สุจิตต์ วงษ์เทศ: บุรีรัมย์มี ‘ปราสาทหิน’ ขอบปล่องภูเขาไฟ แต่ถูกระเบิดยุคสงครามเย็น

บุรีรัมย์เป็นแหล่งภูเขาไฟ อายุเฉลี่ยราว 2 ล้านปีมาแล้ว
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มกราคม เล่าเรื่องภูเขาไฟ 2 ลูก คือ ภูเขาไฟกระโดงกับภูเขาไฟพนมรุ้ง วันนี้เล่าเรื่องภูเขาไฟอังคาร, ภูเขาไฟไปรบัด, ภูเขาไฟหลุบ
ภูเขาไฟอังคาร อยู่ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 74 กิโลเมตรยอดเขาสูงประมาณ 331 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ภูเขาไฟอังคาร
ภูเขาไฟอังคาร

ภูเขาไฟไปรบัด อยู่ห่างจากภูเขาไฟพนมรุ้ง ลงไปทางใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอประโคนชัยและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ยอดเขาสูงสุดประมาณ 289 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีปากปล่องช่องปะทุกว้างประมาณ 200 เมตร และมีสัณฐานเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก
บนขอบปล่องช่องปะทุ มีซากปราสาทหินตั้งอยู่ด้วย แต่ถูกระเบิดทำลายจนพังพินาศหมดแล้ว (ช่วงสงครามเย็น) โบราณศิลปวัตถุที่พบถูกลักลอบไปจัดแสดงในยุโรป
ภูเขาไฟหลุบ อยู่ห่างจากภูเขาไฟอังคาร ลงไปทางใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร
ยอดเนินภูเขาไฟสูงประมาณ 235 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อาจมีอายุมากกว่าภูเขาไฟลูกอื่นๆ ใน จ. บุรีรัมย์
มีผู้บอกต่อๆ มาว่า ภูเขาไฟเหล่านี้มีทางขึ้นท่องเที่ยวได้สะดวก แต่จริงหรือไม่จริง ต้องสอบถามกันเอง

 

ภูเขาไฟหลุบ
ภูเขาไฟหลุบ

 

Advertisement
ปากปล่องภูเขาไฟคอก
ปากปล่องภูเขาไฟคอก

 

ภาพประกอบทั้งหมดจากหนังสือ ประวัติศาสตร์เมืองบุรีรัมย์ ของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ (ไม่ลงปีที่พิมพ์]

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image