ร้อง ‘ตรีนุช’ ชะลอเกณฑ์จัดอัตราครู ‘บิ๊กร.ร.’ห่วงครูลด กระทบงานบริหาร

ร้อง’ตรีนุช’ชะลอเกณฑ์จัดอัตราครู โวยฝ่ายวิชาการเพิ่มงานสอน’บิ๊กร.ร.’ กระทบบริหาร-นิเทศก์-ครูต่อห้องลด

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม นายวิสิทธิ์ ใจเถิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในฐานะนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้เข้าพบ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศเพื่อยื่นหนังสือขอให้ชะลอการบังคับใช้เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาหรือ ว23/2563 สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยได้มีการศึกษาผลกระทบ จากการประกาศใช้เกณฑ์อัตรากำลังของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กค.ศ.) ดังนี้ 1.สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สพฐ.ได้ชะลอการสอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ และสอบบรรจุครูผู้ช่วยทั่วไป ประจำปี 2564 ทำให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) แต่ละแห่งไม่สามารถบรรจุครูผู้ช่วยได้ทันในภาครียนที่ 1/2564 หากใช้เกณฑ์ดังกล่าว จะทำให้ถูกตัดอัตรากำลังที่ว่างลงทันทีขณะที่โรงเรียนไม่สามารถหาครูมาทำหน้าที่สอนทดแทนอัตราดังกล่าวได้ทัน2.นโยบายของ สพฐ.มุ่งเน้นแก้ปัญหาโดยการยุบและควบรวมโรงรียนขนาดเล็กเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาในขณะที่เกณฑ์อัตรากำลังของสำนักงาน ก.ค.ศ.มุ่งเน้นเกลี่ยอัตรากำลังจากโรงเรียนขนาดกลางขนาดใหญ่ และขาดใหญ่พิเศษไปสู่โรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนต่ำกว่า 120 คน จึงขัดแย้งกับนโยบายของ สพฐ.

นายวิสิทธิ์กล่าวต่อว่า 3.การจัดการศึกษาในระดับมัธมศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางวิชาการเละวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย รู้จักตัวเองว่าถนัดทางด้านใด ดังนั้น การจัดครูเข้าสอนและการบริหารอัตรากำลัง จะต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาเอก เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์จิตวิทยาต่างกับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยและปฐมศึกษาที่มุ่งเน้นให้ครูเอาใจใส่ใกล้ชิดนักเรียนพื่อพัฒนาทักษะตามวัยในขณะที่เกณฑ์อัตรากำลังของ ก.ค.ศ.ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการบริหารอัตรากำลังทั้งระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาซึ่งไม่ตอบโจทย์การจัดการศึกษา และ5.ส.บ.ม.ท.ได้สำรวจข้อมูลตัวอย่างของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จะได้รับผลกระทบจาก เกณฑ์อัตรากำลังดังกล่าว ในสำนักงานขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) นนทบุรี สพม.เชียงใหม่ พบว่า มีอัตรากำลังครูที่ลดลงขณะที่จำนวนนักเรียนและห้องเรียนท่าเดิม

“ขณะนี้บาง กศจ.เริ่มนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการจัดสรรอัตรากำลังครูแล้ว ฝ่ายวิชาการหลายแห่งเข้ามาจัดตารางสอนให้ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน กระทบกับการบริหารจัดการ ทั้งบอกเช่นนี้ไม่ใช่ว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ทำงานสอนไม่ได้ แต่อาจจะส่งผลต่อการบริหารภาพรวมและงานวิเทศติดตาม ซึ่งเป็นงานหลักของผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน ดังนั้น นอกจากขอให้ชะลอการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวออกไปแล้ว ยังจะขอให้ปรับแก้รายละเอียด เปลี่ยนจากให้ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องปฏิบัติงานสอนด้วย เป็น ปฏิบัติงานเชิงวิชาการแทน เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไม่กระทบกับการจัดการศึกษาŽ” นายวิสิทธิ์กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image