คอลัมน์แกะรอยต่างแดน : เมื่อทะเลเซโตะ สะอาดเกินไป จนอาจเป็นอันตรายต่อการประมง

ทะเลเซโตะ
เครดิตภาพ Bernard Gagnon : CC BY-SA 3.0

คอลัมน์แกะรอยต่างแดน : เมื่อทะเลเซโตะ สะอาดเกินไป จนอาจเป็นอันตรายต่อการประมง

อันที่จริงแล้ว โดยทั่วไป ถ้าทะเลใสแจ๋ว คงเป็นเรื่องดี สำหรับการเล่นน้ำ

แต่ที่ “ทะเลเซโตะ” ทะเลภายในบริเวณนอกชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น กำลังอยู่ในสถานะ “สะอาดเกินไป” โดยมีปริมาณของแร่ธาตุต่างๆน้อยลง ทั้งเกลือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส

เหล่านี้ ส่งผลต่อการเติบโตของฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลที่เกิดการเปลี่ยนสี และส่งผลกระทบต่อไปยังปริมาณของปลาในทะเล ที่กำลังลดลงไปด้วย เนื่องจากสารอาหารที่น้อยลงในทะเล

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ก็เลยต้องพิจารณาหาทางผ่อนคลายมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าว เพื่อทำให้ทะเลมีแร่ธาตุต่างๆมากขึ้น

Advertisement

โดยกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้กันอยู่ในญี่ปุ่น ถูกตราขึ้นเป็นกฎหมายเมื่อปี ค.ศ.1973 หลังจากสภาพแวดล้อมทางทะเลภายในของญี่ปุ่นอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลง เนื่องจากการปล่อยน้ำเสียของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ได้มีการตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณเกลือ ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดมีการตั้งเป้าในการจำกัดปริมาณการปล่อยน้ำเสียโรงงานบำบัดสิ่งปฏิกูลลงสู่ทะเล

แต่ในขณะที่การลดลงของเกลือ ทำให้ภาวะการเปลี่ยนสีของน้ำทะเลลดลง ก็ยังส่งผลด้านลบต่อสาหร่ายทะเลและอุตสาหกรรมการทำประมง

Advertisement

รายงานที่มีออกมาจากแหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่น ระบุว่า เพื่อทำให้เกิดความสมดุลย์ ระหว่างความต้องการทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมประมง ทางกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นจึงกำลังวางแผนเพื่อให้ยังคงไว้ซึ่งกรอบของกฎหมายที่มีอยู่ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้มีการเพิ่มปริมาณของเกลือในทะเลให้มากขึ้น

โดยแต่ละจังหวัดและเขตเทศบาลต่างๆบริเวณพื้นที่ชายฝั่งตามแนวทะเลในภายใน จะต้องมีตั้งเป้าหมายของตัวเองในการเพิ่มความหนาแน่นของเกลือในทะเล เพื่อความอยู่รอดของสาหร่ายทะเลและปลาในน้ำทะเล

ซึ่งต้องให้มีการปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงานบำบัดน้ำเสีย เขื่อน และอ่างเก็บน้ำ

ทั้งนี้ เพื่อทำให้น้ำทะเล “สกปรก” ขึ้นบ้าง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image