‘ณัฏฐพล’ แจงโละ ‘โอเน็ต-วีเน็ต’ เหตุขาดประสิทธิภาพ-ไม่คุ้มงบ

‘ณัฏฐพล’ แจงโละ ‘โอเน็ต-วีเน็ต’ เหตุขาดประสิทธิภาพ-ไม่คุ้มงบ

‘ณัฏฐพล’ แจก ยกเลิกโอเน็ต-วีเน็ต’ เหตุขาดประสิทธิภาพ-ไม่คุ้มงบประมาณ ส่วนม.6 ยังคงไว้ เหตุต้องนำคะแนนไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้ลงนามในหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เรื่องขอยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต และ เรื่องขอยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา หรือวีเน็ตนั้น ที่ผ่านมาศธ.ได้ศึกษาข้อดี ข้อเสีย การจัดสอบโอเน็ตที่ผ่านมา รวมถึงดูว่าศึกษาดูว่าอะไรที่มีความซับซ้อน ทำให้การจัดการศึกษาไม่เกิดประสิทธิผล และไม่ได้ส่งผลลัพธ์ถึงนักเรียน ทั้งนี้เราต้องกล้ายอมรับความจริงว่าอะไรที่ทำให้งบประมาณของชาติอาจจะไม่คุ้มค่า ตนยืนยันว่าศธ.ให้ความสำคัญกับการทดสอบระดับชาติ เพียงแต่ว่าการนำผลลัพธ์ไปใช้ต้องส่งผลนักเรียนโดยตรง ที่ผ่านมานำผลสอบโอเน็ตไปวัดสถานศึกษา ผู้บริหาร และครู ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการ ทั้งที่ต้องการใช้คะแนนเพื่อพัฒนานักเรียน อย่างไรก็ตามตนมั่นใจว่าสุดท้ายจะมีการทดทอบอยู่ แต่อาจจะลดวิธีการ ลดขั้นตอน ลดงบประมาณ ลดความเครียด ลดความกดดัน เพื่อทำให้การศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง ส่วนการยกเลิกสอบวีเน็ต เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)มีหน่วยงานมารองรับการทดสอบด้านวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษาอยู่แล้ว เช่น สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นต้น การปรับเปลี่ยนครั้งนี้เพราะ ไม่อยากทำอะไรซับซ้อน ไม่อยากทำอะไรที่ไม่สามารถนำผลไปใช้ได้จริง ที่สำคัญไม่อยากทำอะไรที่เสียงบประมาณโดยไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร

“ผมลงนามในหนังสือเพื่อเสนอแนวทางให้ สทศ.ดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์รอบด้าน โดยเฉพาะปัจจุบันมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ผู้ปกครอง นักเรียนเกิดความเครียด มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการเตรียมการสอบ จากที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.มากว่า 1 ปี พอมองเห็นว่าอะไรที่ไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการศึกษาอย่างแท้จริง ก็นำเสนอข้อมูลให้ สทศ.ตามข้อเท็จจริงที่ได้รับรู้ ผมมองว่าแต่ละหน่วยงานก็มีภารกิจที่ต้องทำ อย่างเช่น สทศ.มีหน้าที่จัดเตรียมข้อสอบทางการศึกษา การยกเลิกหรือดำเนินการอะไรก็ต้องเคารพในสิทธิและให้เกียรติซึ่งกันและกันด้วย ผมมองว่าเราสามารถบริหารจัดการได้ ไม่เป็นปัญหา ขณะนี้ยังไม่ได้ยกเลิกสอบโอเน็ต เพียงแต่ผมส่งหนังสือให้ สทศ.​พิจารณาถึงความเหมาะสมในสถานการณ์การสอนในปัจจุบันที่นำผลสอบมาใช้ในรูปแบบที่ไม่ตรงกับความต้องการในการพัฒนาเด็ก ส่วนแนวทางที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ต้องรอดูผลการประชุมคณะกรรมการ สทศ.” นายณัฏฐพล

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ส่วนการยกเลิก ม.6 ต้องดูความเหมาะสมด้วย เพราะม.6 ต้องนำคพแนนสอบโอเน็ตสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ยังใช้ข้อสอบโอเน็ตเป็นหนึ่งในเกณฑ์การคัดเลือกอยู่ ดังนั้นการปรับกฎระเบียบกติกาที่มีความสำคัญกับอนาคตของเด็ก ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และต้องมีความระมัดระวังในการดำเนินการต่างๆ ที่จะมีผลต่อการศึกษาในภาพรวม ส่วนการยกเลิกสอบโอเน็ต ป.6 และ ม.3 ไม่สร้างผลกระทบอะไร เพราะเดิมจะใช้คะแนนสอบโอเน็ต ป.6 และม.3 เป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 แต่ปัจจุบันแต่ละโรงเรียนมีข้อสอบที่สอบรับนักเรียนเข้า ม.1 และม.4 ของตนเองอยู่แล้ว ดังนั้นโรงเรียนสามารถวัดความสามารถของเด็กเองได้

Advertisement

“อยากให้เข้าใจถึงเหตุผลที่ยังไม่สามารถยกเลิกโอเน็ต ม.6 เพราะต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ ยืนยันศธ.จะไม่ปรับลดบทบาทของ สทศ. เพราะ สทศ.ยังมีความสำคัญอยู่มาก เรามีการทดสอบระดับชาติหลายรูปแบบ และต่อไป สทศ.ต้องปรับเปลี่ยนการสอบให้สามารถประเมินเด็กตามความสามารถของแต่ละคนได้ โดยอาจจะเป็นการสอบที่คำนึงถึงความรู้พื้นฐานของเด็ก และนำมาเทียบกับความสามารถเฉพาะทางของเด็กในแต่ละทักษะ” นายณัฏฐพล กล่าว

 

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image