กรมศิลป์เผย พบเครื่องถ้วยนับหมื่นชิ้นใน ‘เวียงแก้ว’ วังเจ้านครเชียงใหม่ พร้อมเปิดภาพถ่ายจากโดรน

เส้นสีแดง แสดงพื้นที่การทำงานทางโบราณคดีทั้งหมด ซึ่งมีทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิม

เมื่อวันที่ 27 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักศิลปากร เชียงใหม่ ได้เผยแพร่ภาพชุด จำนวน 8 ภาพ โดยเป็นภาพถ่ายมุมสูงจากโดรน พร้อมชี้แจงความคืบหน้าเกี่ยวกกับการศึกษาเวียงแก้ว ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก รายละเอียดมีดังนี้

ความคืบหน้าการดำเนินงานทางโบราณคดี ขณะนี้ขุดแต่งพื้นที่ไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสงวนสิทธิ์งาน เนื่องจากไม่สามารถดำเนินงานขุดแต่งทางโบราณคดีต่อในพื้นที่ส่วนที่เหลือได้ เพราะมีพื้นที่บางส่วนยังไม่ได้ทำการรื้อถอนอาคาร กำแพง และพื้นซีเมนต์ ซึ่งงานดังกล่าว อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น และขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบงานดังกล่าวกำลังดำเนินการหาผู้รับจ้างมาดำเนินงาน

สำหรับร่อยรอยโบราณสถานที่พบจากการขุดทางโบราณคดี  พบร่อยรอยฐานรากโบราณสถาน 2 กลุ่มหลักๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันชัดเจนทั้งทิศทางการวางตัว ขนาดอิฐ เทคนิคการก่อสร้าง และระดับความลึกของชั้นดิน ฐานรากอาคารโบราณชุดแรกที่อยู่ชั้นบนสุด คือ ฐานรากอาคารที่มีอายุการสร้างร่วมสมัยรัชกาลที่ 6 พบตั้งแต่ระดับ 10 -90 เซนติเมตรจากผิวดิน ฐานอาคารส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ โครงสร้างอิฐสอปูน และวางตัวตามแนวแกนทิศ

ฐานรากอาคารโบราณกลุ่มที่สองฐาน คือ รากอาคารก่อนสมัยรัชกาลที่ 6 พบในระดับความลึกประมาณ 1 เมตรลงไป สันนิษฐานว่าน่าจะร่วมสมัยการใช้งานเวียงแก้ว พบแนวฐานรากกำแพงขนาดใหญ่ และแนวอิฐวางตัวในแนวยาวจำนวนมากรวมถึงบ่อน้ำโบราณกระจายตัวอยู่ทั่วไป สิ่งสร้างกลุ่มนี้เป็นอิฐก่อสอดินและวางตัวเฉียงจากแนวแกนทิศหลักประมาณ 10 องศา

Advertisement

หลักฐานที่พบร่วมในชั้นดินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-23 แนวฐานรากสิ่งก่อสร้างชุดนี้ ทั้งหมดอยู่ทางด้านทิศเหนือแนวกำแพง (อยู่ภายในพื้นที่เวียงแก้ว) ขณะนี้นักโบราณคดีกำลังวิเคราะห์หลักฐานและข้อมูลอย่างจริงจัง โดยใช้วิธีการทั้งทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เพื่อกำหนดอายุชุดอาคารดังกล่าวว่ามีอายุการใช้งายอยู่ในช่วงระยะเวลาใดบ้าง

ในส่วนของหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ จากการดำเนินงานขุดแต่งภายในพื้นที่ทิศเหนือของแนวฐานรากกำแพง (พื้นที่เวียงแก้วเดิม) พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจำนวนมากนับหมื่นชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยจีนเขียนลายสีฟ้าใต้เคลือบ และเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนา ขณะนี้อยู่ระหว่างการแยกประเภทและวิเคราะห์ ความคืบหน้าหลักฐานชิ้นสำคัญ

ลักษณะการกระจายตัวของแนวฐานรากโบราณสถานสมัยต่างๆภายในพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิม ภาพนี้แสดงเฉพาะแนวหลักๆที่สำคัญ หมายเลข 1 คือ แนวฐานรากอาคารหรือแนวก่ออิฐร่วมสมัยการใช้งานเวียงแก้ว ส่วนหมายเลข 2 คือ แนวฐานรากอาคารร่วมสมัยรัชกาลที่ 6

 

Advertisement
แนวฐานรากกำแพง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานรากกำแพงเวียงแก้วทางด้านทิศใต้ พาดผ่านตั้งแต่ด้านหลังเรือนพยาบาลไปทางด้านทิศตะวันออก ผ่านด้านข้างเรือนบัวบาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image