ควันหลงวันเด็ก-ก่อนถึงวันครู เผยภาพปกหนังสือหายาก “เรื่องสอนเดกมิให้พูดปดเลย” พิมพ์สมัย ร.3

เรื่องสอนเดกมิให้พูดปดเลย เขียนโดยหมอเคสเวลล์ พิมพ์จำนวน 2,450 เล่ม ที่โรงพิมพ์คณะ A.B.C.F.M. เมื่อ พ.ศ.2391 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3

เพิ่งผ่านพ้นวันเด็กไปหมาดๆ และกำลังจะถึงวันครูในวันพรุ่งนี้ 16 มกราคม

“มติชนออนไลน์” จึงนำภาพปกของหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเด็กและการอบรมบ่มนิสัยในยุคเก่าก่อนมาฝากกัน

หนังสือเล่มนี้ มีชื่อว่า “เรื่องสอนเดกมิให้พูดปดเลย” เขียนโดยชาวต่างชาติ นามว่า หมอเคสเวลล์ (J.Caswell) พิมพ์ที่โรงพิมพ์คณะ A.B.C.F.M.เมื่อ ค.ศ.1848 หรือ พ.ศ.2391 ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

นับเป็นหนังสือในยุคแรกๆของประวัติศาสตร์การพิมพ์สยามในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากไม่ต้องใช้เวลาคัดลอกด้วยลายมือเป็นเวลานาน การพิมพ์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการชี้นำทางความคิด และเป็นสนามเสรีในการโต้ตอบกันในเรื่องต่างๆ

Advertisement

ทั้งนี้ โรงพิมพ์ในสยามเกิดขึ้นครั้งแรกโดยบาทหลวงคาทอลิก เมื่อต้นรัชกาลที่ 1 สืบเนื่องจนถึงการพิมพ์ยุคหมอบรัดเลย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆในสังคมไทยหลายประการ แม้กิจการด้านการพิมพ์จะถือกำเนิดขึ้นด้วยจุดประสงค์แรกคือการเผยแผ่คริสต์ศาสนา แต่ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาล ตั้งแต่การประกาศห้ามสูบฝิ่นเป็นต้นมา

ภาพและข้อมูลจากหนังสือ “สยามพิมพการ : ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย” โดย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549

สยามพิมพการ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image