ไม่บังคับ-ปรับกลยุทธ์ เคล็ดลับสอนลูกน้อยป้องกันโควิด แบบเข้าใจง่าย

สอนลูกน้อยป้องกันโควิด

ไม่บังคับ-ปรับกลยุทธ์ เคล็ดลับสอนลูกน้อยป้องกันโควิด แบบเข้าใจง่าย

สอนลูกน้อยป้องกันโควิด – แม้ว่าสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศไทยจะลดน้อยลง และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทุกวัน แต่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลก ผู้ปกครองที่มีลูกน้อยก็ยังคงกังวลกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่ และยังคงต้องพึ่งพาการดูแลปกป้องจากผู้ปกครอง

ชาร์ป ประเทศไทย จึงจัดโครงการ พลาสม่าคลัสเตอร์ เฮลธ์ คลาสรูม บาย ชาร์ป สร้างห้องเรียนสุขภาพออนไลน์ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายและใจในยุคโควิด-19 โดยมี พญ.ณัฏฐา วรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด แนะนำวิธีการดูแลและเตรียมความพร้อมในการป้องกันตัวเองให้กับเด็กๆ อย่างปลอดภัย ดังนี้

พญ.ณัฏฐา วรชาติ

เริ่มแรก พญ.ณัฏฐา แนะนำว่า ผู้ปกครองต้องค่อยๆ อธิบายให้ความรู้แก่เด็กโดยไม่ขู่ หรือทำให้ลูกกลัว เพราะเด็กมีความเครียดและความกังวลไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เมื่อได้รับข้อมูลจากสื่อและคนรอบข้างเกี่ยวกับความน่ากลัวของโควิด-19 มากจนเกินไป อาจทำให้เด็กเกิดความกลัว หรือเครียด ไม่อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่กล้าไปโรงเรียน ไม่กล้าออกจากบ้าน และอาจส่งผลต่อพัฒนาการในระยะยาวของเด็กได้

และในกรณีที่มีลูกหรือเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนป่วย ควรพิจารณาให้หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และลดความเสี่ยงที่ลูกจะได้รับเชื้อ

Advertisement

ส่วนอีกหนึ่ง “งานยาก” สำหรับผู้ปกครอง คือ การสอนเด็กๆ ให้ใส่หน้ากากอนามัย เพราะบางครั้งเด็ก ๆ ก็อาจจะรำคาญและดึงออกไปในที่สุด

เรื่องนี้ พญ.ณัฏฐา แนะนำเคล็ดลับที่ทำให้เด็กๆ อยากใส่หน้ากากอนามัยไว้ 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.สร้างการมีส่วนร่วมโดยให้เด็ก ๆ ได้เลือกสีและลายที่ชื่นชอบ 2. คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างต้องใส่ให้ดูเป็นตัวอย่าง 3.นอกจากจะใส่ให้ลูกแล้วอย่าลืมใส่ให้พี่หมีหรือตุ๊กตาตัวโปรด และ 4.เมื่อลูกทำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีรางวัลพิเศษให้

สุดท้าย ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและดูแลตัวเองเบื้องต้นกับเด็ก ควบเริ่มตั้งแต่การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในรูปแบบที่เด็ก ๆ เข้าใจได้ง่าย โดยให้เด็ก ๆ กางแขนทั้งสองข้างออก แล้วสอนว่าควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ใครในระยะนี้ เพราะเป็นระยะที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายจากอีกคนมาถึงตัวเรา และถ้าหากต้องการไอหรือจามให้ใช้วิธีงอข้อศอกแล้วใช้บริเวณต้นแขนปิดปากแทนการใช้มือ เนื่องจากการใช้มือปิดปากทำให้เชื้อไวรัสที่ออกมาทางน้ำลายติดกับมือ เมื่อไปหยิบจับของใช้รอบตัว ก็จะทำให้ไวรัสไปยึดเกาะบริเวณต่าง ๆ ในวงกว้างขึ้น และเมื่อลูกกลับมาสัมผัส หรือคนอื่น ๆ มาสัมผัสก็จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปสู่ร่างกายอีกต่อหนึ่ง

Advertisement

และขั้นตอนสุดท้ายคือการสอนล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้อง คือการล้างมือ 7 ขั้นตอนในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 วินาที หรืออาจจะสอนเด็กให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าให้ร้องเพลงช้างหรือเพลง Happy Birthday สองรอบ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image