ฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบ ‘เครื่องฟอกอากาศ 9 แบรนด์’ ลดฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างที่โฆษณาหรือไม่!!

ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ

ฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบ ‘เครื่องฟอกอากาศ 9 แบรนด์’ ลดฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างที่โฆษณาหรือไม่!!

เป็นไอเทมสำคัญต้องมีประจำบ้านไปแล้วกับ “เครื่องฟอกอากาศ” เพราะฝุ่นพิษ PM2.5 ตีตั๋วอยู่ประจำประเทศไทยมาหลายปีแล้ว ในช่วงท้ายปีและต้นปี กระทั่งวันนี้ (23 ก.พ.) ค่าฝุ่นก็ยังเกินค่ามาตรฐานอยู่เลย

ทว่าเครื่องฟอกอากาศก็มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ หลายขนาด หลายราคา ต่างโฆษณาอวดคุณสมบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ให้ลูกค้าได้ทำการบ้านและซื้อหา แต่ล่าสุดก็มีข้อมูลอีกด้านคือ ข้อมูลทดสอบการใช้เครื่องฟอกอากาศหลายๆ ยี่ห้อ ว่าสามารถทำงานได้ตามที่โฆษณาไว้หรือไม่

จัดว่ามีประโยชน์อย่างมากกับผู้บริโภค จัดทำโดย นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ

ทำการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ เน้นเฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5 โดยอ้างอิง มอก.3061 – 2563 ของเครื่องฟอกอากาศจำนวน 9 ยี่ห้อ ได้แก่  Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST, Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M), Licc รุ่น Fresh 241, Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  , Saijo Denki รุ่น AP-P35, SHIMONO รุ่น AP-9000, Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV, Tefal รุ่น PU6067, และ LG รุ่น AS60GDPV0 (เก็บตัวอย่างสินค้าเดือนกันยายน 2563) พบ 6 แบรนด์ไม่เป็นตามคำโฆษณา

Advertisement
เครื่องฟอกอากาศ
เครื่องฟอกอากาศ

 

ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ 9 ยี่ห้อ

ฉลาดซื้อได้เผยผลการทดสอบประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 โดยพิจารณาจากค่าประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นในแง่อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate, CADR) สูงสุด ตามลำดับ ดังนี้

Advertisement

1.Shimono รุ่น AP-9000 มีค่า CADR สูงสุด เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 71.36 ตารางเมตร

2.Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST ST เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 56.71 ตารางเมตร

3.Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY

“ทั้ง 3 ยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 เป็นไปตามที่โฆษณาไว้”

4.Licc รุ่น Fresh 241

5.LG รุ่น AS60GDPV0

6.Tefal รุ่น PU6067

7.Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M)

8.Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV

9.Saijo Denki รุ่น AP-P35

“ทั้ง 6 ยี่ห้อ ไม่เป็นตามคำโฆษณา คือ มีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุแนะนำไว้”

 

นักวิชาการชี้ เครื่องฟอกฯ ร้อยละ 60 ไม่เป็นไปตามโฆษณา!!

ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งข้อสังเกตว่า การบอกขนาดห้องที่เหมาะสมของเครื่องฟอกอากาศแต่ละยี่ห้อ จะมีความแตกต่างกัน บางยี่ห้อ บอกขนาดห้องที่เหมาะสม ในช่วงที่ค่อนข้างกว้าง เมื่อดูจากผลการทดสอบกว่าร้อยละ 60 ของตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศที่นำมาทดสอบไม่เป็นตามคำโฆษณา เนื่องจากมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุไว้

ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ
ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ
ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ
ผลทดสอบเครื่องฟอกอากาศ

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยกระดับมาตรฐานเครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน ทั่วไปเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้า ที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม ในการป้องกัน อันตรายจากการสูดดม ฝุ่นและควันมลพิษที่แพร่กระจายเข้ามาสู่ตัวบ้าน และสร้างผลกระทบทางสุขภาพกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มเสี่ยง เช่น ทารก เด็กเล็ก และผู้ป่วยจากโรคทางเดินหายใจ

ส่วน ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สํานักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการด้านสังคมและสุขภาพ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาด กล่าวว่า เรื่องมลพิษทางอากาศซับซ้อน ต้องจัดการร่วมกันหลายระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม และต้องปกป้องสุขภาพของประชาชนไปพร้อมกันการหาทางจัดการต้นเหตุ การสุ่มทดสอบเครื่องฟอกอากาศกลุ่มที่สองที่มีราคาแพงขึ้น กว่าครั้งแรกนี้ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคในการปลุกพลังพลเมืองให้เป็นยามเฝ้าระวังแบบ citizen watchdog ในการปกป้องคนทุกกลุ่ม จากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

“ในขณะที่การจัดการที่ยั่งยืนจะต้องมีการแก้ไขระบบของรัฐที่กระจัดกระจายและขาดประสิทธิภาพ เราจึงจำเป็นต้องมีการเสนอกฎหมายอากาศสะอาดฉบับประชาชน ที่เน้นการปฏิรูประบบบริหารจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศที่สะอาดของประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิที่มีอยู่คู่กับสิทธิที่จะมีชีวิต มันเป็นสิทธิติดตัว ไม่ใช่ว่าทำให้อากาศในพื้นที่สะอาดขึ้นแล้วก็จบ แต่เป็นการมุ่งเน้นไปที่ประชาชนแต่ละคนว่าเขาจะต้องหายใจด้วยอากาศที่สะอาด กลไกของกฎหมายจะเข้าไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกลไกราชการและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน” ดร.นพ.วิรุฬ กล่าว

ปัจจุบัน ร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในขั้นตอนการรวบรวม 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ตัวเลขที่ได้ขณะนี้อยู่ที่ประมาณหลักพันกว่า (สามารถร่วมลงชื่อได้ที่ thailandcan.org)

ดร.นพ.วิรุฬ อธิบายว่า กระบวนการออกกฎหมายเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้คนทำความเข้าใจกับปัญหา เพราะว่าสุดท้ายแล้วไม่ว่ากฎหมายจะผ่านหรือไม่ แต่มันจะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามกับการจัดการมลพิษทางอากาศโดยรัฐ เกิดเป็น active citizen ที่เข้าใจเรื่องนี้และเป็นแรงผลักดันจากข้างล่างขึ้นมา

ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สํานักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image