วิบากกรรม ‘เด็กข้ามชาติ’ ในไทย โควิด-19 ทำเผชิญสารพัดเสี่ยง

วิบากกรรม ‘เด็กข้ามชาติ’ ในไทย โควิด-19 ทำเผชิญสารพัดเสี่ยง

ทุกคนต่างรับรู้ถึงความรู้สึกการใช้ชีวิตยากลำบาก ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด แต่หากเทียบกันแล้ว ความลำบากของเราอาจเบาบางมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญ นั่นคือ “คนข้ามชาติ”

โดยเฉพาะสิ่งที่เด็กและเยาวชนข้ามชาติต้องเผชิญ ในงานนำเสนอ “โครงการวิจัยการประเมินสถานการณ์เด็กข้ามชาติในประเทศไทยและผลกระทบจากโควิด-19” จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการสะท้อนปัญหาเด็กข้ามชาติ ที่เผชิญสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้นำไปสู่การแก้ไข ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก มูลนิธิแอคชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ภายใต้โครงการอียูรับมือโควิด สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป

รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ หัวหน้าโครงการ และคณะวิจัยโครงการฯ กล่าวว่า จากการศึกษาสถานการณ์จากผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้แทนภาครัฐ ภาคประชาสังคม และแรงงานข้ามชาติ ใน 6 จังหวัด ที่มีแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานมาก ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และระนอง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงธันวาคม 2564 พบว่าเด็กข้ามชาติต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมจากโควิด-19 ระบาด ซึ่งคณะวิจัยได้รวบรวมมาใน 3 มิติ คือ สุขภาพ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก

Advertisement
รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์

จากนั้น คณะวิจัยเปิดผลศึกษาผลกระทบแต่ละด้าน เริ่มที่ด้านสุขภาพ พบว่าเด็กข้ามชาติเข้าถึงการรักษาระบบสุขภาพยาก โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าประเทศมาผิดกฎหมาย เวลาเจ็บป่วยเข้าไม่ถึงระบบสุขภาพของรัฐ ต้องไปใช้ระบบสุขภาพของเอกชนที่ต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็ไม่มีเงิน โดยเฉพาะบางครอบครัวที่พ่อแม่ตกงานทั้งคู่ จึงกระทบมากในมิติสุขภาพ เชื่อมโยงกระทบชีวิตความเป็นอยู่ และภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากไม่มีเงิน

ส่วนด้านการศึกษา การต้องปิดเรียนออนไซต์ แล้วปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นออนแฮนด์ คือ พ่อแม่ไปรับเอกสารเรียนที่โรงเรียนมาทำที่บ้าน เสร็จแล้วนำกลับไปส่งครู พบว่าครอบครัวเด็กข้ามชาติไม่มีความพร้อม ตั้งแต่ไม่สะดวกเดินทางไปรับเอกสารที่โรงเรียน สื่อสารภาษาไทยที่ไม่อาจสอนไกด์เด็กได้ ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารและสัญญาณอินเตอร์เน็ต ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียน เช่น อยู่ในแคมป์ก่อสร้าง อยู่ในห้องพักสภาพแออัด กระทั่งตัวเด็กเองก็ขาดสมาธิจดจ่อ และต้องช่วยงานครอบครัว
จึงได้ค้นพบว่า เด็กข้ามชาติเหล่านี้กำลังเผชิญความเสี่ยง ตั้งแต่อาจพ่ายแพ้ทางการเรียน หลุดจากระบบการศึกษา มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ทะเลาะวิวาท ยาเสพติด เข้าสู่ตลาดแรงงานตั้งแต่เด็ก ตลอดเสี่ยงถูกละเมิด ใช้ความรุนแรง และถูกหาประโยชน์

สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ปี 2563 ที่โควิด-19 ระบาดเป็นปีแรก พบว่ามีเด็กข้ามชาติ 3 สัญชาติประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ปรากฏสัญชาติ และไม่มีเลขประจำตัวในระบบการศึกษา จำนวน 216,484 คน ลดลงจากปี 2562 ที่มี 236,447 คน หรือหายไป 2.6 หมื่นคน โดยช่วงชั้นที่หายไปมากที่สุดคือ ช่วงประถมศึกษา รองลงมาเป็นก่อนประถมศึกษา

Advertisement

และด้านคุ้มครองเด็ก พบว่าครอบครัวข้ามชาติมีความเครียดจากจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ได้นำไปสู่การใช้อารมณ์รุนแรง ตี ดุด่าเด็ก อีกทั้งบางครอบครัวต้องนำเด็กติดตามไปทำงานด้วย เช่น ภาคการเกษตร ประมง ค้าขาย และอีกส่วนที่มีลูกมาก ก็ปล่อยให้ลูกอยู่และดูแลกันตามลำพัง นำไปสู่ความเสี่ยงอื่นๆ
สถานการณ์คนอ่อนวัยกำลังเผชิญ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image