จักษุแพทย์ แนะวิธีป้องกันดวงตาเด็ก จากแสงสมาร์ทโฟน ปิดเทอมนี้สายตาต้องไม่เสีย

จักษุแพทย์ แนะวิธีป้องกันดวงตาเด็ก จากแสงสมาร์ทโฟน ปิดเทอมนี้สายตาต้องไม่เสีย

จักษุแพทย์ แนะวิธีป้องกันดวงตาเด็ก จากแสงสมาร์ทโฟน ปิดเทอมนี้สายตาต้องไม่เสีย

เรียนออนไลน์มา 2 ปีการศึกษาแล้ว ช่วงนี้ก็กำลังปิดเทอม หลายบ้านใช้มือถือแท็บเล็ตเลี้ยงลูก ทำให้เด็กหลายคนจดจ่อหน้าจอวันละหลายชั่วโมง

เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทางสายตาตามมา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตระยะยาวในเด็ก พ่อแม่และครอบครัวควรปฏิบัติตามสาระน่ารู้เรื่อง “แสงจากสมาร์ทโฟน กับดวงตาของเด็ก” โดย พญ.กัณฑ์กณัฐ งามวิชัยรัชต์ จักษุแพทย์ จากโรงพยาบาล เปาโล พหลโยธิน ดังนี้

เด็กเล็กมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากแสงหน้าจออย่างมาก เพราะกระตุ้นการทำงานของสมองในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะได้รับการกระตุ้นทางตา ไม่ว่าจะเป็นอาการแสบตา เคืองตา กระพริบตาบ่อย ขยิบตา ทำให้เสียบุคลิกได้ สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ ความสว่างของแสงที่หน้าจอ และสถานที่ในการใช้งาน ไม่ควรใช้ในห้องที่แหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลังจอ (เสมือนการมองไปที่ไฟ) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าห้องที่เปิดไฟจากข้างหลัง หรือบริเวณด้านบน เพราะแสงจากจอจะไม่ค่อยแตก ให้ความสบายตาต่างกัน

หากอยู่ในตำแหน่งการใช้งานที่ไม่เหมาะสม นอกจากส่งผลต่อสุขภาพตาของเด็กที่ต้องเปิดตากว้าง เหลือกตาเยอะ หรือต้องก้มมอง จนทำให้เกิดอาการเคืองตา ตาแห้ง กระพริบตาบ่อย  ปวดตา ตาล้าแล้ว ยังกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ กระตุ้นให้เกิดความก้าวร้าว ความใจร้อนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะเสพติดความทันที ทันใจ ทำให้สารสื่อสมองของเด็กทำงานเร็ว มีโอกาสเกิดสายตาสั้นมากกว่าปกติ

Advertisement

คำแนะนำ เมื่อเด็กทุกวัยต้องเข้าสู่โหมดการใช้สมาร์ทโฟน

  • กระพริบตากระตุ้น โดยการพักเพื่อลดการใช้ตาจากสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ทีวีบ่อยๆ ทุก 20 นาที
  • (การกระพริบตา 1 นาที จำนวน 8 – 10 ครั้ง)
  • การมองระยะไกล ประมาณ 6 ฟุต หรือ 20 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที หรือนับ 1 – 20 จากนั้นใช้สายตาต่อได้ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย
  • ปรับตำแหน่งจอสมาร์ทโฟน ให้ตรงกับระดับสายตา สูง – ต่ำไม่เกิน 10 – 15 องศา ระยะระหว่างจอกับสายตา คือ 1 ช่วงแขน
  • ปรับแสงหน้าจอให้พอดี ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป เพราะบริเวณที่เป็นที่มืดจะกระตุ้นให้แสงเข้าตาเยอะมาก
  • งดเล่นสมาร์ทโฟน 1 – 3 ชม. ก่อนเข้านอน ซึ่งช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

ข้อมูลจาก โรงพยาบาล เปาโล พหลโยธิน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image