คอลัมน์ People In Focus : โจเซฟ ป็อป ผู้คิดค้นมัลแวร์เรียกค่าไถ่

คอลัมน์ People In Focus : โจเซฟ ป็อป ผู้คิดค้นมัลแวร์เรียกค่าไถ่

“โทรจัน” หรือ “มัลแวร์” เรียกค่าไถ่ ส่วนหนึ่งของการ “โจมตีทางไซเบอร์” ที่ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาระดับโลก เกิดขึ้นครั้งแรกโดยชายที่มีชื่อว่า “โจเซฟ ป็อป”

โจเซฟ ป็อป นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ส่งแผ่นฟลอปปีดิสก์ รุ่นแรกจำนวนมากถึง 20,000 แผ่นให้กับผู้เข้าร่วมประชุมในหัวข้อโรคเอดส์ จัดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1989

ภายในแผ่นดิสก์ บรรจุ “มัลแวร์” ที่จะถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ล็อกข้อมูลเอาไว้และขึ้นข้อความเรียกเงินค่าไถ่เป็นการแลกเปลี่ยน

หนึ่งในเหยื่อของ ป็อป คือ เอ็ดดี้ วิลเลมส์ พนักงานบริษัทประกันภัยในเบลเยียม ได้รับแผ่นดิสก์ ดังกล่าว

Advertisement

วิเลมส์ เปิดแผ่นดิสก์ดังกล่าวตามคำสั่งของเจ้านาย แต่แทนที่จะพบกับงานวิจัยทางการแพทย์ แต่กลับกลายเป็นโปรแกรมล็อกคอมพิวเตอร์ของวิลเลมส์ และขึ้นข้อความให้ส่งเงินมูลค่า 189 ดอลลาร์สหรัฐ ไปยังตู้ป.ณ. ในในประเทศปานามา
เหตุครั้งนั้นกลายเป็นเหตุการณ์ “โจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ครั้งแรกของโลก”

วิลเลมส์ ผู้ที่เวลานี้กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับบริษัท “จีดาต้า” บริษัทผู้สร้างโปรแกรม “แอนตี้ไวรัส” ขายเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1987 ไม่ได้ตกเป็นเหยื่อเนื่องจากรู้วิธีแก้ไขปัญหากับคอมพิวเตอร์ของตน แต่มีคนอีกจำนวนมากที่ต้องสูญเสียข้อมูลในคอมพิวเตอร์ไป

เหตุการร์ดังกล่าวกลายเป็นข่าวโด่งดัง โดยเฉพาะในแวดวงคอมพิวเตอร์ในเวลานั้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบไปถึง ป็อป ที่เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์ในเวลานั้น ผ่านทางชื่อผู้เช่าตู้ป.ณ.ดังกล่าว

Advertisement

ป็อป ถูกตั้งข้อหา “แบล็คเมล์” และกลายเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ติดค้นมัลแวร์เรียกค่าไถ่

ป็อป ถูกจับกุมที่สนามบินสคิปโปล ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ก่อนถูกส่งตัวกลับไปคุมขังเพื่อพิจารณาคดีในสหรัฐอเมริกา โดยป็อป ให้การณ์ว่าจะนำเงินที่ได้บริจาคให้กับงานวิจัยโรคเอดส์ ขณะที่ทนายความของป็อป ต่อสู้ด้วยเหตุผลว่าป็อปนั้นมีสภาพจิตที่ไม่พร้อมสำหรับการไต่สวน

โดยมีรายงานว่าป็อป ใส่ถุงยางอนามัยที่จมูก และใช้โรลม้วนผมติดไว้ที่เคราเพื่อพิสูจน์ว่าตนมีสภาพจิตใจไม่ปกติ ซึ่งในที่สุดศาลยกฟ้องโดยให้เหตุผลเรื่องสภาพจิต

ป็อป เสียชีวิตลงในปี 2007 อย่างไรก็ตาม นับจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครรู้ว่า ผู้คิดค้น มัลแวร์ทุ่มทั้งเงินและเวลาก่อเหตุเรียกค่าไถ่ข้อมูลเมื่อ 30 ปีก่อน ไปด้วยเหตุผลอะไร?

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image