นักวิทย์กรมศิลป์เผยภาพ “เอกซเรย์” อวโลกิเตศวร “ศรีวิชัย” ไขปริศนาส่วนผสม-เทคนิคโบราณ

ระหว่างวันที่ 22- 23 ส.ค. ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรมีการจัดงานสัมมนาวิชาการ “วิจัย วิจักขณ์ สิปปวิทยาการ” ซึ่งเป็นการนำเสนองานศึกษาวิจัยโดยบุคลากรของกรมศิลปกร จำนวน 56 บทความ หนึ่งในนั้นคือ ดร.ศิริชัย หวังเจริญตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งนำเสนอบทความเรื่อง “เผยเอกลักษณ์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรด้วยวิทยาศาสตร์”

ดร.ศิริชัยกล่าวว่า ประติมากรรมดังกล่าวได้รับการศึกษาด้านรูปแบบศิลปะ และทางด้านโบราณคดีแล้ว แต่สิ่งที่ขาดอยู่คือการศึกษาด้วยวิทยาศาสตร์ ตนจึงทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการเอกซเรย์ และถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมา ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ทำลายเนื้อโบราณวัตถุ ผลการศึกษาทำให้เข้าใจถึงส่วนผสมของโลหะ เทคนิควิธีการหล่อในสมัยโบราณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ และตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้
“การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบส่วนผสมโลหะและวิธีการหล่อ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดี รวมถึงการอนุรักษ์ด้วย ที่สำคัญคือเรามีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆก็เหมือนตรวจดีเอ็นเอของโบราณวัตถุ ซึ่งไม่สามารถปลอมแปลงได้ ข้อมูลในส่วนนี้จะถูกเก็บไว้อย่างเป็นความลับ ซึ่งจะช่วยพิสูจน์การปลอมแปลงได้” ดร.ศิริชัยกล่าว

ทั้งนี้ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดังกล่าว ตามประวัติ ถูกพบที่วัดพระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ.2448 โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยหลงเหลือเฉพาะพระวรกายส่วนบน มีความสูง 64 ซม.สร้างขึ้นในรูปแบบศิลปะศรีวิชัย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ และปาละ-เสนะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 จัดเป็นโบราณวัตถุชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของไทย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

อวโลกิเตศวร

Advertisement

อวโล

14045543_10154451318802733_9220527211013417257_n

02

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image