชั้นเรียนว่า อาจารย์มักใช้โพลล์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน พบว่านักศึกษามีปฏิสัมพันธ์บนเฟซบุ๊กมากกว่าในชั้นเรียนจริงๆ เสียอีก อีกหนึ่งเครื่องมือที่อาจารย์ใช้คืออีเวนต์ ซึ่งพวกเราใช้ในเชิงสร้างความสนุกสนาน เพื่อช่วยเตือนนักศึกษาเกี่ยวกับการบ้าน หรือโครงงานต่างๆ โดยเครื่องมืออย่างอีเวนต์จะคอยแจ้งเตือนนักศึกษาโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องเปลืองแรงเตือนเหล่านักศึกษาด้วยตัวเอง

การไลฟ์บนเฟซบุ๊ก เป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับอาจารย์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนนักศึกษาได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม หากไม่สามารถมาเจอกันที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย อาจารย์สามารถใช้ไลฟ์บนเฟซบุ๊กผ่านแอพพ์เพื่อจัดอีเวนต์ออนไลน์ และเชื่อมต่อกันผ่านการถ่ายทอดสดการสนทนาแบบไลฟ์ การจัดช่วงถาม-ตอบในเวลาดำเนินการ หรือโดยผู้นำของโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ดร.คุณยา เสริมว่า ความยืดหยุ่นในการเลือกใช้ไลฟ์บนเฟซบุ๊ก หรืออัพโหลดวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้า ช่วยสร้างความต่อเนื่องได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ วิดีโอแบบไลฟ์ยังถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงที่กว้างขวางยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาที่ไม่สามารถเข้าร่วม หรือประสบปัญหาในการเข้าร่วมที่ต้องใช้การเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ในการจัดไลฟ์บนเฟซบุ๊ก ได้แก่ จัดไลฟ์สดในกลุ่มเฟซบุ๊กเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว และควบคุมกลุ่มผู้รับชม สร้างอีเวนต์ภายในกลุ่มเพื่อแจ้งให้ผู้คนทราบตารางไลฟ์สดล่วงหน้า รอ 2-3 นาทีก่อนเริ่มเพื่อรอให้ผู้ชมเข้ามาในไลฟ์ ผู้ชมสามารถปรับคุณภาพของวิดีโอเพื่อช่วยให้การรับชมราบรื่นขึ้น หากอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร กระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วมด้วยการคอมเม้นท์ หรือส่งอีโมติคอน และกดบันทึก หรือเซฟวิดีโอเพื่อให้นักเรียนกลับมาชมย้อนหลังได้

นอกจากนี้ จากการที่ไทยเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้น ทำให้การสนทนาบนช่องทางออนไลน์ต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างบุคคล หรือกลุ่มคนที่มีสูงสุด 8 คน ทั้งกับเพื่อนร่วมงาน อาจารย์ ฝ่ายบริหารของโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย และผู้ปกครอง ผ่านการส่งข้อความ รูปภาพ เสียง และคลิปวิดีโอ เพื่ออัพเดท และถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันนั้น

โดย Messenger ช่วยให้อาจารย์เชื่อมต่อกับชุมชนได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยการค้นหา และเชื่อมต่อกับผู้คนได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีเบอร์โทรศัพท์มือถือ เข้าถึงอย่างไร้รอยต่อผ่านอุปกรณ์ทั้งหมด ใช้เพื่อโทรสนทนากัน หรือวิดีโอคอลได้ ทั้งระหว่างบุคคล หรือแบบกลุ่ม และสามารถส่งข้อความได้ แม้ไม่มีดาต้าอินเตอร์เน็ต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image