ข่าวคราวล่าสุดของดาวพลูโต

สารสีอ่อนกระจายอยู่บริเวณลาดชันของยอดเขา ซึ่งน่าจะเป็นหิมะมีเทนที่เกิดจากชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตนั่นเอง ส่วนบริเวณสีเข้มคาดว่าเป็นโมเลกุลสาร tholin ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีเทนได้รับแสงอาทิตย์

นักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลที่ได้จากยานอวกาศนิวฮอไรซันมาวิเคราะห์จนเกิดงานวิจัยเกี่ยวกับดาวพลูโตออกมามากมาย ซึ่งผมอ่านแล้วพบว่าน่าสนใจ จึงนำมาเล่าสรุปให้ฟังดังนี้

1.หิมะมีเทนบนดาวพลูโต

นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่ายอดเขาบนดาวพลูโตอาจมีหิมะตกกระจายอยู่ แต่หิมะดังกล่าวเป็นหิมะมีเทน!

ในรูป 1 จะเห็นว่ามีสารสีอ่อนกระจายอยู่บริเวณลาดชันของยอดเขา ซึ่งน่าจะเป็นหิมะมีเทนที่เกิดจากชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตนั่นเอง ส่วนบริเวณสีเข้มคาดว่าเป็นโมเลกุลสาร tholin ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีเทนได้รับแสงอาทิตย์

ภูเขาลูกนี้อยู่บริเวณ Cthulhu Regio มันเป็นภูเขาที่ฐานใหญ่โตมาก ความยาวฐานภูเขานี้มากถึง 3,000 กิโลเมตร เรียกว่ายาวเกือบครึ่งหนึ่งของความยาวเส้นศูนย์สูตรของดาวพลูโต

Advertisement

2.แผนที่ธรณีบนดาวพลูโต

นักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างตื่นเต้นกับลักษณะทางธรณีอันซับซ้อนของดาวพลูโต พวกเขาจึงทำแผนที่ทางธรณีเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาความหลากหลายและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของภูมิประเทศบนดาวพลูโต โดยแผนที่ดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่โดยมีความยาว 2,070 กิโลเมตร

สีสันต่างๆ ในแผนที่บ่งบอกถึงสภาพพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป เช่น ที่ราบ,แตกระแหง,เป็นหลุมบ่อ,ถูกกัดกร่อน และเป็นเนิน ฯลฯ เส้นสีดำแตกๆ คือขอบของน้ำแข็งไนโตรเจน,สีม่วงคือเทือกเขาสลับซับซ้อน,สีชมพูคือเนินที่กระจายตัวอยู่บนผิวดาวพลูโต,ส่วนหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่แสดงด้วยสีเหลือง

แผนที่นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่าขอบเขตของบริเวณต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร และส่วนไหนเกิดขึ้นก่อนกัน ตัวอย่างเช่น หลุมอุกกาบาตที่แสดงด้วยสีเหลืองฝั่งซ้ายมือของแผนที่เกิดขึ้นหลังพื้นผิวที่อยู่รอบๆ

Advertisement
แผนที่ธรณีบนดาวพลูโต
แผนที่ธรณีบนดาวพลูโต

3. หุบเขาขนาดใหญ่บนดาวพลูโต

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบหุบเขา (Canyon) ขนาดใหญ่บริเวณขั้วเหนือของดาวพลูโต หุบเขาที่กว้างที่สุด (สีเหลืองในรูป 4) มีความกว้างถึง 75 กิโลเมตร รอบๆ มีหุบเขาย่อยๆ ทอดยาวขนานไปกับตัวหุบเขาใหญ่ การกัดกร่อนขอบตัวหุบเขาทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าหุบเขาบริเวณนี้มีอายุมากกว่าหุบเขาอื่นๆ บนดาวพลูโต และอาจประกอบกับสสารบริเวณนั้นเปราะบางกว่าบริเวณอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ลักษณะของมันบ่งบอกว่าในอดีต เปลือกดาวพลูโตเคยมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีมาก่อน

พลูโต03

หลุมขนาดใหญ่ด้านล่างขวาของภาพที่เป็นสีแดงมีความลึกถึง 4 กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าชั้นน้ำแข็งใต้เปลือกดาวพลูโตเกิดการละลายทำให้เปลือกดาวบริเวณนั้นยุบตัวลงไปกลายเป็นหลุม

ช่วงนี้ข่าวด้านอวกาศมีมากจริงๆ

อาทิตย์หน้าผมจะนำข่าวน่าสนใจอื่นๆ มาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image