คนไทย ลูกผสม หลายชาติพันธุ์ ทั้งคนพื้นเมืองดั้งเดิม และคนที่อื่น

โครงกระดูกมนุษย์สมัยหิน อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ฝังพร้อมกับเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องประดับ, ภาชนะดินเผา ฯลฯ แล้วทำสืบเนื่องต่อมาในกลุ่มชนสมัยหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน นับเป็นบรรพชนคนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์และคนไทยทุกวันนี้ (ภาพบน) โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 โครงแรก ขุดพบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 ที่แหล่งนายบาง บ้านเก่า ต. จรเข้เผือก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี

ประวัติศาสตร์ชาติไทย ของ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีคำอธิบายล่าสุดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน? กว้างกว่าเดิม

โดยสรุปว่าคนไทยเป็นลูกผสมจากคนหลายชาติพันธุ์ ทั้งที่อยู่ดั้งเดิมบนสุวรรณภูมิในอาคเนย์ และที่มาจากภายนอก ต่อเนื่องยาวนานนับพันๆ ปีมาแล้ว

จะยกข้อความสำคัญมา ดังนี้

 

Advertisement

คนไทย ลูกผสม

ผู้คนที่ได้ชื่อว่า “คนไทย” ในปัจจุบันจึงเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติผสมผสานกันมายาวนาน บ้างก็มีเชื้อชาติมอญ ลาว เขมร อินเดีย เปอร์เซีย จีน—–

การผสมผสานระหว่างกลุ่มคนต่างๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดเท่านั้น แต่เกิดขึ้นตลอดเวลา เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสืบเนื่องมาในสมัยประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน (หน้า 36)

ส่วน “คนไทย” ที่อยู่อาศัยในประเทศไทยปัจจุบัน เป็นกลุ่มชนที่เกิดจากการผสมผสานของชนชาติไท-ไต กับบรรดาชนเผ่าอื่นๆ หรือชนชาติอื่นที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมอยู่แล้ว และพวกที่เคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่ (หน้า 37)

Advertisement
วัฒนธรรมฆ้องในไทยและอุษาคเนย์ มีต้นแบจากกลองทอง (มโหระทึก) เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว 4. ช่างฟ้อนขับลำนำร่วมกับหมอแคนในพิธีเลี้ยงผีบรรพชน ราว 2,500 ปีมาแล้ว ยังสืบประเพณีแอ่วลาวเป่าแคนมาจนทุกวันนี้ในชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ลายสลักบนขวานสัมฤทธิ์ พบในเวียดนาม)
วัฒนธรรมฆ้องในไทยและอุษาคเนย์ มีต้นแบจากกลองทอง (มโหระทึก) เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว 4. ช่างฟ้อนขับลำนำร่วมกับหมอแคนในพิธีเลี้ยงผีบรรพชน ราว 2,500 ปีมาแล้ว ยังสืบประเพณีแอ่วลาวเป่าแคนมาจนทุกวันนี้ในชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ลายสลักบนขวานสัมฤทธิ์ พบในเวียดนาม)

 

กลองทอง (มโหระทึก) ต้นแบบวัฒนธรรมฆ้องที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งอาเซียน (ไม่พบในส่วนอื่นของโลก) ภาพนี้คือมโหระทึก อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว พบที่ อ. เมือง จ. อุตรดิตถ์
กลองทอง (มโหระทึก) ต้นแบบวัฒนธรรมฆ้องที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งอาเซียน (ไม่พบในส่วนอื่นของโลก)
ภาพนี้คือมโหระทึก อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว พบที่ อ. เมือง จ. อุตรดิตถ์

 

ช่างฟ้อนขับลำนำร่วมกับหมอแคนในพิธีเลี้ยงผีบรรพชน ราว 2,500 ปีมาแล้ว ยังสืบประเพณีแอ่วลาวเป่าแคนมาจนทุกวันนี้ในชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ลายสลักบนขวานสัมฤทธิ์ พบในเวียดนาม)
ช่างฟ้อนขับลำนำร่วมกับหมอแคนในพิธีเลี้ยงผีบรรพชน ราว 2,500 ปีมาแล้ว ยังสืบประเพณีแอ่วลาวเป่าแคนมาจนทุกวันนี้ในชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ลายสลักบนขวานสัมฤทธิ์ พบในเวียดนาม)

