“รัง เรือน ร้าน โรง” เชื่อมโยงกับภาษาอินโดนีเซีย ?

ลักษณะเด่นเฉพาะของเรือนหรือเฮือนของชาวอุษาคเนย์นั้นต้อง “ยกพื้นเสาสูงมีใต้ถุนเปิดโล่งด้านล่าง” ไม่ว่าจะสร้างบนที่ลุ่มปลายนาหรือที่สูงเชิงเขา ด้วยเหตุผลของการป้องกันอันตรายยามหลับนอนมากกว่ากลัวน้ำท่วม

ให้ช่างบังเอิญว่า ในภาษาอินโดนีเซียที่นักภาษาศาสตร์เขาจัดเป็นชั้นลูกหลานของตระกูลออสโตรนีเซียน มีคำเรียกที่อยู่อาศัยอยู่คำหนึ่งว่า “sarang อ่านว่า ซา-รัง” แปลว่าที่อยู่อาศัยของนก หรือรังนก เป็นคำที่เกิดจากสองคำดั้งเดิมคือ “sa” + “rang” โดยคำแรกแปลว่าตัวข้า ส่วนคำหลังอยู่ในกลุ่มเดียวกับคำว่า “rung” ซึ่งมีความหมายคล้ายกันในทำนองว่าถุงก็ได้ ที่ก็ได้ เอาไว้สำหรับใส่หรือห่อหุ้มอะไรบางอย่าง มีคำเต็มว่า “sarung อ่านว่า ซา-รุง” แปลว่าผ้าโสร่งไว้สวมห่อตัวของชาวแขก รวมไปถึงถุงใส่สิ่งของ ถุงมือ และปลอกสวมกริชของชาวทะเลใต้

ดังนั้นคำว่า “sarang” และ “sarung” (คำเดียวกับคำไทยดั้งเดิมหดสั้นว่า “รัง”) ถ้าแปลแบบตรงตัวเค้าเดิมก็หมายถึง… “รังของตัวข้า” ซึ่งอาจเป็นคำพื้นเมืองชนิดเก่าแก่มากๆ จนอยากเสนอไว้ตรงนี้ว่า บางทีอาจเลยเถิดขึ้นไปถึงเป็นคำต้นรากของการเรียกขานชื่อเรือนในยุคเริ่มต้น เป็นคำต้นทางที่ภายหลังถ่ายทอดพัฒนาเป็นชั้นเรื่อยลงมาจนถึงคำว่า “รัง” “ruang อ่านว่า รุ-อัง” “รวง” “เรือน” “เฮือน” “ร้าน” และ “โรง” ในที่สุด

 

Advertisement

เสาสูงตอน3

 

สุพัฒน์

Advertisement

สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช เกิดที่จันทบุรี เมื่อ พ.ศ 2512 จบการศึกษาจากภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปสำรวจเหมืองถ่านหินในป่าฝนดิบชื้นแห่งหมู่เกาะทะเลใต้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาหลายปี มีความสนใจพิเศษในด้านภาษาศาสตร์ จึงค้นคว้ารวบรวมข้อมูล พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ผ่านบทความในชุด ‘สืบสานจากภาษา เชื่อมมหาสมุทร ขุดรากเหง้า คนไทยอยู่ที่นี่’ เผยแพร่ครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image