ศธ.เตรียมเฟ้นต้นแบบร.ร.Public School เปิดทางดึงคนนอก-อาจารย์มหา’ลัยเป็นผอ.ได้

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม นพ.อุดม คชินทร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ Public School เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0  โดยมีนายบุญรักษ์  ยอดเพชร  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)  นายพินิจศักดิ์   สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ว่า  ที่ประชุมได้ตั้ง คณะกรรมการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบ Public School เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0   โดยมีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นประธาน ทำหน้าที่ในการวางกรอบมาตรฐานการดำเนินการโรงเรียนรูปแบบดังกล่าว รวมถึงทำหน้าที่คัดกรองสถานศึกษา ที่จะเข้าร่วม เบื้องต้น จะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีความเหมาะสม  จังหวัดละ1 แห่งหรือ 77 โรงเรียน โดยอาจมีมากกว่า  77 โรงเรียนหากคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาฯ เห็นว่ามีความเหมาะสม  ทั้งนี้โรงเรียน Public School จะเป็นโรงเรียนในกำกับของศธ. เช่นเดิม แต่จะมีรูปแบบการบริหารจัดการที่มีความอิสระ ภายใต้คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจาก 4 ภาคส่วน คือ ผู้แทนจากภาครัฐ  ภาคประชาสังคม หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เท่านั้น ยังเปิดโอกาสให้คณะอื่น ๆ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาด้วย

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา มีอำนาจในการคัดเลือกผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งหากเห็นว่า ผู้บริหารเดิม ไม่เหมาะสม ก็สามารถเสนอคัดเลือกใหม่ได้ โดยเปิดกว้างให้คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการด้านการศึกษา ได้ทั้งจากภาครัฐ  ภาคเอกชน รวมถึงเปิดโอกาสให้อาจารย์จากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เข้ามาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนได้ด้วย ขณะเดียวกัน ในส่วนของครูผู้สอน เปิดโอกาสให้คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา  คัดเลือกครูได้เอง ทั้งจากครู ที่เป็นข้าราชการของศธ. และสามารถจ้างผู้ที่มีความรู้สาขาที่ต้องการมาสอน เป็นครูอัตราจ้าง สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนเองได้ ส่วนครูที่เป็นข้าราชการ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา สามารถกำหนดเงินท็อปอัพพิเศษให้ได้ด้วยเช่นกัน

“การดำเนินการโรงเรียน รูปแบบ Public School จะเริ่มทันทีในช่วงเปิดเทอมเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2561 นี้ โดยเราจะไม่ใช้คำว่าโรงเรียนนำร่อง เพราะเราจะทำจริง ทำเป็นโรงเรียนต้นแบบ เพื่อขยายไปในโรงเรียนอื่น ๆ ในอนาคต ทั้งนี้ในส่วนของข้อกฎหมายต่าง ๆ นั้น ที่ประชุมได้สอบถามทางสำนักงานก.ค.ศ. ยืนยันว่า กฎหมายมีช่องทางให้สามารถดำเนินการได้  ทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนและครู มีเพียงเรื่องงบประมาณ ที่จะต้องลงไปดูในรายละเอียดามารถกำหนดอัตราเงินเดือนเองได้ ส่วนครูที่เป็นข้าราชการ คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา สามารถกำหนดเงินท”นพ.อุดมกล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม  โรงเรียน Public School ไม่ถือว่าซ้ำซ้อนกับโรงเรียนในกำกับรัฐ ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เพราะโรงเรียนในกำกับรัฐของกอปศ. จะต้องรอปรับแก้กฎหมายหลายฉบับ ขณะที่โรงเรียน Public School สามารถดำเนินการได้ทันทีภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ และอนาคต โรงเรียนทั้งสองรูปแบบก็จะมารวมเป็นรูปแบบเดียวกัน  เพราะมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระเช่นเดียวกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image