คำต่อคำ สุนทรพจน์ ‘ทูตอินเดีย’ เชื่อ คำสอนพระพุทธเจ้าสอดคล้องความท้าทายแห่งยุคสมัยแนะปุถุชนปรับใช้ แก้ปัญหาโลกปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ร่วมกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มูลนิธิวีระภุชงค์ , จังหวัดกระบี่, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่ จัดเสวนาธรรม ‘ธรรมวิชัยสู่ศตวรรษแห่งธรรม’ ดำเนินรายการโดย นางสาวอันนา สุขสุกรี ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980
เวลา 09.10 น. ดร. วินัย วีระภุชงค์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระเถระนุเถระเจริญพระพุทธมนต์
เวลาประมาณ 09.30 น. นายนาเคศ สิงห์ (H.E. Mr. Nagesh Singh) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดี ประจำประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ ‘ธรรมวิชัยสู่ศตวรรษแห่งธรรม’ ความดังนี้
ขอขอบพระคุณสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ที่ได้ให้เกียรติเชิญมาในงานอันทรงคุณค่าครั้งนี้ และให้โอกาสในการแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับหัวข้อ ‘ธรรมวิชัยสู่ศตวรรษแห่งธรรม’
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมอันทรงเกียรติและเต็มไปด้วยความรู้เช่นนี้ ซึ่งผมรู้สึกว่ายังไม่คู่ควร
ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนที่รักของผม ดร. สุภชัย สำหรับความทุ่มเทและความเชื่อมั่นอย่างไม่หวั่นไหวในองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและคำสอนของพระองค์
ผมมีความยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ที่ได้ร่วมงานกับท่านในงาน ‘ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง’ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมที่ผ่านมา
ในงานนี้มีผู้ศรัทธามากกว่า 4 ล้านคนได้มีโอกาสเคารพบูชาพระพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสารีบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ พระสาวกผู้สำคัญสององค์ของพระองค์
ดร.สุภชัย ได้เริ่มภารกิจเป้าหมายต่อไปของท่านในโครงการ “ธรรมวิชัยสู่ศตวรรษแห่งธรรม’ เพื่อทำให้โลกของเราดีขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีสันติภาพ ปราศจากความขัดแย้ง ความยากจน ความหิวโทย โรคภัย และการที่อยู่อาศัย ด้วยความมุ่งมั่น และความสามารถในการทำงานหนักของ ดร.สุภชัย ผมมั่นใจว่าท่านจะไม่หยุดจนกว่าจะประสบความสำเร็จใน ‘ธรรมวิชัยหรือชัยชนะของธรรม’
พุทธศาสนาซึ่งมีต้นกำเนิดในอินเดียได้นำพาคำคำสอนอันเป็นนิรันดร์ของค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับสันติภาพ การไม่ใช้ความรุนแรง ความรักและความเมตตา
คำสอนเหล่านี้ได้รับการยอมรับและเคารพจากผู้คนนับร้อยล้านทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยและอินเดียซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นสายใยแห่งความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งที่สุดระหว่างสองประเทศของเรา
ชีวิตของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของพลังแห่งการบริการ ความเมตตาและที่สำคัญที่สุดคือการสละทุกสิ่ง พระองค์ประสูติในสถานะที่เต็มไปด้วยสิทธิพิเศษ แต่พระองค์เลือกที่จะตระหนักถึงความทุกข์ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยความแก่ชรา หรือความตาย
พระองค์ทราบดีว่าความมั่งคั่งทางวัตถุไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมนุษย์ทำให้พระองค์รู้สึกไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเริ่มการเดินทางเพื่อสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยสันติภาพและความเมตตาผ่านคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์
