“ราชบัณฑิต” ออกหลักเกณฑ์เขียนทับศัพท์ภาษาพม่า ครั้งแรก

ภาพประกอบ

 

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า (เมียนมา) ระบุว่าโดยที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ซึ่งได้ประกาศ ให้เป็นมาตรฐานไปแล้ว รวม 13 ภาษา นั้น ยังไม่เพียงพอในการใช้งาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (7) แห่งพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2558 กำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า (เมียนมา) ขึ้นอีกหนึ่งภาษา เพื่อให้การทับศัพท์ภาษาดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ท้ายประกาศนี้ และเห็นสมควรให้ส่วนราชการถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาดังกล่าวด้วย เพื่อให้เป็นมาตรฐานของทางราชการจึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้บังคับต่อไปคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า (เมียนมา)เป็นมาตรฐานของทางราชการตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า (เมียนมา) อาทิ 1. การทับศัพท์ภาษาพม่าตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงเป็นหลัก โดยถ่ายเสียงสระและเสียงพยัญชนะตามภาษาพม่ามาตรฐาน และมีตารางเทียบเสียงสระและเสียงพยัญชนะเป็นแนวเทียบ 2. ภาษาพม่าใช้อักษรพม่าเป็นตัวเขียน แต่ในปัจจุบันการรับคำและชื่อภาษาพม่ามาใช้ในภาษาไทยมักเป็นการรับคำตามที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ฉะนั้น จึงกาหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์จากอักษรโรมัน และได้ให้อักษรพม่าเทียบไว้ด้วย

3. การถอดอักษรพม่าเป็นอักษรโรมันในหลักเกณฑ์นี้ใช้หลักการออกเสียงตามที่ปรากฏในMyanmar-English Dictionary , Department of the Myanmar Language Commission, Ministry of Education, Union of Myanmar แต่การใช้อักษรโรมันแทนเสียงพม่ามีหลายระบบ ในหลักเกณฑ์นี้จึงรวบรวมไว้หลายรูปแบบเท่าที่จะเป็นไปได้4. คำภาษาพม่าที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานแล้ว และเขียนเป็นคำไทยจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น บุเรงนอง และ5. เสียงพยัญชนะและสระภาษาพม่าหลายเสียงไม่มีในภาษาไทย จึงจำเป็นต้องเลือกเสียงพยัญชนะ และสระในภาษาไทยที่มีเสียงใกล้เคียงมาใช้ เช่น ny = ญ (ny ในภาษาพม่าออกเสียงนาสิก) z = ซ (z ในภาษาพม่าออกเสียงก้อง) อนึ่ง aung ออกเสียงกึ่งระหว่าง เอา ที่มี ง สะกด กับ ออง เพื่อความสะดวกในการเขียน ภาษาไทยจึงเลือกใช้ ออง

Advertisement

 

คลิกที่นี่อ่านฉบับเต็ม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image