TIJCปี12 ระดมศิลปินแจ๊สระดับโลก มอบความสุข สุดเข้มข้นในธีม “Jazz For All” หวังงานแจ๊สเข้าถึงระดับชุมชน

ถือเป็นเวทีพี่ใหญ่คุณภาพคับแก้วไปแล้วสำหรับ เทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ Thailand International Jazz Conference หรือ TIJC ที่ได้เวียนมาจนถึงปีที่ 12 -TIJC2020 ที่เข้มข้นขึ้นกว่าทุกๆปี เพราะมีศิลปินแจ๊สชื่อเสียงระดับโลกรวมตัวเข้ามาแสดงมากที่สุด ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ” – แจ๊สเพื่อทุกคน” ในวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยถึงการจัดงาน TIJC ที่ได้เดินทางมาถึงปีที่ 12 ว่าในปี 2563 งานTIJC จัดขึ้นในธีม Jazz For All เนื่องจากอยากให้ดนตรีแจ๊ส ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ของดนตรี ทั้งนำหมอลำ และดนตรีแนวอื่นมาผสมกับแจ๊สอย่างลงตัว
อีกทั้งปีนี้ ทางปีนี้ TIJC ให้โอกาสเด็กๆได้แสดงงานดนตรีบนเวที เนื่องจากตนและทางทีมงานอยากช่วยหาเส้นทางความชอบให้เยาวชนไทย ให้ค้นพบความชอบของตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

” เด็กควรจะต้องเริ่มที่จะหาตัวเอง เพราะฉะนั้นน้องที่เขาคิดว่าอยากเป็นนักดนตรี เขาควรจะต้องได้ลองตอนนี้ เพราะว่าถ้ารอให้เขาเข้ามหาวิทยาลัย ก็ช้าเกินไปอยากเริ่มตั้งแต่เด็กอายุน้อยๆ ให้เขาได้ลอง ถ้าลองแล้วชอบไม่ชอบ เขาจะได้รู้ ไม่เสียเวลา”
อีกทั้งตนยังอยากได้แนวคิด โซเชี่ยล อิมแพค โดยการนำนักดนตรีแต๊สต่างชาติมาร่วมแสดงหวังเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาดนตรีของประเทศไทย มีสิทธิก้าวไกลในความเก่งระดับโลก

” เพราะว่าพอเขามาแล้วเขาลองเล่น แล้วดูตัวอย่าง ก็เกิดเรียนรู้ เราก็ไม่ต้องบอกว่า มาตราฐานเขาดี เขามาเห็น เขาจะรู้ แล้วเขาก็จะกลับไปพัฒนาตัวเอง เพราะว่าสังคมไทยเรา ยังเป็นสังคมที่พูดตรงเกินไปไม่ได้ มันต้องอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก เพราะฉะนั้นเขามาเขาก็ได้ แล้วกลับไปทุกปี มาตราฐานจะเพิ่มขึ้น และจะมีวงขอสมัครมาเล่นมากขึ้น ปีนี้พยายามทำเพิ่มเรื่องการศึกษา จะมีแจ๊สแคมป์ เริ่มสร้างพาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยอื่น งานวิจัย สัมนา ก็จะทำร่วมกัน ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ หมายถึงงานนี้จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ แต่ว่าจัดที่เรา อย่างที่บอกว่า ถ้าตอนนี้เรามองที่แค่สถาบัน มันจะอยู่ไม่ได้ เพราะว่าตอนนี้เราไม่ได้มองที่สถาบันแล้วนะ อยากให้มองว่าเราทำเพื่อประเทศอยู่ ”

Advertisement

“คือจริงๆ ก็เป็นคนไทยด้วยกัน เรามีความสามารถในการแข่งขัน เพียงแต่ว่าทุกคนต้องรวมกัน ระดมกัน เข้ามาช่วย เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันจริงๆเพราะว่า ผมก็บอกว่า เราก็อยากช่วยสังคม และในแง่ของประเทศชาติเราต้องเพิ่ม GDP ให้ประเทศ เพราะถ้าเราไม่สามารถปรับงานสร้างสรรค์เราเป็นงานครีเอทีฟ แปลว่า เราจัดงานไปประเทศก็ไม่เกิดอะไรขึ้น”
” เวลาทำวิจัยด้านดนตรี เราก็ไม่ต้องรออะไรเลย เราเริ่มทำได้เลย ถ้ารัฐบาลช่วยเรานิดหน่อย ”

ทั้งนี้สิ่งที่ทาง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งความคาดหวังที่จะได้จากงาน Thailand International Jazz Conference มาว่า

