‘อิทธิพล’ มอบโล่ ‘หมอทวีศิลป์-คลับฟรายเดย์-เวทีเพลงเพราะ’ ผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์

 ‘อิทธิพล’ มอบโล่ วันภาษาไทยแห่งชาติ  ‘หมอทวีศิลป์-คลับฟรายเดย์-เวทีเพลงเพราะ’ ผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์

 ‘อิทธิพล’ มอบโล่ วันภาษาไทยแห่งชาติ  ‘หมอทวีศิลป์-คลับฟรายเดย์-เวทีเพลงเพราะ’ ผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์ ‘กรุณา บัวคำศรี-เจนภพ จบกระบวนวรรณ’ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น  ‘เทียรี่-ผุสดี-บูม ชญาภา’ รับรางวัลเพชรในเพลง

เมื่อวันที่  24 กรกฎาคม ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ.2563  พร้อมมอบโล่เกียรติยศผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์ดีเด่น มอบเข็มและโล่เชิดชูเกียรติแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย เยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน และมอบรางวัลเพชรในเพลง  โดยนายอิทธิพล กล่าวว่า วันภาษาไทยแห่งชาติปีนี้ วธ. ได้มอบรางวัลเกียรติยศพิเศษให้แก่ผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์ดีเด่น 3 รางวัล ได้แก่ 1.นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รางวัลที่ 2 รายการเวทีเพลงเพราะ (The Golden Song) สถานีโทรทัศน์ช่องวัน (One 31) และ 3 รายการคลับฟรายเดย์ (Club Friday) สถานีวิทยุเอฟเอ็ม  106.5 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ยังมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่ร่วมกิจกรรมถ่ายทำวีดิทัศน์รณรงค์การใช้ภาษาไทย ซึ่งมีสถานทูต 19 ประเทศ ส่งวีดิทัศน์เข้าร่วม ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ นิวซีแลนด์ โปรตุเกส ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา เยอรมนี สเปน โปแลนด์ ซูดาน ศรีลังกา คูเวต จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญคือเสริมสร้างความสัมพันธ์ เกียรติภูมิ และภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อนำความเป็นไทยสู่สากล

นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า  มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดคลิปสั้น “ชีวิตวิถีใหม่ ภาษาไทยในสื่อออนไลน์” เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ในวิถีชีวิตใหม่ จำนวน 10 รางวัล อาทิ รางวัลชนะเลิศประเภทอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้แก่ น.ส.เบญจรัตน์ กวีนันทชัย จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียน ได้แก่ น.ส.ปาริชาติ สีหาบุตร โรงเรียนกระดุมทองวิทยา จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น นอกจากนี้ จัดทำเว็บไซต์กิจกรรมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ www.pasathai.net หรือ www.ภาษาไทย.net ในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้ และข้อมูลข่าวสารผ่านทาง facebook fanpage วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี ๒๕๖๓ และช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ อาทิ youtube twitter เป็นต้น

Advertisement

สำหรับในส่วนของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และกรมศิลปากร (ศก.)มีผู้เข้ารับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ดังนี้ 1.ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 3 รางวัล ได้แก่ รศ.ชำนาญ รอดเหตุภัย ,รศ.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ และรศ.สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา

2.ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 10 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 9 รางวัล ได้แก่ น.ส.กรุณา บัวคำศรี ,นายโกมุท คงเทศ ,นายชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ ,นายภูสิต ธวัชวิเชียร ,นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป ,นางลักษิกา เจริญศรี ,ผศ.สมชาย สำเนียงงาม ,นายสันติภพ เจนกระบวนหัด (เจนภพ จบกระบวนวรรณ) ,ผศ.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร และชาวต่างประเทศ 1 รางวัล ได้แก่ น.ส. จิอิน อง

Advertisement

3.รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 4 รางวัล ได้แก่ นายขวัญชัย สุรินทร์ศรี ,นายทองพูล ทองน้อย ,นางประไพ สุริยะมล และนายมงคล รัตนพันธุ์ 4..ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประเภทบุคคล ได้แก่ นางถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล ,รศ.นวลทิพย์ เพิ่มเกษร และนายยุทธพร นาคสุข และประเภทองค์กร ได้แก่ มูลนิธิดำรงพุฒตาล (อนุรักษ์และพัฒนาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ส่วนรางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน จำนวน 12 รางวัล แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา (อายุไม่เกิน 12 ปี) ได้แก่ ด.ช.ณฐพรต มารศรี โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 กทม. ,ด.ญ.วรินรำไพ ศรีสุนนท์ โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ) กทม. และด.ช.อัฟฟันดี้ หนูโสย โรงเรียนบ้านเขาพระ จ.สงขลา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุไม่เกิน 15 ปี) ได้แก่ ด.ญ.เจตนิพิฐ สืบมา โรงเรียนสตรีวิทยา กทม. ,ด.ญ.ชลธิชา เทียมขุนทด โรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จ.สมุทรสาคร และด.ญ.ปิยธิดา อุ้ยฟูใจ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (อายุไม่เกิน 18 ปี) ได้แก่ น.ส.โชติรส เลือกถือ โรงเรียนอำมาตย์พาณิชนุกูล จ.กระบี่ ,นายสหภูมิ ปลายชัยภูมิ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น ,นายอัศวุธ อุปติ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จ.ปราจีนบุรี ระดับอุดมศึกษาหรือบุคคลทั่วไป (อายุไม่เกิน 25 ปี) ได้แก่ นายธวัชชัย สายอ๋อง มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา นายบัณฑิต รวยสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จ.นครราชสีมา นายอติรุจ  ดือเระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี

นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า สำหรับผู้เข้ารับรางวัลการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) จำนวน 19 รางวัล มีดังนี้ 1.รางวัลเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรตินักจัดรายการวิทยุผู้อนุรักษ์เพลงไทยในอดีต (รายการสุขกันเถอะเรา) ได้แก่ น.ส.ดารณี มณีดิษฐ์ ,รางวัลเชิดชูเกียรติองค์กรสนับสนุนวัฒนธรรมดนตรีไทย ได้แก่ สมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน 2.รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงวัฒนธรรมนำไทย ผู้ประพันธ์ นายชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงยังมีวันพรุ่งนี้ ผู้ประพันธ์ นายรชต โชติมิตรจตุรผล รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่ เพลงสวัสดี ผู้ประพันธ์ นายเทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา (เทียรี่ เมฆวัฒนา)  3.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ เพลงดาราดรุณี ผู้ขับร้อง นายพรพัฒน์ สัมมาวรรณ (พรหมเทพ เทพรัตน์) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ เพลงเพ็ญแข ผู้ขับร้อง น.ส.กุสุมา เอื้อเฟื้อ (ผุสดี เอื้อเฟื้อ) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ เพลงคอยน้องคืนนา ผู้ขับร้อง นายอาคม พูลลาภ (เติ้น อาคม คำพันธุ์) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ เพลงลูกทุ่งท้องถิ่น ผู้ขับร้อง น.ส.ชญาภา พงศ์สุภาชาคริต (บูม ชญาภา) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ เพลงนานแสนนาน ผู้ขับร้อง นายเทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา (เทียรี่ เมฆวัฒนา) และรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตหญิง ได้แก่ เพลงเด็กหลังเขา ผู้ขับร้อง น.ส.ณริสสา ดำเนินผล (ฟ้า ขวัญนคร)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image