ศธ.ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรม เน้นการเรียน ‘Active Learning’ 

ศธ.ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรม เน้นการเรียน ‘Active Learning’ 

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประในการประชุมวิชาการและประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน ก้ามข้ามสภาวะวิกฤต COVID-19 แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ  GPAS 5 Steps” โดยมี น..ตรีชุน เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดศธ. ผู้บริหารศธ. และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วม

นายวิษณุ กล่าวว่า การประกาศนโยบายกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนการเรียนการสอนจาก Passive Learning ไปสู่ Active Learning ซึ่งจะทำให้เด็กที่เรียนด้วย Active Learning มีความรู้จริง รู้ลึก และรู้นาน เพราะทำก็เองกับมือ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องสร้างตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงอุดมศึกษาให้ได้ ถือเป็นNew Normal ชนิดหนึ่งด้านการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาก็ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และถือเป็นขั้นตอนการปฏิรูปที่สำคัญที่ต้องเร่งผลักดันให้ได้  ซึ่งพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าไปที่ไหนก็จะเน้นย้ำให้มีการเรียนการสอนแบบ Active Learning เสมอ

รองนายกฯ กล่าวว่า การผลักดันเรื่องนี้เป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ ที่สำคัญสอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ปรับการเรียนการสอนอิงมาตรฐานไปสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นหวังว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ จะได้เห็นการต่อยอดขยายผลไปทั่วราชอาณาจักร สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น 

การเรียนด้วย Active Learning ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้รู้สึก รู้จริง รู้นานและไม่ค่อยลืม ขณะที่ครูก็จะเปลี่ยนจากผู้สอนหรือผู้บอกมาเป็นโค้ช คอยแนะนำ แต่เด็กต้องลงมือทำเอง เพราะฉะนั้นขอให้เชื่อเถอะใช้ Active Learning แล้วเด็กจะเก่งขึ้นแน่นอนนายวิษณุ กล่าว

Advertisement

..ตรีนุช กล่าวรายงานตอนหนึ่งว่า การจัดการประชุมวิชาครั้งนี้ เพื่อเป็นโมเดลในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและในราชกิจจานุเบกษาที่กำหนดให้แก้ปัญหาด้านการศึกษาด้วยวิธีปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และกำหนดให้ปรับกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรอิงมาตรฐานในปัจจุบัน ให้ไปสู่การพั ฒนาสมรรถนะในยุคใหม่ โดยศธ. ได้ดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ด้วยการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ในลักษณะของการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนสามารถนำไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ผ่านการรวบรวมข้อมูล การจัดข้อมูลให้เกิดความหมายผ่านการคิดวิเคราะห์ ออกแบบสร้างสรรค์ สร้างทางเลือก ตัดสินใจเลือกเป้าหมายแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ วางแผนลงมือทำ ตรวจสอบแก้ปัญหา พัฒนาไปสู่ระดับนวัตกรรม ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของผู้เรียนอย่างเหมาะสม

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนก็มีส่วนสำคัญต่อการบรรลุ

เป้าหมาย โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ระดับหลักการ สร้างนวัตกรรม และเสริมสร้างสมรรถนะให้นักเรียนเกิดสมรรถะสำคัญที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการพัฒนาครูแบบ Coaching ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บรรลุผลสำเร็จอย่างน่าชื่นชม เกิดเป็นโรงเรียนต้นแบบภาคเหนือ จำนวน 10 จังหวัด รวม 30 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 10 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง 10 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน พบว่าประสบผลสำเร็จและเกิดผลงานจากการปฏิบัติ เป็นนวัตกรรมทั้งของครูและนักเรียนจำนวนมากกว่า 1,500 รรม และมีความคาดหวังว่าจะเกิดนวัตกรรมในปีการศึกษาต่อไปจำนวนกว่า 5,000

“จากความสำเร็จดังกล่าว ศธ.จะเร่งขยายผลให้มีโรงเรียนต้นแบบในทุกภูมิภาคให้ทั่วประเทศโดยเร็ว และเร่งขยายผลให้ครอบคลุมทุกสถานศึกษา เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน” น.ส.ตรีนุช กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image