“ตอนนี้ของเรา เราผลิตนักดนตรีแจ๊สเยอะมาก จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้บาร์แจ๊สก็มีเยอะ นักดนตรีที่มีคุณภาพก็มีเยอะ แล้วเราก็เป็นจุดประกายของมหาวิทยาลัยอื่นๆ อย่างที่อื่นเขาก็เริ่มเปิดสาขาแจ๊สแล้ว เพราะเขารู้แล้วว่ามันเริ่มมีตลาด สามารถธุรกิจได้มากขึ้น สังเกตุว่าเพลงป็อปสมัยนี้มันค่อนข้างซับซ้อน คือถ้าเขาเรียนแต่ป็อปอย่างเดียวเขาก็จะไม่ได้ พอเขาเรียนแจ๊ส จะเริ่มมีความซับซ้อนเรื่องการทำทำนองเขาเอาไปประยุกต์ใช้ มันก็ช่วยเขา ซึ่งภายใน 10 ปี กว่าผ่านมา เราก็ค่อนข้างเห็น ดอกผลของมัน ตอนนี้สิ่งที่เราคาดหวังคือนอกจากสร้างชื่อให้ประเทศแล้ว เราก็อยากมองว่าเราจะขยาย กิจกรรมเหล่านี้ขึ้นไปให้มันเป็นระดับนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นตอนนี้เรา พยายามวิ่งหาพาร์ทเนอร์ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดหรือว่าองค์กรต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ ”

“เป้าหมายคือ TIJCน่าจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญ เพราะว้าถ้ามองในแง่ของการพัฒนาแจ๊ส ผมว่าไม่มีอะไรดีกว่า TIJCอีกแล้ว ในแง่ของความเป็นที่รู้จักในเทศกาลดนตรีแจ๊ส ปีนี้ถึงตั้งเป้าว่ามันเป็นJazz For All ต้องเข้าถึงทุกคน เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเสพได้ แจ๊สสามารถฟังได้ทุกคน


ส่วนแฟนๆ สายแซกโซโฟน เตรียมพบกับ Javon Jackson หนึ่งในอดีตสมาชิกวงดนตรีสำคัญ “ที่สุด” ในวงการแจ๊สอย่าง Art Blakey and the Jazz Messengers ที่มาพร้อมวงควอเต็ต ร่วมกับ Jeremy Manasia (เปียโน) Charles Ruggerio (กลอง) David Williams (เบส), มือแซกโซโฟนแจ๊สตัวพ่อของวงการอีกคน Chris Cheek ที่พร้อมถ่ายทอดทุกอารมณ์ตั้งแต่ความนุ่มนวลหวานหยด จนถึงเสียงแผดก้องดุดัน จะมาร่วมบรรเลงในวงของ Rajiv Jayaweera สุดยอดมือกลองจากออสเตรเลีย รวมทั้งดนตรีแจ๊สในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างวง Loop Doctors คู่ดูโอแจ๊สร่วมสมัยจากฝั่งยุโรปตะวันออก ได้แก่ Romhanyi Aron (คีย์บอร์ด) และ Peter Szendofi (กลอง) ที่มากับดนตรีผสมผสานทั้งแนวแจ๊ส, Drum ‘n’ Bass, ฮิปฮอป ในลีลาแปลกใหม่, Jeremy Monteiro นักเปียโนแจ๊สชาวสิงคโปร์ จะมาบรรเลงร่วมกับ Jazz Association Singapore Orchestra (JASSO) ในรูปแบบ Big Band ที่มีทั้งความละมุนละไม และดุเดือดเลือดพล่าน นอกจากศิลปินต่างชาติแล้ว TIJC2020 ยังมีความสนุกสนานของศิลปินไทยที่ผลัดเปลี่ยนกันมาปล่อยพลังดนตรีให้แฟนๆ ได้ชมกันอีกคับคั่ง นำโดยศิลปินแนวป๊อป โซล ที่มีสไตล์โดดเด่นอย่าง The Parkinson และวงบิ๊กแบนด์ของไทยกว่า 50 วงจากทั่วประเทศ

สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี เข้างานฟรี ส่วนผู้ปกครองลด 25% ผู้ที่มาเป็นหมู่คณะ 10 คนขึ้นไป บัตรราคา 1,800 บาท (จาก 3,600 บาท) ส่วนบัตรราคาพิเศษอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-849-6565 ต่อ 6609 หรือ https://www.ticketmelon.com/mahidolmusic/tijc2020 การแสดงดนตรีช่วงกลางวันในเวที Oval Stage เข้าชมฟรีทั้ง 3 วัน ในวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image