ทีม ‘ทวงคืน’ เฮ ! อธิบดีกรมศิลป์สำรวจ ‘ปลายบัด 2’ สถานที่พบ ‘โพธิสัตว์ประโคนชัย’

เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน มีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาและคณะทำงานศึกษาเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปราสาทหินพนมรุ้ง โดยมี นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงและหลักฐานทางโบราณคดี ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง,ปราสาทหินเขาปลายบัด1 รวมถึงปราสาทหินเขาปลายบัด 2 จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่พบประติมากรรมสัมฤทธิ์แบบประโคนชัย อายุกว่า 1,300 ปีซึ่งเกิดกระแสทวงคืนจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะผู้ร่วมเดินทาง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ นายจารึก วิไลแก้ว ผอ.สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา, นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง, นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีต ผอ.สำนักโบราณคดี , นางอมรา ศรีสุชาติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ, นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ), นางมยุรี วีระประเสริฐ อดีตอาจารย์คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร, นายพุฒ วีระประเสริฐ อดีตอธิการบดี ม.ศิลปากร, นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ อดีตนักโบราณคดี กรมศิลปากร เป็นต้น

ด้านนายทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระ ผู้มีบทบาทเคลื่อนไหวทวงคืนพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า เมื่อทราบว่านายอนันต์ ชูโชติ และคณะทำงานชุดนี้ สละเวลาขึ้นไปดูเขาปลายบัด อันเป็นที่ตั้งของปราสาทเขาปลายบัด 1 และปราสาทเขาปลายบัด 2ตนรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ โดยหวังว่าจะทำให้เห็นหลักฐานทางโบราณคดีชัดเจนมากขึ้นกว่าข้อมูลในหนังสือที่กรมศิลปากรเคยตีพิมพ์เกี่ยวกับโบราณสถานดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2504 และ พ.ศ.2532 ซึ่งมีความผิดพลาด หากมีการแก้ไขข้อมูลเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมจะเป็นเรื่องที่ดีมาก

“การศึกษาที่ผ่านมาในอดีตของกรมศิลปากรมีข้อผิดพลาด ให้คำบรรยายไม่ตรงกับสภาพปราสาท หลักฐานจากปราสาทเขาปลายบัด 2 สำคัญกว่าปราสาทเขาปลายบัด 1 แน่นอน แต่ครั้งนี้สภาพปราสาทเห็นได้ชัดจากความแห้งแล้ง หลักฐานที่ได้จากการเก็บข้อมูลที่เคยนำไปมอบให้ อธิบดีกรมศิลปากร ผ่านรองอธิบดี ที่ท่านตั้งเป็นประธานกรณีประติมากรรมสำริดที่หายไปจากปราสาทปลายบัด 2 นั้น คงอธิบายสิ่งที่คณะทำงานเห็นได้เป็นอย่างดี ความรู้ใหม่ที่ได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมได้เสมอ เรื่องนี้เข้าใจดีและไม่อาจตำหนิได้ หากมีการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม” นายทนงศักดิ์กล่าว

Advertisement

ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก Nakornchaiburin Silpakorn

 

ทางขึ้นปราสาทเขาปลายบัด 2 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ทางขึ้นปราสาทเขาปลายบัด 2 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เดินนำนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ขึ้นสู่ปราสาทเขาปลายบัด 2
นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เดินนำนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ขึ้นสู่ปราสาทเขาปลายบัด 2
(จากซ้าย) นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง , นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ที่ปราสาทเขาปลายบัด 2 พร้อมด้วยนายวสันต์ เทพสุริยานนท์ (สวมหมวกแก๊ป) หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
บริเวณกำแพงปราสาทเขาปลายบัด 2 ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง
บริเวณกำแพงปราสาทเขาปลายบัด 2 ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง
ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาปลายบัด 2 ที่ตกอยู่บนผิวดิน
ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาปลายบัด 2 ที่ตกอยู่บนผิวดิน

ปลายบัด 2

Advertisement

ปลายบัด 2

ร่องรอยการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีมาแล้ว

ปลายบัด2

 

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image