คอลัมน์ วิเทศวิถี : หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ “อาเซียน-อียู”

หลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่จ.เชียงใหม่ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนก็พากันเดินทางตรงต่อไปยังกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อเข้าร่วมการประชุม “รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป(อียู)” ครั้งที่ 22 ซึ่งในครั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่สุดคือการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันเข้าสู่สถานะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

การยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าอียูมองว่าอาเซียนมีความสำคัญอย่างไร ต้องยอมรับว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เฉพาะอียูเท่านั้นที่ให้ความสนใจและอยากจะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนเพิ่มมากขึ้น แต่อีกหลายประเทศ หลายกรอบความร่วมมือ และองค์การระหว่างประเทศ ก็ต้องการกระชับความร่วมมือกับอาเซียนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

เป็นที่น่าเสียดายที่ที่ประชุมไม่สามารถจะประกาศยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างเป็นทางการได้ในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียไม่พอใจนโยบายจำกัดการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากทั้ง 2 ประเทศ ทำให้ที่สุดแล้วอาเซียนซึ่งยึดหลักฉันทามติจึงเพียงแต่รับรองในหลักการต่อการยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน-อียูเท่านั้น และเพื่อตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว อียูเห็นพ้องที่จะตั้งคณะทำงานร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้องของอาเซียน เพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาเรื่องน้ำมันปาล์มต่อไป

ไม่เกินจริงหากจะพูดว่าการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-อียูขึ้นเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ต้องถือเป็นผลงานของไทย ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งประเทศผู้ประสานงานอาเซียน-อียูในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีการเจรจาและผลักดันจนบรรลุผลสำเร็จในการยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าว หากไม่เกิดอุบัติเหตุอย่างที่เล่าให้ฟังข้างต้นขึ้นมาเสียก่อน

Advertisement

อย่างไรก็ดี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานอาเซียนมองว่า แม้จะไม่ได้มีการรับรองสถานะอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ แต่อาเซียนและอียูก็เห็นด้วยในหลักการต่อการยกสถานะความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เรื่องดังกล่าวไม่ถือเป็นปัญหาและไม่มีใครติดใจอะไร มันไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องมาแตกหักกัน เพราะในทางปฏิบัติ อาเซียน-อียูก็ถือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรอเวลาเพื่อจะนำไปสู่การประกาศอย่างเป็นทางการต่อไปเท่านั้น ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้ก็อาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ที่ไทยจะเป็นประธานการประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-อียู ยังหารือกันในประเด็นที่ครอบคลุมความร่วมมือหลากหลายมิติ ตั้งแต่เรื่องการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียน-อียูซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน หลักการตลาด กฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตรฐานระหว่างประเทศ การเน้นย้ำความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่้มมูลค่าการค้าและการลงทุนสองฝ่าย การเน้นย้ำความสนับสนุนต่อระบบการค้าเสรีที่เปิดกว้าง ไปจนถึงการประกาศความยึดมั่นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกของสหประชาชาติ ทั้งยังประกาศที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันในการที่จะรับมือกับความท้าทายทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

หนึ่งในประเด็นที่ขาดไม่ได้ในการประชุมระหว่างประเทศในปัจจุบัน ย่อมเป็นประเด็นสถานการณ์ในรัฐยะไข่ของเมียนมา ซึ่งนายดอนระบุว่ามีการเปิดโอกาสให้เมียนมาพูดให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในหลายจุด จากนั้นอาเซียนจึงพูดว่าเมียนมาได้พยายามดำเนินการอะไรบ้างและมีผลคืบหน้าพอควร แต่การจัดการในเรื่องนี้ต้องใช้เวลา จึงหวังว่าทุกฝ่ายจะให้โอกาสเมียนมา ขณะที่ที่ผ่านมาอาเซียนเองก็ได้ทำงานในภาพรวมเพื่อช่วยเมียนมา รวมถึงร่วมมือกับประเทศที่ 3 ฝ่ายอียูมีความพอใจกับภาพที่สะท้อนออกไปให้เห็น ไม่มีการตั้งคำถาม แสดงความขัดข้องใจหรือติดใจอะไรเป็นพิเศษ และไม่ได้คิดว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นปัญหาเรื้อรังชนิดที่ไม่มีทางออก เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายไม่ได้อยู่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image