อย่างนี้นี่เอง! กรมศิลป์เผยภาพสันนิษฐาน ‘ถลุงเหล็ก’ โบราณล้านนา 1,400 ปีก่อน

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เผยภาพสันนิษฐานกระบวนการถลุงเหล็กในอดีตโดยใช้หลักฐานจากแหล่งถลุงเหล็กโบราณบ้านป่าป๋วย บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกอบกับข้อมูลด้านมานุษยวิทยา เพื่อสร้างคืนภาพในอดีตเกี่ยวกับการถลุงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตเหล็ก

นอกจากนี้ ยังเปิดเผยข้อมูลของการถลุงเหล็กในสมัยโบราณว่ามีขั้นตอนสำคัญๆดังนี้

1) การเตรียมแร่เหล็ก โดยการนำก้อนแร่มาย่อยให้ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการถลุง

Advertisement

2) การปั้นเตาถลุง ในกรณีของแหล่งถลุงเหล็กโบราณบ้านป่าป๋วย พบว่ามีการนำดินเหนียวมาปั้นขึ้นรูปเป็นเตาถลุง และมีการเผาไฟเพื่อให้ตัวเตาพร้อมสำหรับการถลุง

3) การถลุง เป็นการให้ความร้อนกับแร่เหล็กที่เตรียมไว้ โดยใช้ความร้อนจากกระบวนการเผาไหม้ของถ่าน โดยมีสัดส่วนระหว่างแร่และถ่านประมาณ 1 : 3 ทั้งนี้ในกระบวนการให้ความร้อนมีการเติมอากาศเข้าไปในเตาถลุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อเร่งอุณภูมิภายในเตาให้สูงขึ้นถึงประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้โลหะเหล็กแยกตัวออกจากซิลิกา และมาจับต้วเป็นก้อนโลหะเหล็กอยู่บริเวณก้นเตา ในกระบวนการถลุงนี้มีขยะที่เกิดขึ้นคือตะกรันในปริมาณมหาศาล ซึ่งช่างผู้ถลุงได้ทำหลุมดักไว้ภายในเตา และพยายามเจาะระบายออกมานอกเตา

4) การนำก้อนโลหะเหล็กออกจากเตาถลุง และเตรียมนำไปขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเหล็กในลำดับต่อไป

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image