งอนิ้วแล้ว ‘กึ๊ก’ สัญญาณ ‘โรคนิ้วล็อก’ รุนแรงกว่าที่คิด

งอนิ้วแล้ว ‘กึ๊ก’ สัญญาณ ‘โรคนิ้วล็อก’ รุนแรงกว่าที่คิด

ปวดบริเวณโคนนิ้ว มีความรู้สึก “กึ๊กๆ” คล้ายสปริงเวลางอ-เหยียดนิ้ว คือภาวะเริ่มแรกของผู้ป่วย “โรคนิ้วล็อก” (Trigger Finger) ซึ่งเกิดได้กับทุกคน ยิ่งในยุคที่ทั้งการทำงานและวิถีชีวิตประจำวันต้องข้อเกี่ยวกับการกดๆ จิ้มๆ ทั้งวัน

แล้วอาการนิ้วล็อกเป็นอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน มีวิธีป้องกันอย่างไร?

เรื่องนี้ มีคำตอบ ร.ต.อ.นพ.วรพล เจริญพร แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ-ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม โรงพยาบาลนวเวช เผยว่าโรคนิ้วล็อกเกิดจากปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการขยับนิ้วมีอาการอักเสบ ซึ่งมาจากหลายปัจจัย อาทิ ความขยันในการทำงานบ้าน ทำสวน การเล่นกีฬา หรือเเม้กระทั่งการทำงานของพนักงานออฟฟิศ รวมถึงการเล่นโทรศัพท์มือถือที่ต้องใช้การงอนิ้ว เหยียดนิ้ว เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

ซึ่งความรุนเเรงของโรคนิ้วล็อก แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

Advertisement

ระยะที่ 1 เริ่มเเรกผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วนั้นๆ

ระยะที่ 2 รู้สึกว่าการงอนิ้ว เหยียดนิ้ว สะดุดโดยจะมีลักษณะคล้ายสปริงที่จะดีดอย่างรวดเร็วร่วมกับอาการปวดอย่างมากขณะขยับนิ้ว

ระยะที่ 3  ไม่สามารถเหยียดนิ้วเองได้ ต้องใช้นิ้วอื่นช่วยยืด

Advertisement

และระยะที่ 4 ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดรุนเเรงจนไม่สามารถทำการงอนิ้วนั้นได้อีกต่อไป

ทั้งนี้สามารถป้องกันนิ้วล็อก ได้ดังนี้ 1.เเช่มือในน้ำอุ่น 2.งอนิ้ว เหยียดนิ้ว ให้สุดเบาๆ 3.ทำการบริหารนิ้วมือเเบบง่าย ๆ ทุกวัน 4.พักการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเมื่อนิ้วมือมีอาการเหนื่อยล้า และ 5.หลีกเลี่ยงการถือของหนักเเละการกำมือเเน่น ๆ เช่น บิดผ้า การตีเทนนิส การตีกอล์ฟ เป็นต้น

หากมีอาการตามที่กล่าวไปเบื้องต้นควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้ การทานยาเเก้อักเสบ การประคบร้อน กายภาพบำบัด หรือการดามนิ้ว และการฉีดยาสเตียรอยด์ที่ปลอกหุ้นเอ็น หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา

การรักษาลำดับต่อไปคือการผ่าตัด ซึ่งมีทางเลือก ดังนี้ 1.การเจาะรูใช้เข็มเปิดปลอกหุ้นเอ็น คือการผ่าตัดแบบแผลเล็กที่ใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก โดยมีแผลเท่ากับขนาดของรูเข็ม และผู้ป่วยฟื้นตัวไว และ 2.การผ่าตัดเปิดปลอกหุ้นเอ็น เป็นวิธีการมาตรฐานที่เปิดแผลขนาด 3-6 มม. เพื่อเข้าไปทำการตัดพังผืดที่กดหุ้มเส้นเอ็น ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงานได้ปกติทันทีหลังผ่าตัด โดยการรักษาเเต่ละวิธีการจะมีความเหมาะสมต่อผู้ป่วยที่เเตกต่างกันไป แพทย์เฉพาะทางจะให้คำปรึกษาเเก่ผู้ป่วยโดยเเจ้งรายละเอียด ข้อดี-ข้อเสียของการรักษาเเละร่วมตัดสินใจไปพร้อมกับผู้ป่วย

รุนแรงกว่าที่คิด

ร.ต.อ.นพ.วรพล เจริญพร
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image