พระองค์สอนเราถึงความจริงนิรันดร์ที่เรียกร้องให้เราหลุดพ้นจากการปฏิบัติและระบบที่ทารุณ ถดถอย และไม่ยุติธรรมโดยมุ่งไปสู่ความรัก ความเมตตา และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้พระองค์รู้สึกเจ็บปวดไปกว่าความขัดแย้งที่ไร้เหตุผลซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่มนุษย์ การไม่ใช้ความรุนแรงเป็นส่วนสำคัญของโลกทัศน์ของพระองค์
สารและคำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะสอดคล้องกับความท้าทายสำคัญของยุคสมัยเราอย่างชัดเจน วันนี้ ในอีกด้านหนึ่งประเทศและผู้คนกำลังทำสงคราม ในขณะที่อีกด้านหนึ่งโลกกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ภัยคุกคามเช่นการก่อการร้ายและลัทธิพื้นฐานทางศาสนากำลังโจมตีจิตวิญญาณของมนุษยชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังคุกคามการดำรงองอยู่ของมนุษยชาติทั้งหมด ธารน้ำแข็งกำลังละละลายระบบนิเวศถูกทำลาย
ทว่า ท่ามกลางสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ยังมีผู้คนนับล้านที่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าและเชื่อในสวัสดิภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ความหวังและศรัทธานี้เป็นพลังที่ถึงใหญ่ที่สุดของโลกใบนี้ เมื่อความหวังนี้รวมกันเป็นหนึ่ง ธรรมะของพุทธเจ้าจะกลายเป็นความเชื่อของโลก และการตระหนักรู้ของพระพุทธองค์จะกลายเป็นความเชื่อของมนุษยชาติ
เราควรตระหนักว่าการเดินทางจากปัญหาสู่การแก้ไขคือการเดินทางที่แท้จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์มิได้ทรงละทิ้งพระราชวังเพราะความทุกข์ หากแต่ทรงละทิ้งพระราชวังและความหรูหราเพื่อแสวงทาความจริงในขณะที่ผู้อื่นยังคงประสบกับความทุกข์ทรมาน
จากตัวอย่างชีวิตและคำสอนของพระพุทธพระองค์แสดงให้เราเห็นถึงวิธีการชีวิตอย่างมีคุณค่า การช่วยหลือผู้อื่นในในชีวิตประจำวันและการทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
คำสอนของพระพุทธเจ้านำเสนอวิธีการที่เราอาจค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ในโลกปัจจุบัน ด้วยความเมตตาของพระองค์ เราจะพบความสงบสุขและความสามัคคีในขณะที่ความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันจะค่อยๆ ลดลง
เส้นทางของพระพุทธเจ้าคือเส้นทางแห่งอนาคตและความยั่งยืน หากไต้ถือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ เราคงไม่ต้องเผชิญกับวิกฤต เช่นการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่บางประเทศละเลยการใส่ใจต่อผู้อื่น และอนาคตของคนรุ่นถัดไปในศตวรรษที่ผ่านมา
ในประเทศอินเดีย เมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชพิชิตพื้นที่ส่วนใหญ่ของชมพูทวีป ผ่านสงครานที่นำไปสู่การสูญเสียชีวิตหลายพันคน ทรงละทิ้งความรุนแรงและหันมาอุปสมบทในพุทธศาสนา
ตั้งแต่นั้นเป็นตันมา พระองค์มุ่งมั่นในการบรรลุ ‘ธรรมวิชัย’ แทนการทำ ยุทธวิชัย(การพิชิตโลก) พระองค์ได้เปลี่ยนเสียงกลองสงคราม (เภรีโฆษะ) เป็นเสียงแห่ง(ธรรมโฆษะ) เส้นทางแห่งธรรมวิชัยที่พระเจ้าอโศกทรงปฏิบัติ ในฐานะอุบาสกและผู้ติดตามพระศากยมุนียังคงมีความพมายสำคัญในปัจจุบันและชี้ให้เราเห็นถึงทิศทางการปฏิบัติของเราเอง
จนกระทั่งสิ้นสุดรัชกาลอันยาวนานของพระองค์ในปี 232 ก่อนศริสตกาล พระเจ้าอโศกยังคงอุทิศตนในการเผยแพร่และอธิบายธรรมะอย่างไม่ลดละ คำจารึกบนหินและเสาหลักที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นกลายเป็นแหล่งข้อมูลอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับแนวคิดของพระองค์ว่าธรรมวิชัยมีความหมายอย่างไรสำหรับพระองค์
ตามที่พระเจ้าอโศกทรงกล่าวไว้ ธรรมะคือการกระทำที่ดีและงดงาม ซึ่งควรปฏิบัติด้วยใจที่บริสุทธิ์ ธรรมะยังหมายถึงการทำหน้าที่อย่างสมควร การทำความดีเกี่ยวข้องกับแนวคิดของกรรม กรรมที่ดีนำมาซึ่งผลบุญ และความเจริญอาจนำไปสู่สวรรค์
คุณธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ รวมถึงการควบคุมตนเอง ความบริสุทธิ์ในความคิด ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญู ความจงรักภักดีและความบริสุทธิ์ การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดควรเต็มไปด้วยความเมตตา ความอ่อนโยนและการหลีกเลี่ยงการทำร้ายหรือการฆ่า
อหิงสา (การไม่ใช้ความรุนแรง) เป็นแนวคิดสำคัญในธรรมะของพระเจ้าอโศก และมักได้รับการเน้นย้ำและกล่าวถึงอยู่เสมอ
ธรรมะยังได้ถูกอธิบายว่าเป็นการแสดงความเคารพที่เหมาะสมต่อส่วนที่อ่อนแอของสังคม อาทิ การเชื่อฟังบิดามารดา การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อน คนรู้จัก และญาติรวมถึงพระสงฆ์และการงดเว้นจากการฆ่าสิ่งมีชีวิต
อีกด้านหนึ่งที่สำคัญของธรรรมะคือการปลูกฝังความเคารพและความสามัคคีระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาหรือนิกายทางศาสนาต่างๆซึ่งมักเรียกว่า ‘การยอมรับทางศาสนา’
ศิลาจารึกที่ 12 ทำให้ชัดเจนว่าเราควรเคารพและพยายามเข้าใจธรรมะของผู้อื่นรวมถึงส่งเสริมสาระสำคัญ (สาระวาที) ของทุกศาสนา ผ่านการสนทนาและความสอดคล้องทางศาสนา เป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ ของพระเจ้าอโศกสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของกษัตริย์ในอุดมคติตามประเพณีพุทธศาสนา – จักรวัตติธรรมิโก ธรรมราชา (ผู้ปกครองโลกด้วยธรรม) พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงปกครองสี่ทิศด้วยความชอบธรรม ไม่ใช่ด้วยความรุนแรงหรือการบังคับ ธรรมะคือการละทิ้งความรุนแรงและความขัดแย้ง เราสามารถขยายความคิดเหล่านี้ไปสู่ปุถุชนธรรมดาอย่างเราเพื่อปฏิบัติตามหลักการที่ชอบธรรมเหล่านี้ในแก้ไขปัญหาสมัยใหม่
องค์พระคาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแรงบันตาลใจและได้แผ่ข้อความแห่งความเมตตาและสันติสุขเสมอมา ในยุคปัจจุบันที่ความเสมอภาค ความยุติธรรม เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนเป็นค่านิยมหลักของลังคมมนุษย์ พระพุทธองค์ได้ทรงบอกหลักการเหล่านี้อย่างชัดเจนเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว
เราเพียงแค่ต้องปฏิบัติตามข้อความศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้แน่ใจว่าธรรมะจะมีชัยเหนืออธรรมอย่างแท้จริง
ในหลากหลายโอกาส รวมถึงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุดที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในเดือนกันยายน 2566 นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า วันนี้ทั่วโลกต่างพูดถึงศตวรรษที่ 21 ว่าเป็นศตวรรษของเอเชีย ทุกคนเชื่อว่าศตวรรษนี้จะเป็นของเอเชีย อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อมั่นว่า หากเราไม่ยอมรับเส้นทางและคำสอนที่พระพุทธเจ้าโคตมะทรงแสดงไว้ ศตวรรษนี้จะไม่สามารถเป็นศตวรรรษของเอเชียได้อย่างแท้จริง
ผมเห็นองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมุ่งกระทำเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตวิญญาณของเราร่วมกันเหมือนกับที่การค้าโลกมุ่งเน้นความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจของเราและอินเตอร์เน็ตดิจิทัลมุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางปัญญาของเราทุกคน
ผมเห็นองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในศตวรรษที่ 21 ทรงข้ามพรมแดนของประเทศระบบศรัทธาและอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อทรงทำหน้าที่เป็นสะพานในการส่งเสริมความเข้าใจให้คำแนะนำในการมีความอดทน พระองค์ท่านทรงสั่งสอนพวกเราด้วยความอดทนและความเห็นอกเห็นใจ
นี่คือข้อแถลงที่ชัดเจนที่สุด เกี่ยวกับสิ่งที่อินเดียเชื่อว่าคือวิธีแก้ปัญหาความท้าทายของมนุษย์ในศตวรรษนี้
ขอขอบคุณอีกครั้งที่เชิญผม และให้โอกาสผมได้พูดกับทุกท่าน ในประเด็นสำคัญนี้สำหรับมนุษยชาติ ผมมั่นใจว่างานประชุมนี้จะมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายอันสูงส่งนี้