นักสิทธิสตรี แนะรัฐดูแล ‘หนึ่ง-จักรวาล’ แก้ที่ต้นตอ ชี้เด็กอาจสับสนและเรียนรู้ในทางที่ผิด

นักสิทธิสตรี แนะรัฐดูแล ‘หนึ่ง-จักรวาล’ แก้ที่ต้นตอ ชี้เด็กอาจสับสนและเรียนรู้ในทางที่ผิด

จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เหมาะสม นายจักรวาล เสาธงยุติธรรม หรือหนึ่ง นักดนตรีและโปรดิวเซอร์เพลงชื่อดัง ที่กอดเอามือแตะเนื้อต้องตัวใต้เสื้อผ้าลูกสาวซึ่งกำลังย่างเข้าวัยรุ่น นั้น

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า การแสดงออกด้วยความรักกับการคุกคามทางเพศไม่เหมือนกัน ภาพที่เผยแพร่ออกมาเห็นชัดเจนว่าเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก สิ่งสำคัญต้องยอมรับความจริงและร่วมแก้ปัญหา ไม่ใช่การปกป้องหรือเก็บเงียบปัญหา ผู้กระทำควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ว่ามีปัญหาเรื่องภาวะสภาพจิตใจ เรื่องรสนิยมทางเพศหรือไม่ หรือมีปัญหาการใช้อำนาจเป็นอย่างไร หากมีปัญหาจะได้เร่งแก้ที่ต้นตอเพื่อเข้ารับการบำบัด

ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เพราะเห็นชัดว่าเด็กไม่ปลอดภัย หากปล่อยผ่านโดยที่ผู้กระทำอ้างว่าเป็นการแสดงออกด้วยความรัก และจะปรับพฤติกรรม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมจะสามารถปรับได้จริงหรือไม่ เนื่องจากเป็นเรื่องครอบครัว ในแง่พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ถือว่าเด็กไม่ปลอดภัยแล้ว เป็นการเลี้ยงดูที่อาจจะถูกละเมิดได้ หากเป็นการกอดเด็กธรรมดาคงไม่เป็นไร แต่ภาพที่เห็นมีการนำมือเข้าไปลวงอวัยวะต่างๆ บนตัวเด็ก เกินความเป็นพ่อ ยิ่งผู้เป็นแม่ก็ออกมาปกป้องสามี เด็กผู้ถูกกระทำไม่ใช่เด็กเล็ก แต่เป็นเด็กโตที่อยู่ในช่วงการเรียนรู้ อาจทำให้เด็กสับสนและเกิดการเรียนรู้ในทางที่ผิดได้ว่าพฤติกรรมทางกายจากสัมผัสส่วนต่างๆของร่างกายเป็นการแสดงออกถึงความรัก ไม่ใช่การละเมิดสิทธิ ซึ่งน่าเป็นห่วงและต้องระวังอย่างยิ่ง

Advertisement
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

“ยิ่งเป็นบุคคลสารณะ ต้องให้หน่วยงานรัฐเข้าไปดูแลช่วยคลี่คลายปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้เรื่องเงียบหาย  โดยเฉพาะแม่ควรปกป้องคุ้มครองลูก ไม่ควรแสดงความเป็นเมียปกป้องสามี แต่ลูกกลับถูกละเมิดสิทธิ ไม่แน่ใจว่าเด็กจะปลอดภัยหรือไม่ เพราะเด็กอาจจะไม่รู้การปกป้องตนเอง หากเรื่องเงีบบ ไม่มีการปรับพฤติกรรมหรือแก้ปัญหา เด็กคนนี้จะอันตรายหรือไม่ การคุกคามจะเริ่มจากจุดเล็กๆ หากพัฒนาไปวันหนึ่งเกิดมีปัญหา ดีกรีจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเราเจอเคสเหล่านี้เยอะ” นายจะเด็จกล่าวและว่า นอกจากนี้ฝากสังคมอย่าแชร์หรือส่งต่อข้อมูล ควรเป็นการเสนอแนะร่วมหาทางออก เพราะการส่งต่อภาพข้อมูลเด็ก จะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและครอบครัว และการส่งต่อข้อมูลอาจจะมีสิทธิถูกฟ้องดำเนินคดีในฐานละเมิดสิทธิเด็กได้ และผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามูลนิธิเก็บสถิติความรุนแรงในครอบครัวจากการนำเสนอข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ พบปี 2561 มีข่าวพ่อแท้ๆ ข่มขืนลูกตัวเอง 3 ข่าว แต่พอมาในช่วงปี 2563 ครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และมีการล็อคดาวน์ จำกัดการเดินทางจำกดการทำกิจกรรม ทำให้ครอบครัวต้องอยู่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมาก พบพ่อแท้ๆ คุกคามและละเมิดสิทธิข่มขืนลูกตนเองมากขึ้นถึง 9 ข่าว สะท้อนวิธีคิดของความเป็นพ่อที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือชายเป็นใหญ่ จนนำไปสู่การกระทำความรุนแรงกับบุคคลในครอบครัว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image