รู้ทันลูก ท่องโลกออนไลน์ ปลอดภัยจากภัยร้ายมิจฉาชีพ

รู้ทันลูก ท่องโลกออนไลน์ ปลอดภัยจากภัยร้ายมิจฉาชีพ

ในโลกออนไลน์ยังมีภัยร้ายที่มาในรูปของมิจฉาชีพแฝงอยู่หลายรูปแบบ ยิ่งในห้วงวิกฤตโควิด-19 ที่เอื้อให้เด็กๆ ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับช่วงวัยเด็กเป็นวัยที่อาจจะยังไม่มีวิจารณญาณมากพอจึงตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์จำนวนมาก

เฟซบุ๊กคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต (ไทแคค : TICAC) จึงร่วมกับ Homeland Security Investigations ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลเคล็ดลับความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ปกครอง

เริ่มจากแอพพลิเคชั่นที่มีความเสี่ยงสูงตามที่เคยเกิดเหตุส่วนหนึ่งมีดังนี้

1.ติกตอก (Tik Tok) โซเชียลมีเดียสร้างวิดีโอสั้นๆ สามารถตั้งค่าบัญชีส่วนตัวเพื่อจำกัดผู้ที่สามารถโต้ตอบและส่งข้อความถึงเด็กๆ ได้

Advertisement

2.Snapchat แอพพ์ส่งข้อความมือถือที่เนื้อหาจะ “หายไป” หลังส่ง ทว่ามิจฉาชีพที่ชำนาญคอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเนื้อหาเพื่อนำมาใช้ข่มขู่ภายหลังได้

3.KIK แอพพ์ส่งข้อความมือถือที่ไม่มีระบบช่วยผู้ปกครองควบคุมการใช้งาน เป็นที่นิยมมากในหมู่มิจฉาชีพออนไลน์

ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติการณ์เบื้องต้นของเด็กๆ ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ แล้ว ดังนี้

สลับหน้าจอหรือปิดโปรแกรมอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดว่ามีความวิตกกังวลหรือไม่สบายใจเมื่อได้รับข้อความออนไลน์ หรือถอนตัวออกจากโซเชียลมีเดียและเทคโนโลนี

หากมีพฤติการณ์เข้าข่ายในเบื้องต้น ผู้ปกครองที่คิดว่าลูกหลานตกเป็นเหยื่อ ต้องทำอย่างไร?

1.บอกกับเด็กๆ ว่าไม่ใช่ความผิดของพวกเขา

2.ตั้งค่าโทรศัพท์เป็น “โหมดเครื่องบิน” และอย่าลบอะไรทิ้ง

3.อย่าติดต่อไปหามิจฉาชีพด้วยตัวเอง

4.แจ้งเหตุไปที่ ไทแคค [email protected] หรือที่เฟซบุ๊กไทแคคได้

อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในการช้งานโลกออนไลน์ให้ปลอดภัยห่างไกลจากมิจฉาชีพ มีดังนี้

1.สร้างกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อออนไลน์ ในระดับพื้นฐานที่ชัดเจนว่าข้อมูลแบบใดที่แชร์ได้ ข้อมูลใดไม่ควรแชร์

2.อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าเนื้อหา รูปภาพ และวิดีโอที่แชร์ทางออนไลน์ “จะคงอยู่ถาวร” เมื่อถูกโพสต์ออนไลน์แล้วก็จะคงอยู่ตลอดไป

3.กำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่าที่ไหนและเมื่อไหร่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ หากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถดูแลได้ให้พิจารณาซอฟต์แวร์ช่วยตรวจสอบ

4.เรียนรู้ว่าลูกใช้แอพพ์ใดบ้างและมีมาตรการช่วยผู้ปกครองควบคุมการใช้งานอย่างไร หากแอพพ์ไม่มีระแบบช่วยผู้ปกครองควบคุบการใช้งานที่รัดกุมมากพอ อาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กๆ

และ 5.ให้ความรู้แก่เด็กถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้โซเชียลมีเดีย

รู้ทันโลกออนไลน์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image