อาชีวะคว้าแชมป์แกะสลักหิมะ นานาชาติ ฮาร์บิ้น ประจำปี 2566

อาชีวะคว้าแชมป์แกะสลักหิมะ นานาชาติ ฮาร์บิ้น ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ( สอศ.) ส่งทีมนักศึกษาอาชีวศึกษา 3 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 4-7 มกราคม 2566 ภายใต้สโลแกน “The Youth The Future : กำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีเป้าหมายสู่อนาคต” ณ วิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์ทบิ้น เมือง Harbin  สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทีมจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันกว่า 55 ทีม จากจีน ไทย รัสเซีย ยูเครน และอื่น ๆ ซึ่งทั้ง 3 ทีมอาชีวะ สามารถคว้ารางวัลได้ทุกทีม ดังนี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี จากผลงาน “ชีวิตที่เป็นความหวังแห่งอนาคต” และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จากผลงาน “เมตตา พึ่งพา เพื่อโลกใหม่” ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่หนึ่งร่วมกัน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ในชื่อผลงาน “เยาวชน อนาคต”รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง

ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าวต่อว่า สำหรับ แนวคิดในการแข่งขันของทีมวิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี ที่ได้รับรางวัลจากผลงาน “ชีวิตที่เป็นความหวังแห่งอนาคต “ มีแนวคิดจากความรักคือพลังสร้างสรรค์ชีวิต จากชีวิตหนึ่งสู่อีกชีวิตหนึ่ง และอีกหลายชีวิตในเวลาต่อมา พลังชีวิตของมนุษย์เริ่มต้นจากการเลี้ยงดูสั่งสอนและให้แนวทางที่ถูกต้องจากผู้ให้กำเนิดสำหรับดำรงตนอย่างมั่นคงยั่งยืนในโลกกว้างต่อไป  โดยทีมแข่งขันประกอบด้วย นายวสันต์ เมฆฉาย ครูที่ปรึกษา และ1. นางสาวนฤมล เจริญเกียรติ ​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์ 2. นายอรรฆพร กลิ่นขจร ​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์ 3. นายภัทรภูมิ เจียรนิมิต ​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิจิตรศิลป์

” ส่วน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จากผลงาน เมตตา พึ่งพา เพื่อโลกใหม่ ประติมากรรมชิ้นนี้สื่อให้เห็นถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ตามหัวข้อ “เยาวชน สู่อนาคตใหม่”ที่แทนค่าด้วยนางเงือกกำลังยอกล้อเล่น และ ให้อาหารฝูงปลาแสดงให้เห็นถึงจิตใจที่เมตาต่อสรรพสิ่งที่เกื่อกูลพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสมบูรณ์ของท้องทะเลลดลง เกิดสภาวะสูญพันธ์ของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด มนุษยชาติขาดแคลนอาหารไปทั่วทุกมุมโลก โดยทีมแข่งขัน ประกอบด้วย นายพฤติพงษ์ วงศ์วรรณา ครูที่ปรึกษา และ 1.นางสาวสุวภัทร ศิวายพราหมณ์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 แผนกวิชาวิจิตรศิลป์ 2.นางสาวเขมมิกา รอดเหล็ก ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาวิจิตรศิลป์ 3.นางสาวกรกนก ชำนาญเพชร์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาวิจิตรศิลป์ และ 4.นางสาว เซอิระ สุวรรณไตรย์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาวิจิตรศิลป์” ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าว

ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าวเพิ่มเติมว่า และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี จากผลงาน ‘’เยาวชน อนาคต’’
แนวความคิดจากปัญหาขยะที่พบบ่อยในปัจจุบันโดยเฉพาะขยะพลาสติกเป็นปัญหาของทั่วโลก และกำลังเป็นภัยคุกคามระบบนิเวศน์ทางทะเลทำให้สัตว์ทะเลเสียชีวิตมากมาย เช่น เต่าทะเล นกทะเล โลมา วาฬ และพะยูน เป็นต้น สาเหตุของปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากฝีมือมนุษย์ ไม่เพียงเท่านี้ หากปัญหาขยะพลาสติกลุกลามไปเรื่อยๆ ยังจะมีวาฬ โลมา นกทะเล เต่า รวมทั้งพะยูนต้องตายจากขยะเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เราจึงต้องรณรงค์ให้เยาวชนและทุกๆคนเห็นถึงปัญหาของขยะและคุณค่าของชีวิตสัตว์ทะเลเหล่านั้น  โดยทีมแข่ขันมี นายสุระชาติ พละศักดิ์ ครูที่ปรึกษา และ1. นางสาวประวีณา โคตรคันธา ​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์ 2. นางสาวนันทิกานต์ สอนจิตร​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์ 3. นางสาวญาโณทัย ปัดเพชร​​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์ และ4. นางสาวฐิติมากร ศรจิตร​​ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิจิตรศิลป์

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image