46 โครงการ ร.9 สู่…จิตรกรรม ‘พระที่นั่งทรงธรรม’ (2)

ภาพจิตรกรรมพระที่นั่งทรงธรรม แผงผนังด้านที่ 3

กรมศิลปากรอัญเชิญโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จำนวน 46 โครงการจากทั้งหมดกว่า 4,000 โครงการ มาเขียนภาพจิตรกรรมเรียงร้อยเป็นเรื่องราวภายในพระที่นั่งทรงธรรม จำนวน 3 ด้าน โดยแผงผนังประดับจิตรกรรม 2 บริเวณด้านซ้ายของพระที่นั่งทรงธรรม บอกเล่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคเหนือและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 13 โครงการบนพื้นที่ 77.49 ตารางเมตร ดังนี้ 1. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 2.ศูนย์การพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 3.โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก 4.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไฟอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง จ.พะเยา

5.มูลนิธิโครงการหลวง (สถานีเกษตรหลวง การปลูกป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร การส่งเสริมการผลิต ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง พืชเมืองหนาว) 6.การอนุรักษ์ดิน (การปลูกหญ้าแฝก การแกล้งดิน การปลูกพืชหมุนเวียน พืชตระกูลถั่ว) 7.โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

8.โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เมือง จ.สกลนคร 9.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร-จ.นครพนม 10.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 11.โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 12.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ และ13.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) เมืองนาทรายทอง นครหลวง เวียงจันทน์

 

Advertisement
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชาวไทยภูเขาพร้อมทั้งมีพระราชดำริพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ เป็นที่มาของโครงการหลวง

 

เริ่มโครงการโรงอาหารหลวงอาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เสียเปรียบและประสบปัญหาในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร

Advertisement

มีแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานวางโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแควน้อย

พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องการปลูกป่าทดแทน ณ สถานีพัฒนาชาวเขา

มีพระราชดำริอันเป็นต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง

พระราชทานความช่วยเหลือแก่ตำรวจตระเวนชายแดน ในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งโรงเรียนแรกมีชื่อว่า “โรงเรียน ตชด. บำรุงที่1”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image