‘ตรีนุช’ ยันไม่ทบทวนเกณฑ์ PA พร้อมเดินหน้า ต.ค.นี้ แน่นอน

ตรีนุชยันไม่ทบทวน เกณฑ์ PA  ยันเดินหน้า ต..นี้ แน่นอน ฝากบิ๊กเขตพื้นที่ฯ ดัน ร..คุณภาพ มอบสพฐ.-...’ ตั้งทีมสร้างความเข้าใจเกณฑ์ PA หลังครูสะท้อนสับสน ยัน ..นี้เปิดให้ยื่นขอมีวิทยฐานะแน่นอน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และรองผู้อำนวยการ สพท. ทั่วประเทศ โดยมีนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมกว่า 500 คนว่า ขอบคุณผู้อำนวยการ สพท.ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผลักดันให้นโยบาลของรัฐบาล และ ศธ.ในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สามารถขับเคลื่อนงานเป็นรูปธรรม แม้จะเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ก็สามารถผลักดันงานให้มีความก้าวหน้า ทั้งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินสำเร็จเกือบ 100% การปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว, การสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา การส่งต่อนักเรียนมัธยมศึกษาสู่สายอาชีพและการยกระดับคุณภาพชีวิตครูในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น

..ตรีนุชกล่าวต่อว่า ประเด็นที่อยากสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ขอให้เข้าใจตรงกันว่าเราจะดำเนินการต่อไปตามแนวทางที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (...) กำหนดไว้ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไปทุกสถานศึกษาจะสามารถเข้าใช้งานระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัลหรือ DPA ได้ โดยมีเขตพื้นที่ฯเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการขยายผลสร้างความเข้าใจในการใช้งานระบบ DPA ให้แก่สถานศึกษาในสังกัด โดยเราจะเปิดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณสมบัติยื่นคำขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ PA ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเป็นมติของ ... และมีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ

Advertisement

จากการลงพื้นที่ทราบว่า ครูและผู้บริหารกังวลเรื่องเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ เนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ และอาจจะไม่มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้โรงเรียนทุกแห่ง จึงอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อน และสับสนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของช่วงเริ่มต้น ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้มอบหมายให้เลขาธิการ กพฐ. และเลขาธิการ ... หารือร่วมกัน เพื่อสร้างทีมงานมาทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูในเขตพื้นที่ โดยใช้ชื่อทีมงานนี้ว่า “PA Support Team” ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และเพื่อนครูบางส่วน จำนวนเขตพื้นที่ฯละ 8-15 คน รวมประมาณ 2,500 คน โดยทีมงานนี้จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนครูอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอให้ผู้อำนวยการ  สพท.ทุกเขต กำกับ ดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องเกณฑ์ PA ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของ ศธ.” ..ตรีนุชกล่าว

..ตรีนุชกล่าวต่อว่า สำหรับปีงบประมาณ 2566 ภารกิจด้านการศึกษาที่ได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ยังต้องพัฒนาก้าวไปข้างหน้า อย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งวันนี้คนเกิดน้อยลง โรงเรียนยังมีจำนวนเท่าเดิม ขอฝากเรื่องโรงเรียนคุณภาพที่เขตพื้นที่ฯต้องช่วยกันพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ จิ๋วแต่แจ๋ว พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบริบทของพื้นที่ ไม่ทอดทิ้ง นอกจากนี้ ศธ.ยังกำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำ ซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติเป็นภูมิปัญญาของคนไทย มาเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนด้วย โดยขอให้ สพฐ. ดำเนินการให้ครบวงจร ตั้งแต่ร่วมกับผู้รู้จัดทำหลักสูตร สร้างความร่วมมือกับปราชญ์ชุมชน ใช้ประโยชน์จากบริบทพื้นที่ต่อยอดการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจน จัดเวทีให้นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอความรู้ความสามารถ แสดงถึงพลังของวัฒนธรรมไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image