ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

“ตายแล้วเกิด” หรือ “ตายแล้วสูญ” เป็นข้อเคลือบแคลงสงสัยตลอดกาลของมนุษย์ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล สืบจนปัจจุบัน และยังจะมีต่อไปในอนาคต

“ไม่เกิด ไม่ตาย”
ติช นัท ฮันห์ สนทนาอธิบาย แล้วเพิ่มเติมว่า

“ธรรมชาติในตัวเรา เป็นธรรมชาติแห่งการไม่เกิด ไม่ตาย เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับพระมารดาแห่งผืนโลก”

“การตายก็คือการกลับไปสู่ผืนโลกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะให้พระมารดาแห่งผืนโลกโอบรับ และส่งกลับมาปรากฏขึ้นใหม่ในลักษณะที่สดใสมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับคลื่นในมหาสมุทร”

ตายแล้วเกิด หรือ ตายแล้วสูญ ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร? คนส่วนมากฟัง แต่ไม่ได้ยิน จึงมีคำถามตามมาไม่หยุดหย่อนว่าตายแล้วไปไหน? ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จนหลังพุทธกาล

Advertisement

ชีวิตหลังความตายเป็นเรื่องสำคัญมาก และยิ่งใหญ่มากของมนุษย์ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว จึงมีพิธีกรรมหลังความตายซับซ้อน ดังนักโบราณคดีขุดพบหลักฐานจำนวนมากทั่วโลก แต่ยังถอดรหัสได้ไม่ครบถ้วน

เฉพาะในไทยเชื่อว่าคนมีขวัญ และขวัญไม่ตาย แม้ร่างกายเน่าเปื่อย

แล้วเชื่อว่าสักวันหนึ่งขวัญจะกลับมาสู่ร่างดังเดิม จึงมีประโคมเครื่องดนตรีปี่พาทย์เกิดเสียง ดังๆ ส่งสัญญาณให้ขวัญกลับ จนเป็นประเพณีปี่พาทย์โขนละครเล่นงานศพตราบจนทุกวันนี้

Advertisement

หลังจากรับศาสนาจากอินเดียก็มีคำสอนทางศาสนาเกี่ยวกับกรรมและเวียนว่ายตายเกิด แต่แล้วข้อสงสัยตลอดกาลของคน ยังหาคำอธิบายจุใจไม่ได้ว่า ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ แต่ ติช นัท ฮันห์ บอกว่าไม่เกิดไม่ตาย

สุทธิชัย หยุ่น (คนบ้าข่าวแห่งเนชั่น) สนทนากับ ติช นัท ฮันห์ เกี่ยวกับชีวิตหลังความตายในหนังสือ ไม่มีเกิด ไม่มีตาย (สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2558) แล้วมีเมตตากรุณาส่งมาให้อ่านเตรียมตัวตาย

ผมอ่านแล้ว แต่เข้าใจไม่มาก เพราะเวลาเหลือน้อย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image