พบภาพเขียนสีโบราณ-กระดูกมนุษย์-ภาชนะดินเผา-ถ้วยจีน จ.กระบี่ คาดอายุ 300-500 ปี

ภาพเรือใบ

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต ได้รายงานผลการสำรวจแหล่งโบราณคดี และภาพเขียนสีโบราณแหล่งใหม่ ในพื้นที่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 3 แหล่ง จึงร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่น ลงพื้นที่สำรวจแหล่งภาพเขียนสีเพิงผาพระเจ้า พบภาพเขียนสีด้วยสีแดง และสีดำ บริเวณเพิงผาตลอดผนังยาวประมาณ 15 เมตร ภาพส่วนใหญ่ค่อนข้างลบเลือน ลักษณะของภาพเขียนสีแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก เป็นภาพเขียนสีแดง มีทั้งแบบลายเส้น และระบายทึบ ปรากฏภาพลักษณะคล้ายบุคคล เรือ และลายเส้นเรขาคณิต จัดอยู่ในกลุ่มภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งคล้ายคลึงกับกลุ่มภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ในแหล่งอื่นๆ ของ จ.กระบี่ ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นภาพลายเส้นสีดำ ลักษณะคล้ายเรือสำเภา อาจใช้ถ่านในการเขียนภาพ สันนิษฐานว่าอยู่ในยุคประวัติศาสตร์

กระบี่2

Advertisement

201603101558284-20150217164929[1]

นายอนันต์กล่าวต่อไปว่า แหล่งที่ 2 คือแหล่งภาพเขียนสีถ้ำโต๊ะขุนเหวน อยู่ห่างจากแหล่งภาพเขียนสีเพิงผาพระเจ้า ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 650 เมตร พบร่องรอยการเขียนสีแดงกลุ่มหนึ่งอยู่บนผนังของเพิงผา สภาพเลือน ไม่สามารถระบุภาพได้ แหล่งสุดท้ายคือแหล่งโบราณคดีถ้ำกะโหลก เป็นเพิงผา และโพรงถ้ำขนาดเล็ก ถูกลม และน้ำทะเลกัดเซาะ ภายในถ้ำพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์จำนวนไม่ต่ำกว่า 4 โครง สภาพถูกวางกองรวมกัน กระดูกบางชิ้นมีหินปูนเคลือบอยู่ และบางส่วนพบอยู่ร่วมกับภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีขาว และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthen Ware) อีกจำนวนหนึ่ง

จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีขาวในเบื้องต้น กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21-23 หรือประมาณ 300-500 ปีมาแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ของชาวเล หรือนักเดินเรือเพื่อพักอาศัยชั่วคราวระหว่างเดินทาง อีกทั้งใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมปลงศพอีกด้วย

Advertisement

กระบี่1

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image