09.00 INDEX ประชุมรัฐสภา 5 มิถุนายน อนาคต ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อะไรคือความชัดเจนของคสช.และของพรรคพลังประชารัฐสำหรับ การเข้าร่วมประชุมรัฐสภาในวันที่ 5 มิถุนายน เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
มิใช่จาก 116 เสียงของพรรคพลังประชารัฐ

หากแต่เป็น 11 เสียงจาก 11 พรรคการเมืองขนาดเล็ก ผนวก เข้ากับ 5 เสียงพรรครวมพลังประชาชาติไทย 3 เสียงพรรคท้องถิ่นไท 2 เสียงพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
เมื่อผนวกเข้ากับ 250 เสียงของ ส.ว.ที่ตั้งมากับมือก็ทะยานไปยัง 387
มากกว่า 376 ที่กำหนดถึง 11 เสียง
แทบไม่จำเป็นต้องง้อ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย หรือกระทั่งพรรคชาติไทยพัฒนาก็ได้

กระนั้น จุดสำคัญอันเป็นเหมือนเส้นแบ่งทางการเมืองอย่างสำคัญ คือ การประชุมรัฐสภาเป็นการเริ่มต้นนับ 1 สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ทำให้สถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เหมือนกับสถานะของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนมีนาคม 2523
หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 39 ปีก่อน
เราจะเห็นภาพ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เรียก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าพบ เรียก พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร เข้าพบ เรียก พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ เข้าพบ
แล้วจัดครม.กันที่บ้านสี่เสา เทเวศร์ โดยมีพรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมในรัฐบาล
ขณะที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตรึงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี พร้อมกับโควตากระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวง การคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความหมายของวันที่ 5 มิถุนายน คือความหมายในการมอบอำนาจให้อยู่ในมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แม้ด้วยเสียง 387 เสียงของ ส.ส.และส.ว.จะทำให้ฝันของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นจริง แต่จุดอ่อนของ 15 พรรคที่เข้าร่วม กับพรรคพลังประชารัฐมีเพียง 137 ส.ว.
ขณะที่อีกฝ่ายเท่ากับ 363 ส.ส.

Advertisement

ตรงนี้แหละที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังต้องการพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปร่วม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image