เปิดพิมพ์เขียว ‘กม.การศึกษา’ ยุบ ‘ศธภ.’ – ผุด ‘อาชีวะจังหวัด’

เปิดพิมพ์เขียว ‘กม.การศึกษา’ ยุบ ‘ศธภ.’ – ผุด ‘อาชีวะจังหวัด’

หมายเหตุ – ตามที่ คณะอนุกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายสุรวาท ทองบุ เป็นประธาน เตรียมเสนอให้กมธ.การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา 4 ฉบับในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ “มติชน” นำสาระทำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับที่ปรับแก้แล้ว มานำเสนอดังนี้…

ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… ได้นำฉบับที่ยกร่างโดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) มาพิจารณาคงส่วนใหญ่ของสาระเดิมไว้ และแก้ไขในส่วนที่เป็นข้อขัดแย้ง สาระสำคัญ ดังนี้ ผู้ประกอบอาชีพครู จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู บุคลากรในศธ.เป็นข้าราชการครูทุกคน และยังคงมีระบบวิทยฐานะครู ชื่อตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่มีนิยาม “ครูใหญ่” มีนิยาม “ผู้บริหารสถานศึกษา” แทน กำหนดระบบการศึกษาเป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อรับคุณวุฒิการศึกษา พัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ และพัฒนาชีวิต กำหนดระดับการศึกษาออกเป็น 4 ระดับ คือ การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับเตรียมอุดมหรืออาชีวศึกษาชั้นต้น และ ระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา การแบ่งส่วนราชการใน ศธ.จะต้องตราเป็นกฎหมายผ่านระบบรัฐสภา แทนอำนาจของ รัฐมนตรีว่าการศธ. และข้าราชการเป็นข้าราชการครูทุกคนในศธ. ต้องรับผิดชอบร่วมผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการศธ. มีสาระสำคัญเพิ่มเติม อาทิ ปรับปรุงโครงสร้างของศธ. ใหม่ โดยการยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จัดโครงสร้างการบริหารกระทรวง แบ่งเป็น ส่วนกลาง ส่วนกลางในภูมิภาค ส่วนจังหวัด และสถานศึกษา ยกเลิก สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) คง ศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) ให้มีสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.)ทุกจังหวัด และมีสถาบันอาชีวศึกษาประจำจังหวัดทุกจังหวัด ให้สำนักงานกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา( ก.ค.ศ.) เป็นสำนักงานก.ค. มีฐานะเป็นส่วนราชการ โอนองค์การค้า ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา( สกสค.) มาเป็นหน่วยงานในกำกับของศธ. โดยเรียกชื่อใหม่ว่า องค์การค้า ศธ. เป็นต้น

ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู เปลี่ยนชื่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู เนื่องจากกำหนดให้บุคลากรทุกตำแหน่งให้เป็นข้าราชการครูด้วย มีคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) แทน คณะกรรมการก.ค.ศ.มีคณะกรรมการระบบพิทักษ์คุณธรรม มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครู (อ.ก.ค.) ส่วนราชการ สำนักในส่วนราชการเทียบเท่ากรม และให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครู (อ.ก.ค.) ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่สังกัดศธ. ทุกแห่งทุกส่วนราชการรวมถึงสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ให้สามารถบริหารงานบุคคลได้อย่างมีอิสระ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของสถานศึกษา และตามภารกิจของสถานศึกษานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ มีอำนาจในการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งบางตำแหน่งที่มีความจำเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไปตามภารกิจหรือระดับที่ต่างกัน เป็นต้น

Advertisement

ร่างพ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสาระสำคัญ เปลี่ยนชื่อจากพ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็น พ.ร.บ.สภาครู กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ สัดส่วน และที่มาของคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพของครู ขึ้นใหม่ ยกเลิกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.)แล้วใช้อนุกรรมการที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่แทนกมว. ลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน บัญญัติให้มีวิชาชีพทางการศึกษา 6 วิชาชีพ ประกอบด้วย วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริการศึกษาในระดับส่วนราชการ และนักพัฒนาการศึกษา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image