ชมภาพเก่า ‘ย่านคลองสาน-เจริญนคร’ อดีตโรงสีก่อนเป็นอภิมหาโครงการ ‘ไอคอนสยาม’

ภาพเก่าไอคอนสยาม – ถือเป็นช่วงเวลา ที่คนทั้งประเทศต่างจับตามอง สำหรับงานเปิดตัว อภิมหาโครงการ “ไอคอมสยาม” ที่รวมไว้ทั้งศูนย์การค้า คอนโดมิเนียมหรู และ โรงแรมชั้นนำ กับการลงทุนมากที่สุดของภาคเอกชนอย่างเป็นประวัติการณ์ ที่ 53000 ล้านบาท

ซึ่งไม่เพียงแต่คนดังทั่วทั้งไทย และโลก ที่ตบเท้าเข้ามาร่วมงานครั้งนี้ แต่ยังเต็มไปด้วยการแสดงสุดอลังการ อย่างการแปรอักษร-ภาพ ด้วยโดรน 1500 ตัว จากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมแสง สี เสียง สุดอลังการ ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท

พร้อมเปิดให้ประชาชนเข้าชมในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้

ข่าวภาพชุด ‘ไอคอนสยาม’ ยามค่ำคืน แม่น้ำเจ้าพระยาสว่างไสว

Advertisement

จากใจ ‘ชฎาทิพ จูตระกูล’ พร้อมเปิดประตู ‘เมืองไอคอนสยาม’ จุดประกาย ‘แม่น้ำเจ้าพระยา’ สว่างไสว

มติชนออนไลน์ จึงพาย้อมชม วิถีชีวิตของคนคลองสาน ที่อยู่บนถนนเจริญนคร

ซึ่ง “ถนนเจริญนคร” นี้ ถือเป็นถนนสำคัญเส้นหนึ่งย่านฝั่งกรุงธนบุรี โดยตัดขึ้นราวปี พ.ศ.2482-2483 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างถนนต่อจากถนนสมเด็จเจ้าพระยา กิ่งอำเภอคลองสานขึ้นอำเภอธนบุรี ไปถึงตำบลปากคลองดาวคะนองฝั่งใต้ อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี พุทธศักราช 2482 ถนนเจริญนครเป็นถนนสายแรกที่สร้างเป็นถนนขนาดกว้างถึง 30 เมตร

Advertisement

เมื่อสร้างถนนเสร็จ เทศบาลนครธนบุรีได้ขอให้กระทรวงมหาดไทยตั้งชื่อถนนให้ ในชั้นแรกกระทรวงมหาดไทยจะตั้งชื่อถนนว่า “ถนนมไหสวรรย์” ตามราชทินนามของพระยามไหสวรรย์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรี แต่พระยามไหสวรรย์ขอให้ใช้ชื่อถนนเจริญนครเพื่อล้อกับชื่อ “ถนนเจริญกรุง” ที่อยู่ในแนวขนานเดียวกันของฝั่งพระนครนั่นเอง

โดยในอดีตบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ไอคอน สยาม และ โรมแรมมิลเลเนียม ฮิลตันแต่เดิม เคยเป็นที่ตั้งของโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ชื่อ “โรงสี 19” รวมถึงอาคารพานิชย์จำนวนไม่น้อย อย่าง บริษัทศรีกรุง และท่าเรือด่วน ที่ปัจจุบันยังคงมีเรือข้ามฝากบริการอยู่ทุกวัน

ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยาขณะเรือด่วนเข้าเทียบท่าสี่พระยาราวปี พ.ศ.2530 มองไปฝั่งตรงข้ามเห็นไซโลของบริษัทศรีกรุงและโรงสี 19 ย่านคลองสานตั้งเรียงราย (ปัจุบันคือโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันและสถานที่ก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม) เครดิตภาพ Irving Snider,Canada และแฟนเพจ รักษ์คลองสาน
บรรยากาศในอดีต ภายในสถานีรถไฟปากคลองสาน สถานีรถไฟสัมปทานเอกชนสายแรกๆ สายหนึ่งของประเทศไทยซึ่งดำเนินสัมปทานโดยบริษัท ท่าจีนเรวเวลกัมปนีลิมิเต็ดทุนจำกัด เปิดเดินรถวันแรกตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2447 จากสถานีปากคลองสานถึงสถานีมหาชัย ปัจจุบันสถานีคลองสานถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่1มกราคม2504คงเหลือช่วงทางตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่-สถานีมหาชัยในปัจจุบัน ขอขอบคุณ ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพจรักษ์คลองสาน
ภาพถ่ายถนนเจริญนครกว่า 50 ปีก่อน ถ่ายจากบริเวณที่ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างศูนย์การคัาไอคอนสยาม แนวต้นไม้คือสถานที่ซึ่งภายหลังก่อสร้างอาคารพานิชย์ริมถนนช่วงเจริญนครซอย 2 ถึงซอย 4 ในปัจจุบัน เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณชัยวัฒน์แห่งร้านเอี๊ยบฮั่วไถ่ตลาดศิรินทร์ในอดีต และเพจรักษ์คลองสาน
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากหนังสือสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน และเพจรักษ์คลองสาน
โรงสีสิบเก้า โรงสีข้าว 19 ถ่ายเมื่อปี ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) โดย Paul (Found Slides), United States และเพจ 77PPP
โรงสีสิบเก้า ธนบุรี พ.ศ.2495 ภาพจากเพจ 77PPP
อีกมุมหนึ่งของภาพอดีตย่านคลองสาน
ภาพถ่ายโบราณแลเห็นบรรยากาศการสัญจรทางน้ำในคลองสมเด็จเจ้าพระยาหน้าวัดน้อยขำแถม(วัดอนงคาราม)
ภาพนี้สันนิษฐานว่าถ่ายจากบริเวณแยกที่คลองสมเด็จเจ้าพระยาตัดกับคลองสานบริเวณหน้าวัดพระยาญาติ(วัดพิชัยญาติ)ในปัจจุบัน ภาพจากเพจ รักษ์คลองสาน
บรรยากาศภายในร้านเอี๊ยบฮั่วไถ่ซึ่งขายของจิปาถะอยู่ในตลาดศิรินทร์ในยุคกว่า40ปีที่แล้ว (ตลาดศิรินทร์อยู่บริเวณเดียวกับโรงสี 19 ในอดีต ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่กำลังก่อสร้างโครงการไอคอนสยาม ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากคุณชัยวัฒน์แห่งร้านเอี๊ยบฮั่วไถ่ในอดีต และเพจรักษ์คลองสาน
ภาพในอดีตของอาคารที่ว่าการอำเภอคลองสาน(ปัจจุบันคือ สำนักงานเขตคลองสาน) ซึ่งได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองสานในปีพ.ศ.2500 และย้ายที่ว่าการอำเภอจากที่ตั้งเดิมหน้าวัดทองนพคุณ มาสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นไม้สองชั้นที่ถนนลาดหญ้า ในปีพ.ศ.2503 ซึ่งในขณะนั้น นายกำแหง ทองโกมล ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคลองสาน ภาพจากเพจ รักษ์คลองสาน

 

ขอบคุณภาพจากเพจ รักษ์คลองสาน และ 77PPP

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image