KBU POLL ชี้ ปชช.อยากได้ ‘คนนอก’ นั่ง รมว.ศธ.กว่า 59%

KBU POLL ชี้ ปชช.อยากได้ ‘คนนอก’ นั่ง รมว.ศธ.กว่า 59%

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า KBU POLL โดยศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐมนตรีศึกษาในมุมมองของประชาชน” เนื่องจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่างลง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนสะท้อนมุมมองที่มีต่อคุณลักษณะของผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.สำรวจระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,513 คน แบ่งเป็น เพศชาย 804 คน ร้อยละ 53.13 และเพศหญิง 709 คน ร้อยละ 46.87 พบว่า

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.คนใหม่ ควรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือคนนอก ร้อยละ 59.07 คนนอก รองลงมา ร้อยละ 21.44 ให้เป็นไปตามดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 19.49 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณลักษณะของรัฐมนตรีว่าการ ศธ.กับปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 32.58 มีวิสัยทัศน์เข้าใจในบริบทของการศึกษา รองลงมา ร้อยละร้อยละ 27.61 มีความรู้ความสามารถในการบริหารการศึกษา ร้อยละ 17.58 มีความมุ่งมั่นกล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหา ร้อยละ 14.99 มีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 5.08 มีมนุษยสัมพันธ์/ ได้รับการยอมรับจากวงการศึกษาและสังคม และอื่นๆ ร้อยล 2.16

ความคาดหวังจากรัฐมนตรีคนใหม่ ร้อยละ 26.44 ยกระดับการศึกษาสู่มาตรฐานสากล รองลงมา ร้อยละ 22.63 ปฏิรูปการศึกษาครบวงจร ร้อยละ 20.57 แก้ปัญหา และลดความเหลื่อมล้ำ ร้อยละ 17.11 นำนโยบายและแผนพัฒนาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ10.91 สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และอื่นๆ ร้อยละ 2.34

Advertisement

ปัญหาที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไข ร้อยละ 24.33 คุณภาพ และมาตรฐานของสถานศึกษา รองลงมา ร้อยละ 22.86 การทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 19.84 การลงโทษ และล่วงละเมิดนักเรียนในสถานศึกษา ร้อยละ 17.81 กฎระเบียบที่ล้าหลังไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 10.13 หนี้สินค และอื่นๆ ร้อยละ 5.03

ข้อเสนอแนะทั่วไป กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะที่หลากหลายจากการสังเคราะห์ในภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่เสนอให้ ศธ.ไม่ควรเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง ตามด้วยควรกำหนดมาตรฐานการผลิตครูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ทบทวนนโยบายที่เป็นปัญหา และอุปสรรค จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมให้กับนักเรียน จัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมืองศีลธรรมให้กับนักเรียนทุกระดับ ขจัดความเหลื่อมล้ำของสถานศึกษา และกวดขันการปฏิบัติงานและความมุ่มเทของผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เป็นต้น

ผศ.ดร.รัฐพงศ์ กล่าวว่า ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างตระหนัก และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สังคไทยต้องประสบกับปัญหาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่รัฐบาลทุกยุคมีนโยบายในการส่งเสริม และสนับสนุนเป็นอย่างมาก ที่น่าสนใจเมื่อถามถึงผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.คนใหม่ ต่างสนับสนุนให้บุคคลภายนอก และมีคุณลักษณะที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เข้าใจในบริบทของการศึกษา พร้อมคาดหวังให้ยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่สากล ตลอดจนแก้ปัญหาคุณภาพ และมาตรฐานของสถานศึกษา เป็นต้น

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image