หมอแนะเทคนิคเลือก ‘คาร์ซีต’ ให้เหมาะกับเด็ก 3 ช่วงวัย

หมอแนะเทคนิคเลือก 'คาร์ซีต' ให้เหมาะกับเด็ก 3 ช่วงวัย

หมอแนะเทคนิคเลือก ‘คาร์ซีต’ ให้เหมาะกับเด็ก 3 ช่วงวัย

  นับถอยหลังอีกประมาณ 6 เดือน รถยนต์ที่มีผู้โดยสารเด็กต่ำกว่า 6 ขวบ หรือมีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร จะต้องมีที่นั่งนิรภัย หรือคาร์ซีต ให้กับเด็ก ไม่งั้นถูกปรับสูงสุด 2,000 บาท

ก่อนหาซื้อคาร์ซีตจึงต้องรู้ก่อน ซื้อจะได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยสูงสุด แนะนำโดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ดังนี้

แม้กฎหมายจราจรใหม่จะระบุบังคับให้ใช้คาร์ซีต ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ หรือความสูงไม่เกิน 135 เซติเมตร แต่จริงๆ คาร์ซีตเหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี หรือสูงน้อยกว่า 135 เซนติเมตร เนื่องจากร่างกายของเด็กยังไม่สามารถนั่ง แล้วรัดเข็มขัดนิรภัยได้พอดีกับสัดส่วนร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ อาทิ การบาดเจ็บในช่องท้อง ไขสันหลัง ลำคอและใบหน้า เป็นต้น และเสียชีวิต เวลาเกิดอุบัติเหตุ

  คุณหมออดิศักดิ์แนะนำการเลือกคาร์ซีตให้เหมาะกับช่วงอายุ และใช้อย่างปลอดภัยสูงสุด แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

Advertisement

1.เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ เป็นคาร์ซีตสามารถยกเคลื่อนย้ายได้ โดยแนะนำให้ติดตั้งเบาะที่นั่งด้านหลัง และหันไปทางด้านหลังรถยนต์เท่านั้น

คาร์ซีตเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบ

  2.เด็กอายุ 2-6 ขวบ สามารถหันคาร์ซีตไปทางด้านหน้ารถยนต์ ภายในที่นั่งมีสายรัดตัวไว้คอยยึดเหนี่ยวร่างกายเด็กไว้ 5 จุด

คาร์ซีตเด็กอายุ 2-6 ขวบ

  3.เด็กอายุ 4-11 ขวบ เป็นคาร์ซีตลักษณะเบาะที่นั่งเสริม สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ได้พอดี ทั้งนี้ ในการติดตั้งคารซีต ให้เว้นระยะห่างถุงลมนิรภัยอย่างน้อย 25 เซนติเมตร

Advertisement
คาร์ซีตเด็กอายุ 4-11 ขวบ

ส่วนเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป คุณหมออดิศักดิ์แนะนำให้นั่งเบาะตอนหลัง สามารถลดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึง 5 เท่า และไม่แนะนำให้ผู้โดยสารเด็ก นั่งโดยสารในกระบะหลังของรถปิกอัพเด็ดขาด เนื่องจากเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ มากกว่าผู้โดยสารในรถยนต์ถึง 8 เท่า

  อีกอุปกรณ์พื้นฐานต้องมีบนรถยนต์   

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image