นักปวศ.แนะหยุดแซะกันปมแย่งโขน ชี้ไทย-เขมรรายละเอียดแตกต่าง แต่มีรากเหง้าร่วมกัน (คลิป)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน  ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง. แสดงความเห็นถึงประเด็นการถกเถียงระหว่างชาวกัมพูชาและชาวไทยในโซเชียลมีเดียกรณีผู้เป็นต้นกำเนิดของการแสดงโขน นอกจากนี้. ยังส่อแววลุกลามโดยมีการทำภาพกราฟฟิกยั่วล้อเชิงเสียดสี

ผศ.ดร. รุ่งโรจน์ กล่าวว่า อยากให้ทั้งชาวไทยและชาวเขมรทำความเข้าใจที่มาของการแสดงโขน ซึ่งแท้จริงเป็น “วัฒนธรรมร่วม” ของอาเซียน ตั้งแต่ยังไม่มีเส้นแบ่งประเทศ หลักฐานท่วงท่าโขน คือ ถีบเหลี่ยม. ปรากฏร่องรอยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ครั้งยังไม่มีชาติไทย ชาติกัมพูชา. โดยเมื่อวัฒนธรรมอินเดียเข้ามา. เรื่องรามเกียรติ์ได้ถูกนำมาใช้เล่นโขน แต่ละกลุ่มมีพัฒนาการจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง. เช่น. ลาว แสดงเรื่อง พระลัก พระลาม. เขมร เรียก ละครโขน. ไทย เรียก โขน นอกจากนี้ชาติอื่นๆในอาเซียนก็มีเช่นกัน ซึ่งตนมองว่าแต่ละประเทศสามารถขึ้นทะเบียนโขนของตัวเองได้. ไม่ต้องแย่งกัน เพราะมีรากเหง้าร่วมกันอยู่แล้ว

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image