 

วัฒนธรรมฆ้องในไทยและอุษาคเนย์ มีต้นแบบจากกลองทอง (มโหระทึก) เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว
วัฒนธรรมฆ้องในไทยและอุษาคเนย์ มีต้นแบบจากกลองทอง (มโหระทึก) เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว

โครงกระดูกบรรพชน

ถ้าถือตามคำอธิบายของกรมศิลปากร บรรดาโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ย่อมเป็นบรรพชนคนไทยทั้งนั้น

ไม่ว่าที่บ้านเก่า (กาญจนบุรี), บ้านเชียง (อุดรธานี), บ้านเมืองบัว (ร้อยเอ็ด), บ้านโนนวัด (นครราชสีมา), รวมทั้งบ้านนาลาว (อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี) ฯลฯ แม้โครงกระดูกทารกที่อู่ทอง ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นบรรพชนคนไทยสมัยหลังๆ (โดยไม่มีใครตอกตรา หรือบงการ)

“บรรพชนคนไทย” ไม่ใช่คนไทยในความหมายคลั่งเชื้อชาติ และไม่มีใครตอกตราให้โครงกระดูกเหล่านี้เป็นไทยๆ หรือคนไทย มีแต่อธิบายว่าความเป็นไทยมีส่วนผสมหลากหลายร้อยพ่อพันแม่ สอดคล้องคำอธิบายของกรมศิลปากรที่ยกมานั้น

 

โครงกระดูกมนุษย์สมัยหิน อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ฝังพร้อมกับเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องประดับ, ภาชนะดินเผา ฯลฯ แล้วทำสืบเนื่องต่อมาในกลุ่มชนสมัยหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน นับเป็นบรรพชนคนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์และคนไทยทุกวันนี้ (ภาพบน) โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 โครงแรก ขุดพบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 ที่แหล่งนายบาง บ้านเก่า ต. จรเข้เผือก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี
โครงกระดูกมนุษย์สมัยหิน อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ฝังพร้อมกับเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องประดับ, ภาชนะดินเผา ฯลฯ แล้วทำสืบเนื่องต่อมาในกลุ่มชนสมัยหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน นับเป็นบรรพชนคนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์และคนไทยทุกวันนี้
(ภาพบน) โครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 โครงแรก ขุดพบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 ที่แหล่งนายบาง บ้านเก่า ต. จรเข้เผือก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี

 

ชนชาติไทย

การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชนชาติไทยในปัจจุบัน จึงควรให้ความสนใจด้าน “วัฒนธรรม” มากกว่าเรื่อง “เชื้อชาติ” (ประวัติศาสตร์ชาติไทย หน้า 40)

 

สร้างเจดีย์ทับหลุมศพ

คนยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปีมาแล้ว ฝังศพตระกูลหัวหน้าเผ่าพันธุ์ไว้ลานกลางบ้าน บางแห่งเรียกใจบ้าน แล้วยกย่องเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ศูนย์รวมพิธีกรรมของชุมชน

หลังรับศาสนาจากอินเดีย พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ถูกปรับเปลี่ยนแปรสภาพเป็นศาสนสถานกลางชุมชน แล้วพบว่าชุมชนโบราณที่อยู่อาศัยสืบเนื่องจากก่อนประวัติศาสตร์เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์นั้น มีร่องรอยของศาสนสถานที่สร้างซ้อนทับลงไปบนสุสานที่ประกอบพิธีกรรมดั้งเดิม เช่น

ปราสาทพิมาย และปราสาทพนมวัน (จ. นครราชสีมา), วัดชมชื่น และวัดช้างล้อม (อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย) ที่มีการขุดค้านทางโบราณคดีและพบว่าใต้ดินลึกลงไปจากฐานศาสนสถานที่เป็นเทวาลัยหรือวัดเหล่านั้นมีโครงกระดูกที่ถูกฝังสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ก่อนแล้ว

