เรือน 3 หลังแฝดของ ร.1 ที่วัดระฆัง กรุงเทพฯ

หอไตรวัดระฆัง เป็นเรือน 3 หลังแฝด พระตำหนักเดิมของ ร. 1

ร.1 เคยประทับบนเรือนใต้ถุนสูง 3 หลังแฝด ปัจจุบันคือหอไตรวัดระฆัง (ปฏิสังขรณ์โดย อ.เฟื้อ หริพิทักษ์)

แต่ฝูงคนดีทั้งหลายไม่ให้ความสำคัญ จึงไม่มีเรื่องนี้ในประวัติศาสตร์แห่งชาติ และไม่มีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

หอไตรวัดระฆัง เดิมเป็นเรือนใต้ถุนสูง 3 หลังแฝด นิวาสสถานของ ร.1 เมื่อรับราชการกับพระเจ้าตาก ตั้งอยู่ทางใต้วัดระฆัง ฝั่งเหนือคลองมอญ (ใกล้พระราชวังเดิมของพระเจ้าตาก) ยังมีหลักฐานเป็นซากและโบสถ์วัดวงศมูล ทุกวันนี้เป็นพื้นที่กรมอู่ทหารเรือ

หลังปราบดาภิเษก ถวายเรือนแฝด 3 หลังเป็นกุฏิสงฆ์ ต่อมาปฏิสังขรณ์เป็นหอไตร โดยภายในมีภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ฝีมืออาจารย์นาค (ช่างหลวงยุคต้นกรุงเทพฯ)

Advertisement

วัดระฆัง เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่ยุคอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ (แสดงว่าบริเวณนั้นชื่อเดิมว่าบางหว้า โดยมีต้นหว้าเป็นสำคัญ)

ย่านวัดระฆัง เป็นชุมชนดั้งเดิมสืบมาแต่ครั้งกรุงเก่า มีตระกูลเก่าแก่อยู่มาก รวมทั้งมีบุคคลสำคัญประเภทที่ทุกวันนี้เรียก กวี, ศิลปิน, นักแสดง ฯลฯ เช่น คนเสภาสำคัญชื่อ ครูแจ้ง วัดระฆัง แต่งขุนช้างขุนแผน ตอนผ่าท้องนางบัวคลี่ ฯลฯ

เอกสารเก่าเรียกย่านวัดระฆังว่า “ถนนอาจารย์” ทำไมเรียกอย่างนี้? ผมยังหาคำอธิบายไม่ได้ รอท่านผู้รู้บอก

Advertisement

ทอดน่องท่องเที่ยว

ควรทำนิทรรศการชั่วคราวไว้หน้าวัด บอกประวัติความเป็นมาของวัด และเรือนใต้ถุนสูง 3 หลังแฝด ของ ร.1 ปัจจุบันเป็นหอไตร

แล้วมีแผนที่ชี้ทางทอดน่องท่องเที่ยว ทั้งวัดและชุมชนรอบๆ ซึ่งมีเรื่องเล่าเก่าแก่อีกมาก

ต่อไปข้างหน้าจึงหาพื้นที่เหมาะสมจัดเป็นมิวเซียมอย่างถาวร จะเป็นแหล่งเรียนรู้มีคุณค่า และเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีมูลค่า

พื้นที่บริเวณวัดระฆังโฆสิตาราม มีประชาชนมาตั้งแผงค้าในเส้นทางเข้าวัด และพื้นที่โดยรอบวัดจำนวนมาก ซึ่งแผงค้าส่วนใหญ่ตั้งวางกีดขวางทางสัญจร อีกทั้งผู้ค้ายังทำการค้าแบบไม่เหมาะสม มีการขู่กรรโชกทรัพย์ผู้ที่เดินทางมาทำบุญอีกด้วย

ทางวัดระฆังโฆสิตารามจึงได้ขอความร่วมมือ กทม. เข้าดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่ โดยจะห้ามผู้ค้า 1,200 ราย ที่อยู่ในพื้นที่บริเวณวัด และเส้นทางเข้าออกวัด ตั้งแผงค้าสินค้าอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดให้ผู้ค้าขายสินค้าได้ถึงวันที่ 15 มกราคม 2559 จากนั้น กทม. จะเข้าทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์พื้นที่ (มติชน ฉบับวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2558 หน้า 5)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image