เช็กลิสต์ปัญหากระดูก-ข้อ-หลัง ‘เวิร์ก ฟรอม โฮม’ ป้องกันได้!

ปัญหากระดูก-ข้อ-หลัง 'เวิร์ก ฟรอม โฮม' ป้องกันได้

เช็กลิสต์ปัญหากระดูก-ข้อ-หลัง ‘เวิร์ก ฟรอม โฮม’ ป้องกันได้!

ถ้าทำงานที่ออฟฟิศแล้วมีอาการปวดเมื่อยไปทั้งตัว โดยเฉพาะปวดหลัง เข้าข่าย “ออฟฟิศ ซินโดรม” การทำงานที่บ้านหรือที่เรียกติดปากกันว่า “เวิร์ก ฟรอม โฮม” (Work from Home) ก็คงจะไม่ต่างกัน เพราะหากไม่ป้องกันให้ดี ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่สบาย หรือเกิดความเจ็บป่วยของโรคทางกระดูกและข้อได้

นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้

นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนวเวช ให้ข้อมูลถึงอาการไม่สบายและเจ็บป่วยที่กระดูกและข้อ ที่เกิดจากการเวิร์ก ฟรอม โฮม มีได้หลายอาการ ดังนี้

1.ปวดหลังง่ายขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมือนที่ทำงาน เช่น นั่งทำงานที่โต๊ะกินข้าว ซึ่งเก้าอี้จะปรับระดับไม่ได้ และที่รองนั่งอาจจะแข็ง พนักพิงไม่เหมาะสำหรับการนั่งนาน ๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่ายกว่านั่งเก้าอี้ที่ทำงาน เพราะเป็นท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อต้องรับภาระมากกว่าปกติ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็วขึ้น

2.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ จากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

Advertisement

3.ปวดข้อมือ เอ็นอักเสบ นิ๊วล็อค จากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือนาน ๆ

4.ไม่ได้ออกกำลังกาย เนื่องจากไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องเดินทาง ทำให้ร่างกายมีการขยับตัวน้อยลง กล้ามเนื้อไม่ได้รับการฝึกให้เกิดความแข็งแรง ส่งผลให้ปวดเมื่อยได้ง่ายขึ้น

5.อยู่แต่ในบ้าน ไม่เจอแสงสว่าง ไม่เจอแดด ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดดลดลง ซึ่งมีผลทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อลดลงและการสะสมแคลเซียมในร่างกายลดลง

Advertisement

6.ดื่มชากาแฟบ่อยขึ้น คาเฟอีนที่มากเกินไปก็มีผลเสียกับร่างกาย ทั้งนอนไม่หลับ ใจสั่น กระตุ้นหัวใจมากเกินไป

7.ความเครียดเพิ่มขึ้น ทั้งจากการทำงานเป็นเวลานาน หรือบางคนอยู่คนเดียวที่บ้าน พอไม่ได้ไปทำงานเจอเพื่อนร่วมงาน บวกกับวิตกกังวลเรื่องสถานการณ์การระบาดของโรค ก็เกิดความเครียดสะสมขึ้นได้ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็งปวดเมื่อยตามร่างกายได้

8.น้ำหนักขึ้น มักจะเผลอหยิบขนมและอาหารมากินเล่นระหว่างทำงาน

 

  นพ.ศรัณย์ จึงได้แนะนำวิธีเวิร์ก ฟรอม โฮม ที่ถูกวิธี เลี่ยงปัญหาข้อและกระดูก ดังนี้

1.ทำงานให้เป็นเวลา กำหนดเวลาการทำงาน และการพักผ่อนที่ชัดเจน พยายามจบงานให้ได้ตามกำหนด ไม่ทำงานล่วงเวลา เพื่อมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

2.ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงาน เช่น จัดที่นั่งบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ หาเก้าอี้นุ่ม ๆ มีพนักพิง ใครมีทุนหน่อยจะจัดหาเก้าอี้ทำงานดีๆก็ไม่ว่ากัน

3.ปรับความสูงของจุดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับร่างกายและท่านั่ง ความสูงของจอที่เหมาะสมนั้น ขอบบนของจออยู่ใกล้ระดับสายตา กลางจอควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 10-20 องศา เพื่อลดการก้มหรือเงยคอที่มากเกินไป หากใครใช้โน๊ตบุ๊คอาจใช้แท่นวาง เพื่อปรับความเอียงของแป้นพิมพ์และความสูงของจอก็ได้

  1. กำหนดระยะเวลาการทำงานต่อเนื่อง จัดเวลาให้มีการพักปรับอิริยาบทและยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี ทั้งกล้ามเนื้อบริเวณ ศีรษะ คอ บ่า ไหล่ และหลัง
  2. หาเวลาออกกำลังกาย เพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อได้ขยับทำงาน ฝึกกล้ามเนื้อคอ หลัง และไหล่ ที่ต้องใช้งานขณะนั่งทำงานให้เกิดความแข็งแรง ยืดเส้นยืดสาย การออกกำลังเป็นประจำยังทำให้ความเครียดลดลงด้วย ถ้าจะให้ดี การออกกำลังกายกลางแจ้งทำให้ได้รับแสงแดด ก็จะได้รับวิตามินดีเพิ่มด้วยอีกด้วย
  3. ตั้งเกณฑ์ควบคุมการทานขนม ของว่าง ชา กาแฟ ไม่ให้เยอะจนเกินไป กาแฟร้อนไม่ควรเกิน 2 แก้ว กาแฟเย็น ไม่ควรเกิน 1 แก้ว
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image