หลักฐานเหล่านี้ยืนยันว่าการตั้งถิ่นฐานและผู้คนในดินแดนไทยมีความต่อเนื่องกันจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ลงมา และยังคงความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่ประกอบพิธีกรรมในความเชื่อดั้งเดิมมาใช้ในศาสนาใหม่ที่เข้ามาภายหลังด้วย

 

โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขุดค้นพบใต้ฐานเจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย บ่งว่าพื้นที่นี้เคยเป็นสุสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และถูกใช้ต่อเนื่องเมื่อรับศาสนาพุทธจากภายนอกเข้ามา (ภาพของกรมศิลปากร) [จากบทความเรื่อง สุสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลายมาเป็นศาสนสถาน ของ ประภัสสร์ ชูวิเชียร (อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) คอลัมน์ท้องถิ่นมีชุมชน ในสยามรัฐรายวัน ฉบับวันพุธที่ 13 มกราคม 2559 หน้า 10]
โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขุดค้นพบใต้ฐานเจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย บ่งว่าพื้นที่นี้เคยเป็นสุสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และถูกใช้ต่อเนื่องเมื่อรับศาสนาพุทธจากภายนอกเข้ามา (ภาพของกรมศิลปากร)
[จากบทความเรื่อง สุสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลายมาเป็นศาสนสถาน ของ ประภัสสร์ ชูวิเชียร (อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) คอลัมน์ท้องถิ่นมีชุมชน ในสยามรัฐรายวัน ฉบับวันพุธที่ 13 มกราคม 2559 หน้า 10]

ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อาเซียน

ไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทั้งของผู้คนและดินแดน เป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิในอาเซียน (อุษาคเนย์) อย่างแยกจากกันไม่ได้

วัฒนธรรมไทย หรือความเป็นไทย จึงเป็นวัฒนธรรมร่วมรากเหง้ากับวัฒนธรรมอาเซียน

ตลอดจนบรรพชนคนไทยก็มีเหล่ากอร่วมกันมากับบรรพชนคนอาเซียน โดยไม่อพยพถอนรากถอนโคนมาจากไหน?

มีแต่อยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ แล้วโยกย้ายถ่ายเทไปๆมาๆทุกทิศทาง

 

ประเพณีพิธีกรรมหลังความตายของคนพื้นเมืองดั้งเดิมตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปีมาแล้ว ยังทำสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน มีในคนไทย, คนลาว, คนมอญ, คนเขมร ฯลฯ (บน) ภาชนะบรรจุศพแบบ "แคปซูล" ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
ประเพณีพิธีกรรมหลังความตายของคนพื้นเมืองดั้งเดิมตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปีมาแล้ว ยังทำสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน มีในคนไทย, คนลาว, คนมอญ, คนเขมร ฯลฯ
(บน) ภาชนะบรรจุศพแบบ “แคปซูล” ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

 

หม้อ-ไหดินเผาใส่กระดูกศพ เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว มีรูปร่างลักษณะต่างๆ กัน นักโบราณคดีขุดพบบริเวณแหล่งฝังศพรอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคอีสาน ล้วนเป็นหลักฐานแสดงความเป็นต้นเค้า "โกศ" และประเพณีเก็บกระดูกใส่หม้อ และสถูปเจดีย์ในสมัยหลังๆ จนถึงทุกวันนี้
หม้อ-ไหดินเผาใส่กระดูกศพ เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว มีรูปร่างลักษณะต่างๆ กัน นักโบราณคดีขุดพบบริเวณแหล่งฝังศพรอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคอีสาน ล้วนเป็นหลักฐานแสดงความเป็นต้นเค้า “โกศ” และประเพณีเก็บกระดูกใส่หม้อ และสถูปเจดีย์ในสมัยหลังๆ จนถึงทุกวันนี้

 

เก็บกระดูกใส่หม้อ เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านเมืองบัว อ. เกษตรวิสัย จ. ร้อยเอ็ด
เก็บกระดูกใส่หม้อ เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านเมืองบัว อ. เกษตรวิสัย จ. ร้อยเอ็ด

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image