วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 กับเงื่อนไขต้องจ้างสถาปนิกฝรั่งเศสทำงานในไทย

การตกแต่งภายในวังใหม่

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ห้องโถงมติชนอคาเดมี สโมสรศิลปวัฒนธรรมจัดงานเสวนา-ชมภาพเก่า “สถาปัตยกรรมฝรั่ง วังเจ้านายไทย” โดย ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง กล่าวว่า ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ก่อนช่างฝรั่งจะเข้ามาการสร้างบ้านเมือง สร้างวังจำนวนมาก กระบวนการสร้างสืบทอดแบบแผนมาจากสมัยอยุธยา เป็นแบบจารีตมีข้อกำกับตามฐานานุศักดิ์ การก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สลับซับซ้อนในระดับหนึ่ง นอกจากเจ้านายที่สนพระทัยในวิชาช่าง ยังมีกลุ่มช่างหลวงหลักๆ 3 ตระกูล หงสกุล เกตุทัต และ ยมาภัย สืบทอดความรู้ซึ่งเป็นวิชาช่างชั้นสูงต่อๆ กันมา งานไม้ การสร้างพระราชฐาน งานพระเมรุ ฯลฯ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะสืบต่อกันมาในตระกูล


งานสถาปัตยกรรมการก่อสร้างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ตัวเมือง มีการตัดถนนใหม่ สร้างตึกแถวใหม่ควบคู่กันไป รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจและเป็นความทันสมัยที่เข้ามาในยุคนี้คือ “บังกะโล” เรือนที่มีลักษณะเป็นกล่องใต้ถุนสูง โดยมากจะเป็นไม้ มีหลังคาใหญ่ๆ คลุมอยู่ ตัวเรือนด้านบนมีเฉลียงรอบๆ เพื่อกันแดดกันฝน มีบันไดนอกอาคาร ตัวอย่างเช่น “เก๋งพระปิ่น” พระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแม้ตัวอาคารมีลักษณะเป็นกล่อง หน้าจั่วมีความลาดคล้ายสถาปัตยกรรมกรีก ตรงกลางประดับรูปพระจุฑามณี แต่วัสดุก่อสร้างยังเป็นของไทย รวมทั้งการสร้างบันไดที่ด้านนอกอาคาร มาจากคติความเชื่อเรื่องการถือหัว

แม้ว่าการออกแบบสร้างอาคารพระราชวังจะเป็นฝรั่งมากๆ ผศ.ดร. พีรศรี บอกว่าก็มีความเป็นไทยมากๆ เช่นกัน โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกตัวอย่างเช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม จะเห็นว่ามีเสากลมแบบฝรั่ง แต่ตัวเสาสอบนิดๆแบบสถาปัตยกรรมไทย ตัวพระที่นั่งก็มีการผสมผสานกันระหว่างไทยและฝรั่ง ทั้งการตกแต่งภายในอาคารที่มีทั้งเครื่องแขวนและแชนเดอร์เลีย มีการปูพรม แต่ก็มีเบาะเล็กๆ สำหรับให้ข้าราชการหมอบเฝ้า

Advertisement
“บังกะโล” สถาปัตยกรรมใหม่สมัย ร.4
วังวินเซอร์ หรือ “วังใหม่” วังของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิต อยู่บริเวณสนามศุภชลาศัย ปัจจุบันรื้อไปแล้ว ฝีมือกราซี

ผศ.ดร. พีรศรี บอกอีกว่า ช่างฝรั่งที่เข้ามารับราชการในกรมโยธาธิการยุคแรกนี้ นอกจากนายจอห์น คลูนิส ที่ทรงจ้างมาจากเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์ เช่นออกแบบก่อสร้างหอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) ก่อนหน้านี้มีนายโยคิม กราซี ชาวอิตาเลียนที่เป็นทั้งวิศวกร สถาปนิกและเป็นผู้รับเหมา เป็นผู้ที่มีบทบาทในการก่อสร้างอาคารพระราชวังและสิ่งก่อสร้างจำนวนมากในสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวอย่างเช่น พระราชวังบางปะอิน โดยเฉพาะพระที่นั่งวโรภาษพิมาน เป็นทั้งท้องพระโรงและห้องบรรทม ภายในพระราชวังบางปะอิน ฯลฯ

รวมทั้งออกแบบท้องพระโรง คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ผลงานชิ้นเอกของตามาญโญ เนื่องจากเป็นงานสำคัญจึงมีการนำผู้ช่วยเข้ามาจากอิตาลี และหลังจากนั้นทำให้เกิดการนำช่างอิตาเลียนมากมายทั้งวิศวกร สถาปนิก จิตรกร ประติมากร ฯลฯ เข้ามาในเมืองไทย

การที่มีวิชาชีพด้านสถาปนิกชาวอิตาเลียนเข้ามาทำงานรับราชการในเมืองไทยเป็นจำนวนมากนี่เอง จึงเป็นที่มาของเงื่อนไขหนึ่งที่ฝรั่งเศสยื่นให้กับไทยต้องปฏิบัติตามในกรณีของวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 คือต้องจ้างช่างฝรั่งเศสเข้ามาทำงานด้วย
////////////////////

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image